มหาอำมาตย์พระที่นั่งจงจี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาอำมาตย์พระที่นั่งจงจี้ หรือ จงจี้เตี้ยนต้าเสวียซื่อ (จีน: 中極殿大學士; พินอิน: Zhōng jí diàn dàxué shì) เดิมเรียกว่าฮั่วไกเตี้ยนต้าเสวียซื่อ (華蓋殿大學士) คือ ตำแหน่งหนึ่งในคณะรัฐบาลต้าเสวียซื่อ ของราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ปรากฏครั้งแรกในช่วงต้นราชวงศ์หมิง เป็นขุนนางขั้น 5 ชั้นเอก ทำหน้าที่ตรวจฎีกา กลั่นกรอง แล้วลงมติตามสมควร[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในรัชศกหงหวู่ปีที่ 13 (ค.ศ. 1380) ช่วงต้นราชวงศ์หมิง หมิงไท่จู่เกาหวงตี้สังหารหู เหวย์ยง และยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี ที่มีมานานกว่า 2,000 ปี แล้วตั้งให้กระทรวงทั้งหกขึ้นตรงต่อจักรพรรดิ[2]อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาระงานที่มากเกินไป ในรัชศกหงหวู่ปีที่ 15 หมิงไท่จู่เกาหวงตี้จึงต้องตั้งต้าเสวียซื่อขึ้นเพื่อช่วยแบ่งเบางานของจักรพรรดิ ในตอนแรกต้าเสวียซื่อยังไม่มีอำนาจที่มากนัก โดยทำหน้าที่คล้ายกับเลขานุการในปัจจุบัน[3] หลังจากนั้น จักรพรรดิหมิงเฉิ่งจู่ นับแต่สมัยจักรพรรดิหมิงซวนจง เนื่องจากจักรพรรดิเริ่มพึ่งพาต้าเสวียซื่อในการทำงานมากขึ้น ประกอบกับฎีกาทั้งหมดจะต้องผ่านต้าเสวียซื่อก่อนแล้วจึงจะส่งให้จักรพรรดิ จึงทำให้อำนาจของต้าเสวียซื่อเริ่มมีมากขึ้น[4]

ในรัชกาลของจักรพรรดิเจียจิ้ง ได้เปลี่ยนชื่อจากฮั่วไกเตี้ยนเป็นจงจี้เตี้ยน และในสมัยราชวงศ์ชิงได้เปลี่ยนชื่อจงจี้เตี้ยนเป็นจงเหอเตี้ยน

ในรัชศกคังซีปีที่ 20 (ค.ศ. 1681) หลังจากถู่ไห่ (圖海) ถึงแก่กรรม ก็ไม่มีใครรับตำแหน่งนี้อีกเลย

ในวันที่ 4 ธันวาคม รัชศกเฉียนหลงปีที่ 13 (22 มกราคม ค.ศ. 1749) คณะรัฐบาลต้าเสวียซื่อ ได้เปลี่ยนจากสี่พระที่นั่งสองศาลา เป็นสามพระที่นั่งสามศาลา และตำแหน่งมหาอำมาตย์พระที่นั่งจงเหอ ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ

อ้างอิง[แก้]

  1. 明史》(卷72):“十五年,仿宋制,置華蓋殿、武英殿、文淵閣、東閣諸大學士,禮部尚書邵質為華蓋,檢討吳伯宗為武英,翰林學士宋訥為文淵,典籍吳沉為東閣。又置文華殿大學士,征耆儒鮑恂、余詮、張長年等為之,以輔導太子。秩皆正五品。二十八年敕諭群臣:「國家罷丞相,設府、部、院、寺以分理庶務,立法至為詳善。以後嗣君,其毋得議置丞相。臣下有奏請設立者,論以極刑。」當是時,以翰林、春坊詳看諸司奏啟,兼司平駁。大學士特侍左右,備顧問而已。建文中,改大學士為學士。悉罷諸大學士,各設學士一人。又改謹身殿為正心殿,設正心殿學士。成祖即位,特簡解縉、胡廣、楊榮等直文淵閣,參預機務。閣臣之預務自此始。然其時,入內閣者皆編、檢、講讀之官,不置官屬,不得專制諸司。諸司奏事,亦不得相關白。”
  2. 明太祖實錄》卷239:「自古三公論道,六卿分職。自秦始置丞相,不旋踵而亡。漢、唐、宋因之,雖有賢相,然其間所用者多有小人專權亂政。我朝罷相,設五府、六部、都察院、通政司、大理寺等衙門,分理天下事務,彼此頡頏,不敢相壓,事皆朝廷總之,所以穩當。以後嗣君並不許立丞相,臣下敢有奏請設立者,文武群臣即時劾奏,處以重刑。」
  3. 明史》(卷172):“中極殿大學士,舊名華蓋殿,建極殿大學士,舊名謹身殿,文華殿大學士,武英殿大學士,文淵閣大學士,東閣大學士,並正五品掌獻替可否,奉陳規誨,點檢題奏,票擬批答,以平允庶政。凡上之達下,曰詔,曰誥,曰制,曰冊文,曰諭,曰書,曰符,曰令,曰檄,皆起草進畫,以下之諸司。下之達上,曰題,曰奏,曰表,曰講章,曰書狀,曰文冊,曰揭帖,曰制對,曰露布,曰譯,皆審署申覆而修畫焉,平允乃行之。凡車駕郊祀、巡幸則扈從。禦經筵,則知經筵或同知經筵事。東宮出閣講讀,則領其事,敘其官,而授之職業。冠婚,則充賓贊及納征等使。修實錄、史志諸書,則充總裁官。春秋上丁釋奠先師,則攝行祭事。會試充考試官,殿試充讀卷官。進士題名,則大學士一人撰文,立石於太學。大典禮、大政事,九卿、科道官會議已定,則按典制,相機宜,裁量其可否,斟酌入告。頒詔則捧授禮部。會敕則稽其由狀以請。宗室請名、請封,諸臣請諡,並擬上。以其授餐大內,常侍天子殿閣之下,避宰相之名,又名內閣。”
  4. 明史》(卷72):“永樂二十二年八月,複置三公、三少。宣德三年,敕太師、英國公張輔,少師、吏部尚書蹇義,少傅、兵部尚書、華蓋殿大學士楊士奇,少保兼太子少傅、戶部尚書夏原吉,各輟所領,侍左右,咨訪政事。公孤之官,幾於專授。逮義、原吉卒,士奇還領閣務。自此以後,公、孤但虛銜,為勳戚文武大臣加官、贈官。而文臣無生加三公者,惟贈乃得之。嘉靖二年加楊廷和太傅,辭不受。其後文臣得加三公惟張居正,萬曆九年加太傅,十年加太師。”