ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:พระพรหมวชิรรังษี วิ. (จิรพล อธิจิตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมวชิรรังษี วิ.

(จิรพล อธิจิตฺโต)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 7 ประโยค
ศาสนศาสตรบัณฑิต ศน.บ. นักธรรมเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชาวันที่ 4 กรกฎาคม 2513
อุปสมบท8 มิถุนายน 2517
พรรษา50
ตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร ธรรมยุติ

พระพรหมวชิรรังษี วิ. ป.ธ.๗, ศน.บ. เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ 8 สืบต่อจากสมเด็จพระวันรัตน (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

ชาติภูมิ[แก้]

เกิดที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีนามเดิมว่าจิรพล พรหมทอง ที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 1 ต.น้ำขาว อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นบุตรของนายพริ้มและนางเกลื้อม พรหมทอง เป็นพระเถระด้านวิปัสนากรรมฐานที่มีความเรียบง่าย สันโดษ มีความสนใจทั้งด้านพระปริยัติธรรมและด้านวิปัสนากรรมฐาน โดยมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการเผยแผ่ด้านการวิปัสนากรรมฐานให้แก่ภิกษุสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา อย่างต่อเนื่อง และบุกเบิกพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร ณ คลองสามวา ไว้สำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติสำหรับพระภิกษุและฆราวาสที่เรียบง่ายและเงียบสงบ

ปฐมวัย[แก้]

ในวัยเยาว์ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มุ่งศึกษาอย่างจริงจังแต่ด้วยเห็นว่าวัดในต่างจังหวัดยังมีความไม่พร้อมในด้านการศึกษา จึงตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวงและได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2513 กระทั่งอายุครบบวชถึงได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2517 ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัฌาย์ พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเกษมวรคนี (บ่าว อรินฺทโม) วัดน้ำขาวนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ด้านการศึกษา[แก้]

นักธรรมเอก

♦ สอบไล่ได้เปรียญธรรม 7 ประโยค

♦ ปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

♦ รองแม่กองธรรมสนามหลวง

♦ ประธานอุปถัมถ์ศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร

ด้านการปกครอง[แก้]

♦ พ.ศ.2558 เป็น พระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ[1]

♦ พ.ศ.2559 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธ)[2]

♦ พ.ศ.2559 เป็น เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - จังหวัดสมุทรปราการ (ธ)[3]

♦ พ.ศ.2561 เป็น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร

♦ พ.ศ.2565 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ)[4]

♦ พ.ศ. 2566 เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ)[5]

♦ พ.ศ. 2566 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม [6]

สมณศักดิ์[แก้]

♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2540 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระโสภณคณาภรณ์[7]

♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2548 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวิสุทธิญาณ ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]

♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2558 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพสังวรญาณ ภาวนาวิธานดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]

♦ 5 มิถุนายน พ.ศ.2564 เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมสาธก วิปัสสนาวิธานดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]

♦ 6 มิถุนายน พ.ศ.2567 เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรรังษี ปรีชาศาสนกิจบริหาร ปฏิภาณธรรมสาธก วิปัสสนาวิธานดิลก ตรีปฎกวราลงกรณ์ ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร พระอารามหลวง[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการคณะสงฆ์ธรรมยุตให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ ประจำปี ๒๕๕๘
  2. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง รายงานการแต่งตั้ง พระเทพสังวรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
  3. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้ง พระเทพสังวรญาณ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
  4. "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 10/256 มติที่ 332/2565 เรื่อง รายงานการแต่งตั้ง พระธรรมวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร". มหาเถรสมาคม.
  5. "สมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้ง ' พระธรรมวชิรญาณ 'เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร". คมชัดลึก.
  6. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/13120.pdf
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๔, ตอนที่ ๒๖ ข, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๐, หน้า ๑๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๒ ข, ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙, หน้า ๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๒, ตอนที่ ๓๓ ข, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘, หน้า ๑
  10. "โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ 10 รูป". ไทยพีบีเอส.
  11. ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ พระธรรมวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร ขึ้นเป็น พระพรหมวชิรรังษี วิ.