ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดุสิตธานี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|||ดุสิตธานี (แก้ความกำกวม)}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
[[ไฟล์:วัดในดุสิตธานี.jpg|thumb|250px|เมืองดุสิตธานี]]
'''ดุสิตธานี''' เป็นเมืองจำลองรูปแบบระบอบประชาธิปไตย ที่[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงสร้างขึ้นเมื่อวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2461]] บริเวณ[[พระราชวังพญาไท]] ดุสิตธานีเป็นเมืองเล็ก ๆ มีเนื้อที่ 3 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณรอบ[[พระที่นั่งอุดร]] ใน[[พระราชวังดุสิต]] มีลักษณะเป็นเมืองเล็ก ๆ คล้ายเมืองตุ๊กตา มีขนาดพื้นที่ 1 ใน 20 เท่าของเมืองจริง ประกอบด้วย [[พระราชวัง]] [[ทำเนียบรัฐบาลไทย|ศาลารัฐบาล]] วัดวาอาราม สถานที่ราชการ โรงทหาร [[โรงเรียน]] [[โรงพยาบาล]] ตลาดร้านค้า [[ธนาคาร]] [[โรงละคร]] ประมาณเกือบสองร้อยหลัง เพื่อเป็นแบบทดลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มีพระธรรมนูญการปกครองลักษณะนัคราภิบาล ซึ่งเปรียบลักษณะของเมือง มีพรรคการเมือง 2 พรรค การเลืองตั้งนัคราภิบาล หรือนายกเทศมนตรี ''([[นายกรัฐมนตรีไทย|ตำแหน่งนี้ปัจจุบันเปรียบได้กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน]])'' และมีสภาการเมือง ''([[รัฐสภา|หรือรัฐสภาในปัจจุบัน]])'' แบบระบอบประชาธิปไตย

ต่อมาดุสิตธานีได้โตขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่มีที่จะสร้างบ้านเรือน พอดีกับเวลาที่จะสร้างพระราชฐานใหม่ที่[[พระราชวังพญาไท]]จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองทั้งเมืองไปตั้งที่บริเวณ[[พระราชวังพญาไท]] เมื่อเดือนธันวาคม [[พ.ศ. 2462]] ในจำนวนบ้านเล็ก ๆ นั้น มีศาลาว่าการมณฑลดุสิตธานี ''(ปัจจุบันเทียบเท่ากับศาลากลางจังหวัด)'' และมีนาคาศาลา ''(เทียบได้กับศาลากลางบ้านหรือศาลากลางชุมชน)'' ซึ่งมีความหมายว่า ศาลาของประชาชน เท่ากับว่าเป็นที่ตั้งสภาจังหวัด รัชกาลที่ 6 ทรงเป็นนาคาแห่งดุสิตธานีผู้หนึ่ง ทรงใช้พระนามแฝงว่า นายราม ณ กรุงเทพ ทรงเป็นทนายและทรงเป็น[[มรรคนายก]]วัดพระบรมธาตุ ทรงเป็นพระราชมุนี เจ้าอาวาสวัดธรรมธิปไตย และทรงแสดงพระธรรมเทศนาจริง ๆ ด้วย นอกจากนี้ทรงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องที่ดิน

== ที่มาและประวัติ ==
== ที่มาและประวัติ ==
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มโครงการเมืองทดลอง หรือ เมืองตุ๊กตานี้ ตั้งแต่สมัยที่ดำรงตำแหน่งองค์มกุฎราชกุมาร ประมาณกลางปี [[พ.ศ. 2446]] <ref name=":0">สรปุจากคณะกรรมการสัมมนาเรื่องดุสิตธานี, ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตย (พระนคร: หอสมุดแห่งชาติ, 2513), หน้า 22-46.</ref> ได้สร้างเมืองมัง นับได้ว่าเป็นเมืองดุสิตธานี สมัยที่หนึ่ง ณ พระตำหนักอัมพวา โดยทำเป็นเมืองขนาดเล็กเรียกว่า เมืองตุ๊กตา และเมืองมัง ก็ยุติลง เมื่อพระองค์ทรงผนวช เมื่อปี [[พ.ศ. 2448]]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มโครงการเมืองทดลอง หรือ เมืองตุ๊กตานี้ ตั้งแต่สมัยที่ดำรงตำแหน่งองค์มกุฎราชกุมาร ประมาณกลางปี [[พ.ศ. 2446]] <ref name=":0">สรปุจากคณะกรรมการสัมมนาเรื่องดุสิตธานี, ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตย (พระนคร: หอสมุดแห่งชาติ, 2513), หน้า 22-46.</ref> ได้สร้างเมืองมัง นับได้ว่าเป็นเมืองดุสิตธานี สมัยที่หนึ่ง ณ พระตำหนักอัมพวา โดยทำเป็นเมืองขนาดเล็กเรียกว่า เมืองตุ๊กตา และเมืองมัง ก็ยุติลง เมื่อพระองค์ทรงผนวช เมื่อปี [[พ.ศ. 2448]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:22, 2 ธันวาคม 2562

