มัสยิดสีน้ำเงิน (เยเรวาน)

พิกัด: 40°10′41″N 44°30′20″E / 40.1781°N 44.5056°E / 40.1781; 44.5056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดสีน้ำเงิน
ศาสนา
ศาสนาศาสนาอิสลาม
จารีตอิมามียะฮ์
สถานะองค์กรมัสยิด
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง12 ถนนมัชต็อตส์ เยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย[1][2]
พิกัดภูมิศาสตร์40°10′41″N 44°30′20″E / 40.1781°N 44.5056°E / 40.1781; 44.5056
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมเปอร์เซีย
เสร็จสมบูรณ์1765–1766
ลักษณะจำเพาะ
โดม1
หอคอย1
ความสูงหอคอย24 เมตร (79 ฟุต)[3][4]

มัสยิดสีน้ำเงิน (อาร์มีเนีย: Կապույտ մզկիթ; Blue Mosque) เป็นมัสยิดนิกายชีอะฮ์ในเยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 ถือเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญจากยุคอาร์มีเนียใต้ปกครองของอิหร่าน ปัจจุบันมัสยิดสีน้ำเงินเป็นมัสยิดแห่งเดียวในประเทศอาร์มีเนียที่ยังคงมีการใช้งานในฐานะศาสนสถานอยู่[5][6] โดยประเทศอาร์มีเนียมีประชากรมุสลิมอยู่เป็นส่วนน้อย ราว 812[7] ถึง 1,000 คน หรือคิดเป็น 0.03% ของประชากร[8] ในปี 2013 รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของอาร์มีเนียแถลงระบุว่ามีความพยายามอย่างมากที่จะเสนอชื่อให้มัสยิดสีน้ำเงินได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[9][10]

ข้อถกเถียง[แก้]

แหล่งข้อมูลอาร์มีเนียและตะวันตกบางส่วนระบุว่ามัสยิดเป็นมัสยิดแบบอิหร่าน/เปอร์เซีย[a][11][12][6] นักมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วรรณา Tsypylma Darieva ระบุว่า "ในสื่อท้องถิ่นและวาทกรรมของทางการ มัสยิดสีน้ำเงินถูกนำไปเกี่ยวข้องกับ [...] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหม่ของอาร์มีเนียกับอิหร่าน และปรากฏการเรียกมัสยิดสีน้ำเงินว่า ‘มัสยิดเปอร์เซีย’ เป็นเฉพาะ"[13]

นักข่าว Thomas de Waal ระบุว่าการเรียกมัสยิดนี้ว่าเป็นมัสยิดอิหร่าน/เปอร์เซียนั้นเป็น "การปกปิดข้อเท็จจริงที่ว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่ที่มามัสยิดนี้ในเวลาที่มัสยิดถูกสร้าง (ทศวรรษ 1760) ควรจะเป็นชาวอาเซอร์ไบจานมากกว่า"[14] นอกจากนี้ Darieva ยังระบุว่ามัสยิดเคยใช้เป็นมัสยิดใหญ่ของ "ชาวมุสลิม (ส่วนใหญ่เป็นประชากรอาเซอร์) ในเยเรวานจนถึงทศวรรษ 1920"[15]

ในขณะที่ในประเทศอาเซอร์ไบจาน มัสยิดนี้ถือว่าเป็นมรดกของอาเซอร์ไบจานในเยเรวาน[16][17] รวมถึงเคยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอาเซอร์ไบจานกล่าวไว้ว่ามัสยิดเป็น "ศูนย์กลางของศาสนิกชนชาวอาเซอร์ไบจานที่ใหญ่ที่สุดในเยเรวาน"[18] หนังสือปี 2007 ชื่อ War against Azerbaijan: Targeting Cultural Heritage (สงครามต่ออาเซอร์ไบจาน: การพุ่งเป้าไปที่มรดกทางวัฒนธรรม) ของกระทรวงการต่างประเทศอาเซอร์ไบจานและมูลนิธิไฮย์ดาร์ อะลีเยฟ ระบุว่าการปรับปรุงและบูรณะมัสยิดในทศวรรษ 1990 มีเป้าหมายที่จะ "นำเสนอมัสยิด[ใหม่]ในฐานะมัสยิดเปอร์เซีย"[19] ในขณะที่นักวิชาการอิสระชาวอาร์มีเนีย Rouben Galichian ปฏิเสธคำกล่าวอ้างดังกล่าวไว้ในหนังสือปี 2009 ชื่อ Invention of History (ประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้น) ว่า[20] "มัสยิดทุกมัสยิด[ในเยเรวาน]ที่สร้างขึ้นระหว่างปี 1635 ถึงทศวรรษ 1820 สร้างขึ้นโดยชาวอิหร่าน ซึ่งทราบดีว่าประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นและไม่เป็นชาวอิหร่านก็นับถือนิกายชีอะฮ์ทั้งนั้น มัสยิดเหล่านี้จึงคล้ายคลึงกันมาก ฉะนั้นจึงเป็นการยากมากที่จะเข้าใจมัสยิดสีน้ำเงินในฐานะ 'มัสยิดอาเซอร์' เพราะ 'มัสยิดอาเซอร์' มันไม่มีอยู่ตั้งแต่แรก"

