พูดคุย:คำผวนในภาษาไทย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผมว่ายังมีผิดเยอะ เวลาผวนต้องเอาเสียงวรรณยุกต์ติดมาด้วย อย่างเช่น รักเธอ ตรี-สามัญ ควรจะเป็น เรอทัก สามัญ-ตรี

ไก่ย่าง เอก-โท ควรจะเป็น ก้างใหญ่ โท-เอก

ผมไม่เข้าใจ ตรรก ทำไมถึงไม่ควรมี หรือมีบทความ สรรพลี้หวน ไม่ได้ครับ - 2T - ('-' )( '-' )( '-') - 02:40, 30 พฤษภาคม 2006 (UTC)

ความเป็นสากล[แก้]

อาจต้องปรับเนื้อหา และเปลี่ยนชื่อเป็น "คำผวนในภาษาไทย" เพราะดูหน้าที่ลิงก์ไปภาษาอื่นแล้ว ไม่ใช่ลักษณะผวนแบบไทย เพียงแต่คล้ายกันเท่านั้นเอง --ธวัชชัย 23:09, 14 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

ย้ายข้อความเหมือนลอก[แก้]

(ข้อความต่อไปนี้ย้ายมาจากหน้าบทความหลัก)


คำผวน คือ คำพูดที่เกิดจากการเล่นภาษาอย่างหนึ่งของคนไทย ใช้วิธีกลับเสียงของคำโดยการสลับเสียงระหว่างคำหรือพยางค์ เมื่ออ่านย้อนกลับสระกันแล้วจะได้คำที่มีความหมายใหม่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะได้คำที่มีความหมายไปในทางที่ไม่ค่อยสุภาพ และคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศโดยตรงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคนไทยถือว่าไม่สุภาพ เป็นเรื่องหยาบโลน

ลักษณะของคำผวน

คำผวนต้องมีจำนวนพยางค์ที่ใช้ในการผวนตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป จนถึงเป็นประโยคยาวๆ เช่น


ชอกี ผวนเป็น ชีกอ ค่าบน ผวนเป็น คนบ้า แอร์กี่ ผวนเป็น อีแก่ แขกดอย ผวนเป็น คอยแดก แขกตามดอย ผวนเป็น คอยตามแดก แดงจูงหมีไปฆ่า ผวนเป็น แดงจูงหมาไปขี้

วัตถุประสงค์และโอกาสในการเล่นคำผวน

การเล่นคำผวนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากกว่าทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับอารมณ์เพศ ดังนั้นบางครั้งก็ถูกใช้เพื่อลดนัยทางเพศลง ดังเช่น ในการเล่นเพลงปฏิพากย์หรือลิเก เมื่อต้องการจะกล่าวพาดพิงถึงเรื่องเพศก็มักจะเลี่ยงใช้คำผวนแทน ซึ่งก็เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากวัฒนธรรมไทยถือกันว่าเรื่องเพศเป็นของสกปรก ไม่สมควรพูดในที่สาธารณะ เมื่อพูดตรงๆ ไม่ได้ ก็ต้องหาทางเลี่ยงแทน คำผวนจึงเป็นทางออกที่ดี บางครั้งคำผวนก็ถูกใช้เพื่อผ่อนคลายความตรึงเครียดหรือเปลี่ยนบรรยากาศที่น่าเบื่อในกิจกรรมที่ทำอยู่ เช่น ชาวบ้านที่ร่วมแรงกันลงแขกทำงานมักจะร้องเพลงต่างๆ โดยมีคำผวนในเนื้อเพลง บางโอกาสก็มีจะประสงค์เพื่อแสดงศิลปะของการประพันธ์ในรูปร้อยกรองหรือปริศนาคำทายที่มีความคล้องจองกัน ทั้งนี้เพราะคนไทยมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนสืบมาแต่โบราณ ฉะนั้นแทนที่จะผูกคำประพันธ์หรือปริศนาคล้องจองโต้ตอบกันอย่างธรรมดา ก็ใช้คำผวนแทรกเข้าไปแทนคำพูดที่มีความหมายตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน


