ยุทธการที่ปราจีนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่ปราจีนบุรี
ส่วนหนึ่งของ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
วันที่พ.ศ. 2309
สถานที่
ผล กองทัพอาสาชาวอยุธยาสลายตัว
คู่สงคราม
กองทัพอาสาชาวอยุธยา อาณาจักรพม่า
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

กรมหมื่นเทพพิพิธ
หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา 

นายทองอยู่น้อย

เมขะระโบ

เนกวนจอโบ
กำลัง
10,000 3,000
ความสูญเสีย
ทัพหน้าถูกตีแตก ไม่ทราบ

ยุทธการที่ปราจีนบุรี เป็นการรบของกองทัพอาสาภายใต้การนำของกรมหมื่นเทพพิพิธ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยกรุงศรีอยุธยามิให้เสียแก่พม่า ระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยตั้งกองทัพไว้ที่ปราจีนบุรี แต่ยังไม่ทันจะออกปฏิบัติการ กองทัพพม่าก็ชิงโจมตีก่อนจนกองทัพอาสาสลายตัวไป

เบื้องหลัง[แก้]

กรมหมื่นเทพพิพิธเดิมเคยถูกคุมขังอยู่ที่เมืองจันทบุรี หนีลาผนวช และชวนชาวเมืองทั้งหลายอาสามาช่วยกรุงศรีอยุธยา เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2309 ได้กำลังพลกว่า 10,000 นาย ยกมาตั้ง ณ ปราจีนบุรี แถบปากน้ำโยทะกา

คนในกรุงศรีอยุธยาทั้งหลายได้ทราบกิตติศัพท์ต่างก็พากันหนีไปเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น พระยารัตนาธิเบศร์ซึ่งดำรงตำแหน่งจตุสดมภ์วัง

ประวัติการสู้รบ[แก้]

การรบกับกองทัพอยุธยา[แก้]

ไม่ว่ากองทัพดังกล่าวจะถูกจัดตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม แต่รัฐบาลอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงเน้นการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของ จากที่กรมหมื่นเทพพิพิธเคยมีประวัติคิดแย่งราชสมบัติมาก่อน ทางการจึงส่งกองทัพออกไปปราบ หมายจะจับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธ แต่ทำการรบหลายครั้ง ก็ไม่ปรากฏผลแพ้ชนะ[1]

การเข้าตีของพม่า[แก้]

มังมหานรธาทราบว่ามีกองทัพจะมาช่วยกรุงศรีอยุธยา จึงให้เมขะระโบกับแนกวนจอโบนำทหาร 3,000 นายไปยังปากน้ำโยทะกา กองทัพพม่าสามารถตีทัพหน้ากรมหมื่นเทพพิพิธแตก หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวาก็ตายในที่รบ กองทัพอาสาทั้งหลายก็สลายตัวไปหลังจากนั้น

ผู้บัญชาการทั้งสองของพม่าทราบว่ามีกองกำลังขนาดใหญ่อยู่ที่ปราจีนบุรี จึงรายงานต่อมังมหานรธาให้จัดกองทัพบกและกองทัพเรือมายังปราจีนบุรีด้วยเช่นกัน

สลายตัว[แก้]

กรมหมื่นเทพพิพิธทราบว่าพม่าส่งกองทัพบกและกองทัพเรือมายังปราจีนบุรี ก็ไม่คิดอยู่ต่อสู้ จึงหนีไปยังนครราชสีมา กองทัพอาสาเห็นนายของตนหนี จึงสลายตัวไปเช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  • จรรยา ประชิตโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 106-110.
  1. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. สำนักพิมพ์มติชน. หน้า 28.