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ตัวอย่างเช่น สำนักข่าวของรัฐ Armenpress เรียกสถานที่นี้ว่า "Iranian Blue Mosque of Yerevan" ในบทความที่เผยแพร่ในปี ค.ศ. 2013[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Government of the Republic of Armenia (2 November 2004). "Հայաստանի Հանրապետության Երևան քաղաքի պատմության և մշակույթի անշարժ հուշարձանների պետակական ցուցակ [List of historical and cultural monuments of Yerevan]". arlis.am (ภาษาอาร์เมเนีย). Armneian Legal Information System. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2016.
  2. Noble, John; Kohn, Michael; Systermans, Danielle (2008). Georgia, Armenia & Azerbaijan. Lonely Planet. p. 154. ISBN 9781741044775.
  3. Darieva 2016, p. 296.
  4. Markossian 2002, p. 44.
  5. Aghajanian, Liana (16 May 2016). "An insider's guide to Yerevan: the city where Kanye likes to swim in Swan Lake". The Guardian. As the only active mosque left in Armenia, it now serves as a hub for a growing number of Iranian residents and tourists.
  6. 6.0 6.1 Brooke, James (12 March 2013). "Iran, Armenia Find Solidarity in Isolation". Voice of America. In all of Christian Armenia, there is only one mosque: "The Iranian Mosque," restored 15 years ago by Iran.
  7. "Կրոնական կազմը Հայաստանում [Armenia's religious makeup]". ampop.am (ภาษาอาร์เมเนีย). 27 December 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2019. Հայաստանում բնակվում է 812 մուսուլման...
  8. Miller, Tracy, บ.ก. (October 2009), Mapping the Global Muslim Population: A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population (PDF), Pew Research Center, p. 28, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-10-10, สืบค้นเมื่อ 2009-10-08
  9. 9.0 9.1 "Involvement of Blue Mosque in UNESCO list of cultural heritage is highly significant". Armenpress. 14 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.
  10. "Armenia applies to place Blue Mosque on UNESCO's World Heritage List". Today's Zaman. 22 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2015.
  11. Kaeter, Margaret (2004). The Caucasian Republics. Facts on File. p. 12. ISBN 9780816052684. The Blue Mosque [...] is the only Persian mosque in Yerevan still preserved.
  12. Carpenter, C. (2006). "Yerevan". World and Its Peoples, Volume 1. Marshall Cavendish. p. 775. ISBN 9780761475712. ...only one large Persian mosque, the eighteenth-century Blue Mosque, is still open, now renovated as a cultural center.
  13. Darieva 2016, p. 299.
  14. de Waal 2003, p. 80.
  15. Darieva 2016, p. 297.
  16. "Blue Mosque, historical Azerbaijani monument in Yerevan - PHOTOS". today.az. 17 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.
  17. Zeynalov, Natiq (5 May 2010). "Yerevanda Göy məscid hər gün İran vətəndaşları ilə dolu olur". azadliq.org (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). Radio Free Europe/Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20. Halbuki, onun fikrincə, bu, Azərbaycan mədəniyyətinin bir abidəsidir.
  18. Sayyad Salahli, First Deputy Chairman of the Azerbaijani State Committee for Work with Religious Organizations. Dadaşov, Valeh (15 December 2015). "State Committee official: 'Lease of Blue Mosque to Iran has preconceived purpose'". report.az.
  19. Imranly, Kamala, บ.ก. (2007). War against Azerbaijan: Targeting Cultural Heritage. Baku: Ministry of Foreign Affairs of Azerbaijan and Heydar Aliyev Foundation. p. 313. ISBN 978-9952-8091-4-5. The Goy mosque was turned into the Museum of History of Yerevan in the Soviet period, and then 'restored' and presented as a Persian mosque after 1991.
  20. Galichian, Rouben (2010) [2009]. The Invention of History: Azerbaijan, Armenia and the Showcasing of Imagination (PDF) (2nd ed.). London: Gomidas Institute. p. 66. ISBN 978-1-903656-88-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-17.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]