ระบบพิกัดขอบฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแสดงตำแหน่งของดาวด้วยระบบพิกัดขอบฟ้า สีแดงแสดงมุมทิศโดยเริ่มจากทิศใต้ ส่วนสีเขียวแสดงมุมเงยซึ่งเริ่มจากขอบฟ้า

ระบบพิกัดขอบฟ้า (horizontal coordinate system) เป็น ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้า ชนิดหนึ่ง โดยมีตำแหน่งของผู้สังเกตเป็นจุดศูนย์กลาง และมีขอบฟ้าของตำแหน่งเป็นระนาบหลักมูล ซึ่งแบ่ง ทรงกลมท้องฟ้าออกเป็นครึ่งทรงกลมซีกบนที่มองเห็นได้ และซีกล่างที่มองไม่เห็น ส่วนจุดยอด (จุดสูงสุด) ของซีกบนเรียกว่าจุดจอมฟ้า และส่วนใต้ฐาน (จุดต่ำสุด) ของซีกล่างเรียกว่าจุดจอมดิน

ภาพรวม[แก้]

ระบบพิกัดขอบฟ้าประกอบด้วยค่ามุมสองมุมที่กำหนดพิกัดเชิงขั้วของตำแหน่งเทห์ฟากฟ้า คือ[1]:

  • มุมเงย (Alt) คือมุมระหว่างวัตถุท้องฟ้ากับเส้นขอบฟ้าที่ตำแหน่งที่ผู้สังเกตอยู่
  • มุมทิศ (Az) เป็นมุมที่วัดตามแนวเส้นขอบฟ้า โดยทั่วไปจะให้มีค่าเป็น 0 องศาที่ทิศเหนือ และวัดตามเข็มนาฬิกาไปทางทิศตะวันออก อย่างไรก็ตาม สำหรับนักดูดาวหรือนักเดินเรือบางคนบางส่วนแล้ว อาจกำหนดให้ทิศใต้เป็นจุดเริ่มต้น 0 องศาตามความสะดวก

ระบบพิกัดขอบฟ้าอาจถูกเรียกว่า ระบบมุมทิศ/มุมเงย (az/el system) ตามชื่อของค่ามุมทั้ง 2 นี้[2]

ระบบพิกัดขอบฟ้าถูกนิยามบนพื้นโลกแทนที่จะเป็นดวงดาว ดังนั้นมุมเงยและมุมทิศของวัตถุท้องฟ้าที่ปรากฏบนทรงกลมท้องฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องโดยเคลื่อนไปบนทรงกลมท้องฟ้าตามเวลา ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากมีระนาบหลักมูลเป็นระนาบพื้นดินซึ่งผู้สังเกตอยู่ วัตถุท้องฟ้าเดียวกันที่สังเกตได้จากตำแหน่งต่าง ๆ กันในเวลาเดียวกันจะมีมุมเงยและมุมทิศต่างกันไปด้วย

เมื่อความสูงของวัตถุท้องฟ้าเท่ากับ 0° แสดงว่าวัตถุนั้นอยู่บนขอบฟ้า ที่จุดเวลานี้ ถ้าความสูงเพิ่มขึ้น แสดงว่ากำลังโผล่พ้นฟ้า ถ้าความสูงลดลง แสดงว่ากำลังตกดิน

อ้างอิง[แก้]

  1. "horizon system". Encyclopædia Britannica.
  2. "(Az,El) co-ordinate system". W.M. Keck Observatory. University of Hawaii. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)