มาริโอปาร์ตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาริโอปาร์ตี
ประเภทปาร์ตี
ผู้พัฒนา
ผู้จัดจำหน่ายนินเท็นโด
ผู้จัดสร้างเคนจิ คิคูจิ
แต่งเพลงยาซูโนริ มิซูดะ
ระบบปฏิบัติการ
วางจำหน่ายครั้งแรกมาริโอปาร์ตี
ค.ศ. 18 ธันวาคม 1998 (18 ธันวาคม 1998)
จำหน่ายครั้งล่าสุดมาริโอปาร์ตีซูเปอร์สตาร์
ค.ศ. 29 ตุลาคม 2021 (29 ตุลาคม 2021)

มาริโอปาร์ตี (อังกฤษ: Mario Party; ญี่ปุ่น: マリオパーティโรมาจิMario Pāti) เป็นชุดวิดีโอเกมที่มีตัวละครจากแฟรนชายส์ มาริโอ มาเล่นเกมกระดานสลับกับมินิเกมต่างๆ โดยสามารถเล่นกับเพื่อนได้สูงสุดสี่คน หรือเล่นกับตัวละครที่บังคับโดยคอมพิวเตอร์ ในช่วงแรก ฮัดสันซอฟต์เป็นผู้ผลิตเกมในซีรีส์ แต่หลังจากปี ค.ศ. 2012 เป็นต้นมา บริษัทเอ็นดีคิวบ์ได้กลายมาเป็นผู้ผลิตเกมแทนฮัดสันซอฟต์ ตั้งแต่เกม มาริโอปาร์ตี 9 เป็นต้นมา ปัจจุบันเกมล่าสุดในซีรีส์นี้คือเกม มาริโอปาร์ตีซูเปอร์สตาร์ ซึ่งวางจำหน่ายในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2021 สำหรับเครื่องนินเท็นโด สวิตช์

ชุดเกมนี้ถือเป็นชุดเกมที่มีมินิเกมที่อยู่ได้นานที่สุด[1] โดยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ทางนินเทนโดกล่าวว่าได้จัดจำหน่ายเกมมาริโอปาร์ตีทั้งหมดอยู่ 39.6 ล้านชุดทั่วโลก[2]

เกม[แก้]

Release timeline
1998มาริโอปาร์ตี
19992
20003
2001
20024
2003-อี
5
20046
2005แอดวานซ์
7
2006
20078
ดีเอส
2008
2009
2010
2011
20129
2013ไอแลนด์ทัวร์
2014
201510
2016สตาร์ รัช
2017เดอะท็อป 100
2018ซูเปอร์

ซีรีส์หลัก[แก้]

เกมอื่น[แก้]

มาริโอปาร์ตี-อี[แก้]

มาริโอปาร์ตี-อี (อังกฤษ: Mario party-e) เป็นเกมกระดานที่มีการใช้ นินเทนโด อี-รีเดอร์ เป็นอุปกรณ์เสริมในการเล่น โดยจัดจำหน่ายในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งภายในชุดเกมจะมีการ์ด 64 ใบ แผ่นกระดาน และคู่มือการเล่น[3]

เกมสำหรับพกพา[แก้]

การตอบรับ[แก้]

บทวิจารณ์โดยรวม[แก้]

เกม เครื่องเล่น เมตาคริติก[4]
เครื่องเล่นในบ้าน
มาริโอปาร์ตี นินเท็นโด 64 79/100
มาริโอปาร์ตี 2 76/100
มาริโอปาร์ตี 3 74/100
มาริโอปาร์ตี 4 นินเทนโด เกมคิวบ์ 70/100
มาริโอปาร์ตี 5 69/100
มาริโอปาร์ตี 6 71/100
มาริโอปาร์ตี 7 64/100
มาริโอปาร์ตี 8 วี 62/100
มาริโอปาร์ตี 9 74/100
มาริโอปาร์ตี 10 วียู 67/100
ซุปเปอร์มาริโอปาร์ตี นินเทนโด สวิทช์ 77/100
เครื่องสำหรับพกพา
มาริโอปาร์ตีแอดวานซ์ เกมบอยแอดวานซ์ 54/100
มาริโอปาร์ตีดีเอส นินเท็นโด ดีเอส 72/100
มาริโอปาร์ตี: ไอส์แลนด์ทัวร์ นินเท็นโด 3DS 60/100
มาริโอปาร์ตี: สตาร์ รัช 68/100
มาริโอปาร์ตี: เดอะท็อป 100 58/100

ข้อครหา[แก้]

มาริโอปาร์ตี (นินเท็นโด 64)[แก้]

เนื่องจากบางมินิเกมต้องให้ผู้ใช้หมุนแกนแอนาล็อกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยผู้เล่นบางคนใช้ฝ่ามือแทนหัวแม่โป้งในการหมุดไม้แอนาล็อก ผลที่เกิดขึ้นทำให้เกิดบาดแผลอยู่บ่อยครั้ง เพื่อเป็นการชดเชยความเสียหาย ทางนินเทนโดจึงให้ถุงมือฟรีสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มือหมุนจนเกิดแผล[5]

มาริโอปาร์ตี 8[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 เกม มาริโอปาร์ตี 8 บนเครื่องวีมีปัญหากับร้านค้าในสหราชอาณาจักรทันทีที่เริ่มจัดจำหน่าย[6] เพราะตัวละครที่ชื่อคาเมคใช้คำว่า "สปาซ์ติก" (spastic) เนื่องจากว่าคำนี้เป็นคำพูดที่กล่าวถึงคนที่ปัญญาอ่อน และเป็นคำเหยียดในสหราชอาณาจักร ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 ทางนินเทนโดได้ปล่อยเกมใหม่โดยเปลี่ยนคำว่า "สปาซ์ติก" (spastic) เป็นคำว่า "เอร์ราติก" (erratic) แทน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Guinness World Records 2011 – Gamer's Edition. Guinness World Records Ltd. 2010. p. 86. ISBN 978-1-4053-6546-8.
  2. "Bring along your amiibo as your party plus-one from 20th March in Mario Party 10". Nintendo of Europe. February 19, 2015. สืบค้นเมื่อ February 21, 2015.
  3. Harris, Craig (February 23, 2003). "Mario Party-e". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2018. สืบค้นเมื่อ June 17, 2018.
  4. "Search Results". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-26. สืบค้นเมื่อ October 8, 2018.
  5. "Nintendo to hand out gaming gloves". BBC News. March 9, 2000. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.
  6. Richards, Jonathan (July 17, 2007). "Nintendo withdraws game that taunts spastics". The Times. London. สืบค้นเมื่อ May 12, 2010.
  7. Sliwinski, Alexander (July 27, 2007). "Non-'spastic' Mario Party 8 returns Aug. 8 to Europe". Weblogs, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2007. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.