ยามอุบากอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อุบากอง เป็นชื่อการทำดวงพิชัยสงครามอย่างง่าย ตามอย่างคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยเรียกยามพิชัยดั่งนี้ว่า ยามมเหสุระ ซึ่งหมายว่า คือ การดูยามอุบากองนั่นเอง ยามอุบากองนั้นเป็นคำผูกเป็นกลอนมาแต่โบราณเก่าก่อน ใช้ท่องจำเพื่อสร้างสัญลักษณ์ทางกำหนดหมายในการเคลื่อนย้ายแห่งกองทัพ คำกลอนนั้นมีอยู่ว่า[1]

ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย

ยามอุบากองมีเรื่องเกิดขึ้นมาเนื่องจากการสงครามเมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง มีเรื่องเล่าว่า อุบากองก็คือนายทัพพม่าที่เข้ามารบพุ่งกับไทย ที่ถูกจับได้ในครั้งนั้น ทหารพม่ามีตำราดูฤกษ์ดังกล่าวมาด้วย โดยทำเป็นยันต์คล้าย ๆ ตาหมากรุกมีตัวเลขในยันต์สักติดไว้ที่แขน เมื่ออุบากองมาต้องจำอยู่ในคุก ได้บอกตำรานี้แก่ไทย จึงเรียกกันว่า "ยันต์อุบากอง" แต่ก่อนนี้มีผู้เชื่อถือกันมาก มักพอใจสักยันต์ไว้ที่แขนแล้วผูกวิธีให้รู้ฤกษ์ดีและร้ายตามตำรานี้ไว้เป็นกลอนท่องจำ

อ้างอิง[แก้]

  1. ยามอุบากอง, ไทยรัฐ