ข้ามไปเนื้อหา

เขาปีนาตูโบ

พิกัด: 15°08′30″N 120°21′00″E / 15.14167°N 120.35000°E / 15.14167; 120.35000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภูเขาไฟพินาตูโบ)
เขาปีนาตูโบ
เขาปีนาตูโบที่กำลังปะทุในวันที่12 มิถุนายน พ.ศ. 2534 สามวันก่อนที่จะระเบิดครั้งใหญ่
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
  • 1,486 m (4,875 ft) (ปัจจุบัน)
  • 1,745 m (5,725 ft) (ก่อนภูเขาไฟระเบิดใน พ.ศ. 2534)
รายชื่อภูเขาไฟมีกำลัง
พิกัด15°08′30″N 120°21′00″E / 15.14167°N 120.35000°E / 15.14167; 120.35000
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เขาปีนาตูโบตั้งอยู่ในฟิลิปปินส์
เขาปีนาตูโบ
เขาปีนาตูโบ
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ที่ตั้งเกาะลูซอน
ประเทศฟิลิปปินส์
เขตกิตนางลูโซน
จังหวัด
เทือกเขาทิวเขาซัมบาเลส
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินระหว่าง 635,000 ± 80,000
และ 1.1 ± 0.09 ล้านปีก่อน[2]
ประเภทภูเขาแอ่งยุบปากปล่อง-กรวยภูเขาไฟสลับชั้น[1]
การปะทุครั้งล่าสุดค.ศ. 1993[1]

เขาปีนาตูโบ (ตากาล็อก: Bundok Pinatubo; อังกฤษ: Mount Pinatubo) เป็นภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นที่มีพลังอยู่ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ บริเวณทิวเขาซัมบาเลส เหนือกรุงมะนิลา ทหารสเปนค้นพบเมื่อครั้งล่าอาณานิคมเมื่อ พ.ศ. 2099 เป็นที่รู้จักจากการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ปินาตูโบเป็นภาษาตากาล็อกแปลว่าปลูก[3]

ลักษณะภูมิศาสตร์

[แก้]

เขาปีนาตูโบเป็นภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นที่มีพลังอยู่ มีความสูง 1,750 เมตร อายุราว 9,000 ปี ก่อนการระเบิดถูกปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบ และเป็นพื่นที่เกษตรกรรมในการปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และพืชชนิดอื่น ๆ มีทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟอยู่[4]

การระเบิดเมื่อปี พ.ศ. 2534

[แก้]

การระเบิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หลังจากสงบลง 600 ปี พื้นที่โดยรอบ 20 กิโลเมตรรู้สึกถึงการระเบิดและถูกปกคลุมด้วยเถ้าภูเขาไฟจนมืดมิดทันที เกิดสะเก็ดภูเขาไฟทำลายสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ ลาวาที่ไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟเข้าทำลายบ้านเรือนประชาชน เกิดโคลนถล่มและน้ำท่วม และก่อให้เกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถึง 25 ไมล์ และได้ไปผสมกับความชื้นทำให้เกิดเป็นเมฆปกคลุมอยู่รอบโลกถึง 21 วัน นักธรณีวิทยาได้กล่าวไว้ว่า การระเบิดครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงและยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการจดบันทึกไว้ โดยกลุ่มก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจะยังคงปกคลุมและหมุนอยู่รอบโลกไปอีกถึง 5 ปี คาดว่ามีประมาณ 20 ล้านตัน ถึงแม้ว่าการระเบิดของภูเขาปินาตูโบจะส่งสารเคมีไปทั่วโลกทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ อาคารหลายแห่งถล่มลงมาเพราะการทับถมของหินพัมมิซ ทำให้ทางการเร่งอพยพประชาชนกว่า 40,000 - 331,00 คนออกจากพื้นที่ โรงเรียนหลายแห่งถูกปิด และมีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพราะเถ้าภูเขาไฟเป็นจำนวนมาก[5]

ผลกระทบจากการระเบิด

[แก้]

ขณะการระเบิดหลายพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ ระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหาย ทางการระงับเที่ยวบินที่มุ่งหน้าผ่าเกาะลูซอนทั้งหมด มีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิด 2.1 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 857 คน ความเสียหายประเมินเป็นมูลค่า 3925.5 ล้านเปโซ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายไป 150 ตารางกิโลเมตร พื้นที่การเกษตรเสียหาย 800 ตารางกิโลเมตร ทางด้านปศุสัตว์มีสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรตาย 800,000 ตัว

ผลกระทบในประเทศไทย

[แก้]

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเถ้าภูเขาไฟที่จังหวัดสงขลา นราธิวาส และปัตตานี เกิดมลภาวะทางอากาศ และแหล่งน้ำของประชาชน รวมทั้งปัญหาโรคทางเดินหายใจด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Pinatubo, Global Volcanism Program.
  2. "Pinatubo Volcano". The Philippine Institute of Volcanology and Seismology (PHIVOLCS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
  3. [1]
  4. [2]
  5. [3]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]