ประวัติความเป็นมาของคำผวน

ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าคำผวนกำเนิดมาแต่เมื่อใด แต่อาจสันนิษฐานถึงที่มาได้เป็น 2 ประการ คือ ประการแรกอาจเป็นเพราะความสนุกปาก ประการที่สอง เนื่องจากสังคมไทยปิดกั้นความรู้เรื่องเพศ จึงโต้ตอบและแสดงออกในทางตรงข้าม คือการฝ่าฝืนข้อห้าม ซึ่งตรงกับหลักการทางจิตวิทยาซึ่งถือว่า "การปกปิดเป็นการเร้าความสนใจ"

ประวัติความเป็นมาของคำผวนเท่าที่มีหลักฐานปรากฏพบว่ามีการเล่นคำผวนมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีเรื่องเล่าว่าในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศรีปราชญ์ กวีเอกในสมัยนั้นได้เคยแต่งโคลงกระทู้คำผวนเอาไว้ 1 บท มีความว่า


"เป ทะลูอยู่ถ้ำ มีถม (ปูทะเล) แป สะหมูอยู่ตาม ไต่ไม้ (ปูแสม) มา แดงแกว่งหางงาม หาคู่ (แมงดา) นา ปล้ำน้ำจิ้มให้ รสลิ้มชิมบอล" (น้ำปลา)

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานว่า สุนทรภู่ ปรมาจารย์ด้านกลอนของไทยได้แต่งโคลงคำผวนโต้ตอบผู้ที่สบประมาทกล่าวหาว่าท่านแต่งได้แต่กลอนเท่านั้น โคลงแต่งไม่ได้ สุนทรภู่จึงแต่งโคลงเป็นคำผวนด่าผู้สบประมาท ดังนี้


"เฉน็งไอมาเวิ่งเว้า วู่กา (เฉน็งไอ-ไฉนเอ็ง, วู่กา-ว่ากู) 

รูกับกาวเมิงแต่ยา มู่ไร้ (ราวกับกูมาเแต่เยิง ไม่รู้) ปิดเซ็นจะมู่ซา เคราทู่ (เป็นศิษย์จะมาสู้ ครูเฒ่า) เฉะแต่จะตอบให้ ชีพม้วยมังรณอ" (ชอบแต่จะเตะให้, มรณัง)

คำผวนสะท้อนวัฒนธรรมไทย

การเล่นคำผวนถือเป็นศิลปะการเล่นคำทางภาษาอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ ดังนี้

วัฒนธรรมการใช้ภาษา เนื่องจากคำผวนเป็นศิลปะการเล่นคำโดยการพลิกแพลงได้อย่างหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นว่าภาษาไทยมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง


วัฒนธรรมด้านความเป็นอยู่ ปรากฏในรูปของปริศนาคำทายที่สะท้อนถึงการดำรงชีพ อาหารการกิน และเครื่องใช้ไม้สอย


วัฒนธรรมด้านความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อและทัศนคติของคนไทยที่สะท้อนออกมาในรูปของปริศนาคำทาย และลักษณะนิสัยของคนไทย ได้แก่ ความสนใจในเรื่องเพศแต่ไม่เอ่ยถึงตรงๆ มักใช้วิธีพูดเลี่ยงๆ ให้เป็นเรื่องสนุก ซึ่งนับเป็นความเฉลียวฉลาดและมีสติปัญญา ช่างคิดช่างสังเกต ช่างเปรียบเทียบ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ สุทธิพงษ์ พื้นแสน (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:15, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)

