ยาไต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาไตขายมิตาราชิดังโงะแห่งหนึ่งในนครทากายามะ
ยาไตร้านสุดท้ายของจังหวัดคูมาโมโตะ

ยาไต (ญี่ปุ่น: 屋台โรมาจิYatai) เป็นแผงขายของหรือรถเข็นขายของขนาดเล็กในประเทศญี่ปุ่น จำหน่ายราเม็งหรืออาหารอื่น ๆ โดยคำ "ยาไต" แปลว่า "ร้านขายของ"[1][2] การตั้งยาไตหรือแผงขายของ จะตั้งบนบาทวิถีในช่วงเย็น และจะเก็บร้านช่วงดึกหรือก่อนรุ่งสาง[3]

ยาไตมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17[4]: 22  ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) โดยพัฒนาเป็นรถเข็นขายของที่ทำด้วยไม้[1] ครั้นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยาไตก็ยังเป็นที่นิยม จนกระทั่งการจัดโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ที่กรุงโตเกียว รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกกฎระเบียบการตั้งร้านยาไต ด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัย[5] ปัจจุบันยาไตยังมีมากในนครฟูกูโอกะ จังหวัดฟูกูโอกะ แต่ก็ลดน้อยลงกว่าแต่เก่าก่อนมาก[6]

ยาไตที่เป็นแบบรถเข็น มีสองล้อ ทำจากไม้[1] ภายในมีอุปกรณ์ประกอบอาหาร และที่นั่งที่พับเก็บได้[7] โดยมากตัวรถเข็นมีขนาด 3 x 2.5 เมตร[3] จำหน่ายอาหารญี่ปุ่นดั้งเดิมอย่างหลากหลาย เป็นต้นว่า ราเม็ง เท็มปูระ และเกี๊ยวซ่า รวมทั้งมีบริการเบียร์ เหล้า สาเก และโชจู[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Murakami, Hyōe; Richie, Donald, บ.ก. (1980). A Hundred More Things Japanese. Tokyo: Japan Culture Institute. pp. 66–67. ISBN 9780870404726. LCCN 81112282. OCLC 7133178.
  2. "屋台" [Yatai]. Nihon Kokugo Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-09-05.
  3. 3.0 3.1 "Meals on Wheels". Fukuoka Now. Fukuoka Now. 24 October 2011. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  4. Solt, George (2014). The untold history of ramen : how political crisis in Japan spawned a global food craze. Berkeley: University of California Press. ISBN 9780520282353. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016. – via Project MUSE (ต้องสมัครสมาชิก)
  5. 5.0 5.1 Liaw, Adam (7 May 2013). "Saving Fukuoka's Street Food". Wall Street Journal. Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  6. Hayata, Eisuke (8 September 2007). "Hakata 'yatai' days numbered as owners age, tape gets redder". Japan Times. Japan Times. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  7. Mather, Cotton; Karan, PP; Iijima, Shigeru (2015). Japanese Landscapes: Where Land and Culture Merge. Lexington: The University Press of Kentucky. pp. 39–40. ISBN 9780813149844. – via Project MUSE (ต้องสมัครสมาชิก)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยาไต