ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จตุสดมภ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''จตุสดมภ์''' (เกิดจากคำบาลี "จตุ" หมายถึง สี่ และสันสกฤต สฺตมฺภ หมายถึง หลัก รวมหมายถึง "หลักสี่")<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542] คำค้น "จตุสดมภ์"</ref> เป็นคำที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ใช้เรียกระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น<ref>โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. '''การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ'''. หน้า 5.</ref> โดยมีระบุว่าเป็นแนวคิดที่รับเอามาจากขอม<ref>[http://www.sukhothai.go.th/history/hist_04.htm การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน]. สืบค้น 2-5-2554.</ref> ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]อันเป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้มาจนถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]นั้น มีลักษณะเป็นแบบ "นายกรัฐมนตรี 2 คน" มากกว่า<ref>โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. '''การเมืองการปกครองของไทย:หลายมิติ'''. หน้า 8.</ref>
'''จตุสดมภ์''' (เกิดจากคำบาลี "จตุ" หมายถึง สี่ และสันสกฤต สฺตมฺภ หมายถึง หลัก รวมหมายถึง "หลักสี่")<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542] คำค้น "จตุสดมภ์"</ref> เป็นคำที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ใช้เรียกระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น<ref>โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. '''การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ'''. หน้า 5.</ref> โดยมีระบุว่าเป็นแนวคิดที่รับเอามาจากขอม<ref>[http://www.sukhothai.go.th/history/hist_04.htm การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน]. สืบค้น 2-5-2554.</ref> ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]อันเป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้มาจนถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]นั้น มีลักษณะเป็นแบบ "นายกรัฐมนตรี 2 คน" มากกว่า<ref>โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. '''การเมืองการปกครองของไทย:หลายมิติ'''. หน้า 8.</ref>


== สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) ==
== สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง)..... ==
จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 กรม มีหัวหน้าเรียกว่า ขุน ฐานะเทียบเท่าเสนาบดี แบ่งออกเป็น
จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 กรม มีหัวหน้าเรียกว่า ขุน ฐานะเทียบเท่าเสนาบดี แบ่งออกเป็น
# '''กรมเวียง''' ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรและความทุกข์สุขของราษฎร ปราบปรามโจรผู้ร้าย ตัดสินคดีร้ายแรง
# '''กรมเวียง''' ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรและความทุกข์สุขของราษฎร ปราบปรามโจรผู้ร้าย ตัดสินคดีร้ายแรง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:08, 23 กรกฎาคม 2562

จตุสดมภ์ (เกิดจากคำบาลี "จตุ" หมายถึง สี่ และสันสกฤต สฺตมฺภ หมายถึง หลัก รวมหมายถึง "หลักสี่")[1] เป็นคำที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพใช้เรียกระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น[2] โดยมีระบุว่าเป็นแนวคิดที่รับเอามาจากขอม[3] ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอันเป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีลักษณะเป็นแบบ "นายกรัฐมนตรี 2 คน" มากกว่า[4]

สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง).....

จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 กรม มีหัวหน้าเรียกว่า ขุน ฐานะเทียบเท่าเสนาบดี แบ่งออกเป็น

  1. กรมเวียง ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรและความทุกข์สุขของราษฎร ปราบปรามโจรผู้ร้าย ตัดสินคดีร้ายแรง
  2. กรมวัง ทำหน้าที่ดูแลพระมหากษัตริย์และกิจการในพระราชสำนักและพิพากษาคดีให้ราษฎร
  3. กรมคลัง ทำหน้าที่ติดต่อการค้าขายกับต่างประเทศ การจัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรและรายได้ของแผ่นดิน
  4. กรมนา ทำหน้าที่ดูแลการทำมาหากินและการประกอบอาชีพของราษฎรและเก็บรักษาเสบียงอาหารเพื่อใช้ในยามศึกสงคราม

สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ต่อมาสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการจัดตั้งกรมขึ้นสองกรม ได้แก่ กรมมหาดไทย ซึ่งดูแลกิจการพลเรือน โดยมีสมุหนายกเป็นอัครเสนาบดีดูแล และกรมกลาโหม ซึ่งดูแลกิจการทหาร โดยมีสมุหพระกลาโหมดูแล จตุสดมภ์นั้นให้มาขึ้นกับกรมมหาดไทย แล้วมีการเปลี่ยนชื่อและเพิ่มหน้าที่[5]

  1. กรมเวียง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมามพระนครบาล มีพระยายมราชเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร ดับเพลิงในพระนคร และตัดสินคดีความร้ายแรง
  2. กรมวัง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาศรีสุริยวงศ์อัครมหาอุดมบรมวงษาธิบดี หรือพระยาธรรมาธิบดีเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ดูแลงานในพระราชสำนัก งานธุรการ ตัดสินคดีความ และแต่งตั้งยกกระบัตรไปดูแลหัวเมืองต่าาๆ
  3. กรมคลัง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมโกษาธิบดี มีพระยาศรีธรรมราชเดชาชาติอำมาตยานุชาติพิพัทรัตนราชโกษาธิบดี หรือเรียกสั้นว่า พระยาโกษาธิบดี เป็นเสนาบดี ทำหน้าที่เกี่ยวกับพระราชทรัพย์ การค้ากับต่างประเทศ บัญชีวัสดุและอาวุธของราชการ พระคลังหลวง การรับรองทูตต่างประเทศ และการตัดสินคดีความของคนต่างชาติ
  4. กรมนา เปลี่ยนชื่อเป็น กรมเกษตราธิการ มีพระยาพลเทพราชเสนาบดีเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ตรวจตราและส่งเสริมการทำนา เก็บข้าวไว้เป็นเสบียงยามสงคราม ตัดสินคดีความเกี่ยวกับที่นา ออกกรรมสิทธิ์ที่นาแก่ราษฎร

นอกจากนี้ ในภายหลังยังเพิ่มกรมให้ขึ้นอยู่กับกรมทั้งสี่นี้ด้วย

อ้างอิง

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คำค้น "จตุสดมภ์"
  2. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 5.
  3. การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน. สืบค้น 2-5-2554.
  4. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองของไทย:หลายมิติ. หน้า 8.
  5. ลักษณะการปกครองกรุงศรีอยุธยา

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Bhawan Ruangsilp. “The Phrakhlang Ministry of Ayutthaya: Siamese Instrument to Cope with the Early Modern World.” in Ooi Keat Gin and Hoàng Anh Tuấn (Eds.), Early Modern Southeast Asia, 1350-1800. New York, NY: Routledge, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น