ภัยพิบัติเรืออับปางนอกเกาะคริสต์มาส

พิกัด: 10°25′1″S 105°40′24″E / 10.41694°S 105.67333°E / -10.41694; 105.67333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัยพิบัติเรืออับปางนอกเกาะคริสต์มาส
วันที่15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เวลา5:20 – 9:00 น.[a]
ระยะเวลา3 ชั่วโมง 40 นาที
ที่ตั้งใกล้ชายฝั่งร็อกกี, เกาะคริสต์มาส, ออสเตรเลีย
พิกัด10°25′1″S 105°40′24″E / 10.41694°S 105.67333°E / -10.41694; 105.67333
ประเภทภัยพิบัติทางทะเล
สาเหตุเรือชนเข้ากับโขดหินจากคลื่นขนาดใหญ่
ผู้เข้าร่วมผู้โดยสารและลูกเรือของเรือ SIEV-221, ผู้อาศัยบนเกาะคริสต์มาส, เรือลาดตระเวน HMAS Pirie, เรือวิจัย ACV Triton
เสียชีวิต50 คน

หายนะเรืออับปางนอกเกาะคริสต์มาส เป็นอุบัติเหตุที่เรือบรรทุกผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 70 คนจมนอกชายฝั่งเกาะคริสต์มาส อันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 50 คน ส่วนผู้รอดชีวิต 42 คนได้รับการช่วยเหลือ[1][2][3] โดยเมื่อเวลา 6.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น เรือได้เกิดชนเข้ากับโขดหินที่ฟลายอิงฟิชโคฟ ก่อนจะชนเข้ากับหน้าผาที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้ความพยายามช่วยเหลือเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก[2][4]

ในระยะเวลากว่าหนึ่งชั่วโมง เรือที่ไม่มีกำลังได้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าและถอยไปข้างหลังจากการที่คลื่นซัดสาดมันให้ออกห่างจากหน้าผา[5] เรือจมลงเมื่อเวลาราว 6.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[6]

ผู้ที่ตกลงไปในทะเลจำนวนมากได้ยึดเกาะเอาของลอยในทะเลเมื่อเรือแตกออกเป็นส่วน ๆ อย่างรวดเร็ว[5] ประชาชนท้องถิ่นพยายามช่วยเหลือเหยื่อโดยการโยนเสื้อชูชีพและวัตถุอื่น ๆ ให้[7] ผู้ลี้ภัยบางคนได้รับการบาดเจ็บจากเศษชิ้นส่วนเรือที่กำลังพังทลาย และบางส่วนสามารถใช้เสื้อชูชีพที่โยนมาจากชายฝั่งได้[5] ความพยายามช่วยเหลือโดยหน่วยงานศุลกากรและการป้องกันชายแดนออสเตรเลีย โดยได้จัดสรรเรือสองลำมาช่วยเหลือผู้รอดชีวิตอย่างน้อย 41 คน[2] นอกจากนี้ สภาพอากาศที่เลวร้ายยังได้ทำให้ปฏิบัติการช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างยากลำบาก[3] ชุดดูแลผู้ป่วยวิกฤตจำนวนสองชุดจากหน่วยแพทย์เวหาออสเตรเลีย (Royal Flying Doctor Service of Australia) ได้บินออกจากเพิร์ธพร้อมกับความช่วยเหลือทางการแพทย์[7]

เดิมเคยคาดกันว่าเรือดังกล่าวมีผู้โดยสาร 70 คน แต่บางแห่งอาจระบุว่าตัวเลขดังกล่าวอาจสูงถึง 100 คน[8] ผู้โดยสารรวมไปถึงเด็ก สตรีและชายชาวอิรัก ชาวอิหร่านและชาวเคิร์ด[9]

ผลสะท้อนทางการเมืองของหายนะดังกล่าวดำเนินต่อไป โดยมีความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเรือและพฤติการณ์ที่ได้ทำไว้[10][4]

การค้นหาผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุเรืออับปางดังกล่าวยุติลงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม เมื่อแพทย์แนะนำว่าโอกาสพบผู้รอดชีวิตเพิ่มเป็นไปได้น้อย การรำลึกถึงผู้ที่สูญหายเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19–20 ธันวาคม[11]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เวลาท้องถิ่นบนเรือ (shiptime)

อ้างอิง[แก้]

  1. Gemma Daley (16 ธันวาคม 2010). "Asylum Boat Death Toll Reaches 30 as Australia Continues Salvage Operation". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 Sonti, Chalpat (15 ธันวาคม 2010). "27 people confirmed dead in Christmas Island disaster". WAtoday. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2010.
  3. 3.0 3.1 "27 confirmed dead after asylum boat sinking". ABC News Online. 15 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2010.
  4. 4.0 4.1 "Customs and Border Protection Media Release 'Christmas Island Chronology' - 16 December 2010". Australian Customs and Border Protection Service. 16 ธันวาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2010.
  5. 5.0 5.1 5.2 Nicolas Perpitch, Debbie Guest and Tony Barrass (16 ธันวาคม 2010). "Screams heard above the storm". The Australian. News Limited. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2010.
  6. "Sifting through the wreckage". Sydney Morning Herald. 2 ธันวาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2021.
  7. 7.0 7.1 Kevin Drew (15 ธันวาคม 2010). "Refugee Boat Sinks Near Australia". New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2010.
  8. "Australia launches criminal probe into asylum shipwreck". BBC News. 16 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2010.
  9. "Boat was not tracked from Indonesia: Bowen". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. 16 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2010.
  10. "Blame game begins after asylum boat tragedy". ABC News Online. 17 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2010.
  11. "Search for boat survivors abandoned". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. 18 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2010.