ที่มาและประวัติ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มโครงการเมืองทดลอง หรือ เมืองตุ๊กตานี้ ตั้งแต่สมัยที่ดำรงตำแหน่งองค์มกุฎราชกุมาร ประมาณกลางปี พ.ศ. 2446 [1] ได้สร้างเมืองมัง นับได้ว่าเป็นเมืองดุสิตธานี สมัยที่หนึ่ง ณ พระตำหนักอัมพวา โดยทำเป็นเมืองขนาดเล็กเรียกว่า เมืองตุ๊กตา และเมืองมัง ก็ยุติลง เมื่อพระองค์ทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ. 2448

ต่อมาเมื่อพระองค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทรงทดลองวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบเมืองมังอีกครั้งหนึ่ง โดยทรงสร้างเป็นเรือนแถวขึ้นตลอดแนวกำแพงที่กั้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐานกับวังปารุสกวันเก่า โดยทรงสมมุติว่าเป็นหมู่บ้านและสมมุติให้มหาดเล็กเป็นเจ้าของบ้าน มีลักษณะการบริหารแบบนี้ว่า นคราภิบาล (ตำแหน่งนี้ปัจจุบันเปรียบได้กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีในปัจจุบัน) นับได้ว่าเป็นดุสิติธานีสมัยที่ 2 ของสยามประเทศ

ภายหลังการเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 2453 ก็ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย จึงทำให้โครงการเมืองทดลองชะงักไปชั่วคราว จนในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ก็ได้ทรงสร้างเมืองดุสิตธานีขึ้นต่ออีก [1]

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทวยนาครดุสิตธานีมาประชุม เพื่อการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญในคราวนี้ พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ได้รับเลือกเป็นนคราภิบาลอย่างถูกต้องเป็นคนแรก และป็นการเลือกเป็นครั้งที่สอง

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

นอกจากนี้ในเมืองดุสิตธานีมีการออกหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์ และเสนอข่าวในเมืองจำลอง เพื่อเพียรพยายามปลูกฝังหัดการปกครองระบอบรัฐสภา กระนั้นก็ตามมีผู้วิจารณ์ว่า การสร้างเมืองจำลองดุสิตธานี เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เหมือนกับทรงเล่นละครเรื่องอื่น พระองค์ทรงหาได้ตั้งใจที่จะก่อตั้งรูปการปกครองแบบประชาธิปไตยที่จะก่อตั้งรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยอย่างจริงจังไม่ สถานการณ์ช่วงนั้น นับวันผู้ที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลาหลายคนมีความเห็นและให้ทัศนะไปในทางเดียวกันว่า การปกครองระบอบราชาธิปไตย ที่องค์พระมหากษัตริย์ใช้ในทางนิติบัญญัติ ใช้ในทางบัญญัติ ใช้ในทางบริหารและใช้ในทางตุลาการแต่พระองค์เองนั้น เป็นการพ้นสมัยเสียแล้ว ไม่อาจพารัฐก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็นไป โดยกลุ่มคนยุคใหม่ (ในสมัยนั้น) ได้ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ประเทศฝรั่งเศส ได้เกิดการปฏิวัติใหญ่ เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ราชาธิราช ในปี ค.ศ. 1689 เป็นต้น แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในเอเชียด้วยกันก็ยังมีการเปลี่ยนแปลง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สรปุจากคณะกรรมการสัมมนาเรื่องดุสิตธานี, ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตย (พระนคร: หอสมุดแห่งชาติ, 2513), หน้า 22-46.

แหล่งข้อมูลอื่น