การผวนคำตั้งแต่ 4 พยางค์ ขึ้นไป ไม่ค่อยนิยมทำกัน แต่ก็พอมีบ้างบางโอกาส เนื่องจากการผวนคำนั้น เกิดขึ้นกับ 2 พยางค์ ซึ่งวาง อยู่ ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของคำ เช่น 4 พยางค์: มะนาว ต่างดุ๊ด => มนุษย์ต่างดาว ในกรณีนี้ ใช้พยางค์ที่สองและพยางที่สี่ของคำ, 5 พยางค์: ประจั๋น คีรีขวบ => ประจวบคีรีขันธ์ (พยางค์ 2 กับ 5), 6 พยางค์: นคา ราชสีมร => นครราชสีมา (พยางค์ 2 กับ 6) นคาด ศรีธรรมรอน => นครศรีธรรมราช (พยางค์ที่ 2 กับ 6) หรือ หรือ นครซาด ธรรมะหลี => นครศรีธรรมราช (พยางค์ 3 กับ 6) และ 7 พยางค์: อนุรำ วัฒนทัก => อนุรักษ์วัฒนธรรม (พยางค์ 3 กับ 7)เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการผวนระหว่างพยางค์ใดพยางค์หนึ่งกับพยางค์ท้ายของคำ ตามความเหมาะสมของการแบ่งพยางค์ของคำ

สรุปหลักการง่ายๆ ของการผวนคำที่มีหลายพยางค์คือ 1) แยกข้อความออกเป็น 2 ท่อน ตามความเหมาะสม 2) นำเฉพาะคำหรือพยางค์ท้ายสุดของแต่ละท่อน มาผวน เช่น "สิงโตนอนป่วยอยู่ในถ้ำ" (มี 7 พยางค์) ขั้นที่ 1 แยกข้อความท่อนที่ 1 เป็น "สิงโตนอนป่วย" กับท่อนที่ 2 "อยู่ในถ้ำ" ขั้นที่ 2 นำพยางค์ท้ายสุดของท่อนแรก กับท่อนหลัง คือ "ป่วย" กับ "ถ้ำ" มาผวน จะได้เป็น "ป่ำ" กับ "ถ้วย" ส่วนคำอื่นคงไว้ที่คำแหน่งเดิม จะได้ประโยคผวนใหม่เป็น "สิงโตนอนป่ำ อยู่ในถ้วย" เป็นต้น

202.29.4.251 13:17, 14 พฤษภาคม 2553 (ICT)ธนเศรษฐ 15 พ.ค. 2553202.29.4.251 13:17, 14 พฤษภาคม 2553 (ICT)

คำผวนเป็นของไทย?[แก้]

พบเช่นกันว่าคำผวนเป็นความพิเศษของภาษาไทย แต่อยากทราบว่า en:Spoonerism เป็น "คำผวน" ด้วยหรือเปล่า ถ้าใช่ แสดงว่าภาษาอื่นก็มีคำผวนเช่นกัน แต่ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ควรลิงก์ไปยังบทความดังกล่าวครับ --Horus | พูดคุย 23:23, 11 มีนาคม 2554 (ICT)

วรรณยุกต์[แก้]

ผมตัดเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับวรรณยุกต์ออกทั้งหมดก่อน เพราะไม่มีแหล่งอ้างอิงและผมเชื่อว่าผิด จะมาบอกว่า "การผวนคำที่ถูกต้อง" เป็นอย่างไรนั้นคงจะไม่ได้ เพราะเป็นการละเล่นที่ทำตามๆ กันมาไม่มีแบบแผน

ในปัจจุบัน มีการผวนคำทั้งแบบที่สลับวรรณยุกต์และไม่สลับวรรณยุกต์ แม้กระทั่งในสรรพลี้หวนก็มีใช้ทั้งสองแบบ (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด เพราะรู้แต่ภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ อ่านอย่างใต้ไม่เป็น) ถ้าอยากได้อะไรที่ทันสมัยกว่าก็ลองดูเทยเที่ยวไทยสัก 4-5 ตอนก็ได้ครับ ดังนั้นก็ต้องถือว่าทั้งสองแบบถือเป็นการผวนคำเช่นกัน เสียดายที่ผมไม่สะดวกหาแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนได้ (นอกจากเทยเที่ยวไทยในยูทูบ) เลยไม่สามารถเขียนลงไปได้ชัดๆ ว่าเป็นที่ยอมรับได้ทั้งสองแบบ --Wap (พูดคุย) 20:13, 25 มีนาคม 2558 (ICT)