พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัณฏิ

พิกัด: 7°17′41″N 80°38′27″E / 7.29472°N 80.64083°E / 7.29472; 80.64083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัณฏิ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัณฏิ
แผนที่
ก่อตั้ง1942
ที่ตั้งกัณฏิ ประเทศศรีลังกา
พิกัดภูมิศาสตร์7°17′41″N 80°38′27″E / 7.29472°N 80.64083°E / 7.29472; 80.64083
ประเภทประวัติศาสตร์
ผู้อำนวยการK. D. V. Chandimal
เว็บไซต์เว็บไซต์กรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัณฏิ (สิงหล: මහනුවර ජාතික කෞතුකාගාරය; ทมิฬ: கண்டி தேசிய நூதனசாலை) เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในกัณฏิ ประเทศศรีลังกา ตั้งอยู่ติดกันกับวัดพระเขี้ยวแก้ว เป็นส่วนหนึ่งของอดีตพระราชวังหลวงกัณฏิ นิทรรศการหลักของพิพิธตั้งอยู่ในอาคาร Palle Vahala ซึ่งในอดีตใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนางบำเรอของกษัตริย์ นิทรรศการส่วนที่สองตั้งอยู่ในอาคารที่อดีตเป็นพระราชวังหลวง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[1]

อาคาร Palle Vahala หรือ Meda Vahala[2][3] สร้างขึ้นในสมัยของศรีวิกรมราชสิงห์ และใช้งานเป็นส่วนที่พำนักของราชินีของกษัตริย์แห่งกัณฏิ[4] อาคารนี้ต่อมาถูกใช้งานเป็นที่เก็บรักษาวัตถุและงานศิลปะของสมาคมศิลปะกัณฏิซึ่งตั้งขึ้นในปี 1882 พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมสู่สาธารณะในปี 1942

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มีวัตถุโบราณจัดแสดงมากกว่า 5,000 ชิ้น ซึ่งรวมถึงอาวุธ เครื่องประดับ เป็นต้น โดยมาจากสมัยอาณาจักรกัณฏิ (ศตวรรษที่ 17–19) และในยุคหลังอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งรวมถึสนธิสัญญาปี 1815 ฉบับคัดลอก ในอาณาเขตของพิพิธภัณฑ์ยังมีรูปปั้นของเซอร์เฮนรี วาร์ด อดีตผู้ว่าการซีลอน (1855–1860) รูปปั้นนี้เดิมทีตั้งอยู่ที่ควีนส์โฮเต็ล

อ้างอิง[แก้]

  1. "National Museum, Kandy". Department of National Museums. สืบค้นเมื่อ 25 May 2015.
  2. Wimaladharma, Kapila P. (2003). Women in the Kandyan Kingdom of the Seventeenth Century Sri Lanka: A Study in the Application of Gender Theory in Historical Analysis. Varuni Publishers. p. 121. ISBN 9789555660013.
  3. "Journal of the Royal Asiatic Society of Sri Lanka". 45–46. Colombo: Royal Asiatic Society of Sri Lanka. 2000: 110–111. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. Seneviratna, Anuradha (1983). Kandy: An Illustrated Survey of Ancient Monuments with Historical, Archaeological and Literary Descriptions including maps of the City and its suburbs. Central Cultural Fund, Ministry of Cultural Affairs. p. 79.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]