พูดคุย:สระว่ายน้ำ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลขาดอ้างอิง[แก้]

'''สระว่ายน้ำ'''
ก่อนที่คุณจะลงมือสร้างสระว่ายน้ำไว้เพื่อพักผ่อน หรือออกกำลังกายในบ้าน ก็ควรมารู้อะไรเกี่ยวกับสระว่ายน้ำกันเสียก่อน โดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทของสระว่ายน้ำ 
ตามลักษณะของการก่อสร้างออกเป็น 2 แบบคือ
1.	สระว่ายน้ำคอนกรีต โครงสร้างของพื้นและผนังของสระ จะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด การติดตั้งกระเบื้อง จึงเหมือนการติดตั้งผนังโดยทั่วไป จากนั้นก็จะทำการติดตั้งเครื่องกรอง ปั๊มน้ำ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็น ควรออกแบบให้มีบ่อพักน้ำ 
อยู่ในระบบหมุนเวียนด้วย ข้อดีคือ แข็งแรง ทนทาน ออกแบบได้หลากหลาย แต่ค่าใช้จ่ายอาจจะสูง
2.	สระว่ายน้ำแบบสำเร็จรูป ติดตั้งในพื้นที่ที่เตรียมการไว้ล่วงหน้าได้เลย โครงสร้างจะเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นกับผนังจะเป็นวัสดุประเภทโพลิเมอร์ ที่ผลิดเป็นชิ้นงานจากโรงงาน อีกวิธีก็คือการขั้นด้วยโครงเหล็ก หรือพลาสติกหล่อ 
จัดวางระบบหมุนเวียนให้เรียบร้อย จากนั้นปูด้วยผ้าไวนิล ที่ผลิตสำหรับการนี้โดยเฉพาะ  {{ไม่ได้ลงชื่อ|Puey 67|17:18, 18 กรกฎาคม 2556 (ICT)}}

สระว่ายน้ำแบบนี้ คุณต้องทำใจว่าไม่สามารถออกแบบรูปทรงได้หลากหลายนัก เพราะผลิตออกมาตามรูปแบบมาตรฐาน ไม่สามารถตกแต่งลวดลายได้เหมือนกับการปูกระเบื้องสระคอนกรีต แต่มีข้อดีคือความรวดเร็วในการก่อสร้าง
และค่าใช้จ่าย {{ไม่ได้ลงชื่อ|Puey 67|17:18, 18 กรกฎาคม 2556 (ICT)}}
ระบบหมุนเวียนของสระว่ายน้ำ มีอยู่ 2 ระบบด้วยกันคือ '''ระบบน้ำล้น (Over Flow)''', '''ระบบดูด หรือ ระบบสกิมเมอร์ (Skimmer)''' {{ไม่ได้ลงชื่อ|Puey 67|17:14, 18 กรกฎาคม 2556 (ICT)}}

'''1. ระบบน้ำล้น  (Overflow System)'''  ต้องใช้สระแบบคอนกรีตเท่านั้น เพราะต้องออกแบบวางแนวรางน้ำ ตั้งแต่ขั้นตอนการเทคอนกรีต สระน้ำในระบบนี้จะแลดูสวยงามกว่าระบบดูด หรือ สกิมเมอร์ เพราะเมื่อฝุ่นละอองสัมผัสผิวน้ำแล้ว ก็จะล้นออกไป
ขั้นตอนของ สระระบบนี้คือ น้ำจะไหลลงรางระบายน้ำรอบสระ ไปสู่บ่อพักน้ำ ปั๊มจะทำหน้าที่สูบน้ำ เข้าสู่เครื่องกรอง เพื่อขจัดความสกปรกหมุนเวียนกันไป แล้วส่งต่อกระบวนการฆ่าเชื้อเช่น ''คลอรีน ( Chlorine ), ระบบเกลือ ( Salt ) , โอโซน ( Ozone )'' 
จึงค่อยส่งน้ำมาที่ตัวสระทางหัวพ่นน้ำ ( Inlet nozzle ) ที่ติดพ่นไว้ตามพื้นสระ (Floor Inlet)  หรือ ผนังสระ ( Wall Inlet) {{ไม่ได้ลงชื่อ|Puey 67|17:14, 18 กรกฎาคม 2556 (ICT)}}

'''2. ระบบดูด หรือ สกิมเมอร์ (Skimmer System)'''  ส่วนใหญ่จะเป็นสระว่ายน้ำแบบสำเร็จรูป ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือระดับของน้ำในสระจะไม่ถึงขอบสระ จะต่ำกว่าขอบสระประมาณ 10-20 ซม. มีช่องสกิมเมอร์ ( Skimmer ) ติดอยู่ขอบสระ 
เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่ผิวน้ำ น้ำในสระจะดูดผ่านโดยปั๊มน้ำ ( Pump ) ผ่านช่องสกิมเมอร์ เพื่อไปกรองในกระบวนการบำบัดน้ำ น้ำในสระจะหมุนเวียนผ่านเครื่องกรอง ( Filter ) ส่งต่อเข้ากระบวนการฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน ( Chlorine ), ระบบเกลือ ( Salt ) , 
โอโซน ( Ozone ) จึงค่อยส่งน้ำมาที่ตัวสระทางหัวพ่นน้ำ ( Inlet nozzle ) ที่ติดพ่นไว้ ช่องสกิมเมอร์  {{ไม่ได้ลงชื่อ|Puey 67|17:19, 18 กรกฎาคม 2556 (ICT)}}

''' ระบบกรองน้ำของสระว่ายน้ำ'''
ระบบกรองน้ำที่ใช้ทั่วไปมีอยู่ 3 แบบคือ

''-	ระบบกรองทราย (Sand Filter)'' เป็นระบบที่ง่าย และประหยัด เหมาะกับสระโดยทั่วไป เพราะมีหัวมัลติพอร์ทวาล์ว ควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามที่ต้องการ
 
''-	ระบบกรองผ้าด้วยผงกรอง (D.E. Filter, Pro Grid)'' มีความละเอียดในการกรองน้ำได้ดีกว่าระบบกรองทราย แต่มีข้อเสียที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเติมผงกรอง และผ้ากรอง นอกจากระบบกรองแล้ว การบำบัดน้ำอาจจะมีวิธีอื่น เช่น 
การเติมน้ำยาปรับสภาพน้ำต่างๆด้วย {{ไม่ได้ลงชื่อ|Puey 67|17:14, 18 กรกฎาคม 2556 (ICT)}}
 
''-	ระบบกรองกระดาษ (Cartridge Filter)'' ระบบนี้จะมีความละเอียดในการกรองน้ำดีกว่าระบบผ้า แต่มีข้อเสียคือ ต้องมีการเปลี่ยนไส้กรองกระดาษค่อนข้างสูงมากกว่าผ้ากรอง

Puey 67 (พูดคุย) 17:17, 18 กรกฎาคม 2556 (ICT)puey_67