สรรพลี้หวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สรรพลี้หวน (อ่านว่า สับ-พะ-ลี้-หวน) เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นทางภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ สันนิษฐานกันว่าคงจะเป็นระหว่างสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะการประพันธ์ เป็นแบบ นิทานคำกลอน หรือ กลอนสุภาพหรือ กลอนแปดตามขนบนิยม เนื้อหาเป็นคำผวนเกี่ยวกับเรื่องเพศและอวัยวะเพศ มีเนื้อหาชวนให้ขบขันมากกว่าก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ มีความยาว 197 บท เนื้อหายังไม่จบสมบูรณ์

สรรพลี้หวนสำนวนเก่าพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 โดยขุนพรหมโลก (นามแฝง) ซึ่งผู้พิมพ์ให้ความเห็นไว้ว่า ผู้แต่งอาจเป็นชาวนครศรีธรรมราช แต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2425 - 2439 ต่อมามีผู้แต่งเลียนแบบขึ้นอีกหลายสำนวน ในหอพระสมุดเองมีหนังสือเรื่องหนึ่งชื่อ "ศัพท์ลี้หวน" ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน

คุณค่า[แก้]

  • เป็นแหล่งรวบรวมศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้
  • เป็นต้นแบบวรรณกรรมอื่นได้แก่ สรรพลี้หวนสำนวนยะลา สรรพลี้หวน'75 สรรพลี้หวนสำนวนใหม่ สรรพล้อด้วน
  • มีลักษณะใกล้เคียงกับบทหนังตะลุงร่วมสมัย อาจเคยใช้เล่นหนังตะลุงมาบ้างแล้วก็ได้

อ้างอิง[แก้]

  • "สรรพลี้หวน" ใน วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่ม 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2548.