พิธีสารนาโงยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีสารนาโงยะ
พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมเพื่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
  ประเทศที่ลงนาม
  ประเทศที่ลงนามโดยไม่มีเจตนาให้สัตยาบัน
  ประเทศที่ไม่ได้ลงนามแต่เป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
  ประเทศที่ไม่ได้ลงนามและไม่ได้เป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
นอกจากสมาชิกรัฐที่หลากหลาย สหภาพยุโรปยังเป็นสมาชิกของพิธีสารด้วย (ไม่ได้อยู่ในแผนภาพ)
ประเภทสิ่งแวดล้อม
วันลงนาม29 ตุลาคม ค.ศ. 2010
ที่ลงนามนาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น
วันมีผล12 ตุลาคม ค.ศ. 2014
เงื่อนไข50 รัฐให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
ผู้ลงนาม92
ภาคี128
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษาอาหรับ, จีนแมนดาริน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และสเปน

พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมเพื่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือที่รู้จักกันในชื่อ พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและการแบ่งปันผลประโยชน์ (อังกฤษ: Nagoya Protocol on Access and Benefit Sharing) เป็นความตกลงเพิ่มเติมใน ค.ศ. 2010 ต่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity; CBD) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทำให้วัตถุประสงค์หนึ่งจากสามของอนุสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเสมอภาคอันเกิดจากการใช้แหล่งทรัพยากรพันธุกรรมโดยการอนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พิธีสารนาโงยะกำหนดพันธะสภาพของประเทศที่ลงนามในการวางมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม การแบ่งปันผลประโยชน์ และการร่วมมือต่อพิธีสาร

พิธีสารนาโงยะมีมติเห็นชอบในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ในนาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2014 จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 มี 128 กว่าภาคีรวมถึงรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 127 รัฐ และสหภาพยุโรปที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารฯ

มีการแสดงข้อกังวลว่าการเพิ่มความเป็นอำมาตยาธิปไตย และการตรากฎหมายอาจสร้างความเสียหายในการควบคุมดูแล การอนุรักษ์และการรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ, ในการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้ออย่างเป็นสากล และการวิจัย[1][2]

เป้าหมายและขอบเขต[แก้]

พิธีสารนาโงยะมีผลต่อแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้แหล่งทรัพยากรนั้น พิธีสารฯ ยังครอบคลุมถึงความรู้ตามธรรมเนียมประเพณีซึ่งเกี่ยวเนื่องกับแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและผลประโยชน์ที่ได้จากความรู้ดังกล่าวด้วย

เป้าหมายของพิธีสารฯ คือการริเริ่มทำให้วัตถุประสงค์หนึ่งจากสามของอนุสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเสมอภาคอันเกิดจากการใช้แหล่งทรัพยากรพันธุกรรมโดยการอนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน[3]

การเห็นชอบและการให้สัตยาบัน[แก้]

พิธีสารนาโงยะมีมติเห็นชอบในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ในนาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น ที่การประชุมภาคีครั้งที่ 10 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 ถึง 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010[4] และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2014

จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 มี 128 กว่าภาคีรวมถึงรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 127 รัฐ และสหภาพยุโรปที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารฯ[5]

พันธสภาพ[แก้]

พิธีสารนาโงยะสร้างข้อผูกมัดต่อประเทศที่ลงนามในการวางมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม การแบ่งปันผลประโยชน์ และการร่วมมือต่อพิธีสาร

ข้อผูกมัดด้านการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร[แก้]

มาตรการระดับภายในประเทศมีจุดมุ่งหมายใน:

  • การสร้างความแน่นอน, ความชัดเจน, และความโปร่งใส
  • การกำหนดกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีการที่ยุติธรรมและไม่ถือพลการ ในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม
  • การวางกฎและขั้นตอนที่ชัดเจนสำหรับคำยินยอมที่แจ้งล่วงหน้าและข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้
  • การออกเอกสารอนุญาตหรือเอกสารเทียบเท่าในเวลาเข้าถึง
  • การมอบการประกันใบอนุญาตหรือสิ่งอื่นที่เทียบ
  • การสร้างเงื่อนไขเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นงานวิจัยที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
  • การให้ความสนใจต่อข้อเท็จจริงทั้งปวงแก่ กรณีของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ใกล้จะเกิดขึ้นซึ่งคุกคามหรือทำลายสุขภาพมนุษย์ สัตว์ หรือพืช
  • การพิจารณาความสำคัญของทรัพยากรพันธุกรรมเพื่ออาหารและการเกษตรเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร

ข้อผูกมัดด้านการแบ่งปันผลประโยชน์[แก้]

มาตรการระดับภายในประเทศด้านการแบ่งปันผลประโยชน์มีจุดมุ่งหมายในการมอบการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ยุติธรรมและเท่าเทียมเพื่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพกับภาคีที่ลงนามซึ่งมอบทรัพยากรพันธุกรรมดังกล่าว การใช้ทรัพยากรนั้นรวมถึงการวิจัยและการพัฒนาองค์ประกอบทางพันธุกรรมหรือทางชีวเคมีของทรัพยากรพันธุกรรม, การประยุกต์ใช้ในภายหลัง และการทำให้เป็นธุรกิจ (commercialization) การแบ่งปันนั้นเป็นเรื่องของข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้แล้ว และผลประโยชน์นั้นอาจเกี่ยวข้องกับเงินหรือไม่ก็ได้ เช่น ค่าสิทธิ (royalties) และการแบ่งปันผลการวิจัย

ข้อผูกมัดด้านการร่วมมือ[แก้]

ข้อผูกมัดจำเพาะในการพัฒนาด้านการร่วมมือผ่านการตรากฎหมายในระดับประเทศหรือการออกข้อบังคับควบคุมของภาคีในการมอบทรัพยากรพันธุกรรม และข้อผูกมัดด้านสัญญาที่สะท้อนในข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้นั้นเป็นสาระสำคัญของพิธีสารนาโงยะ

สมาชิกภาคีจะต้อง:

  • วางมาตรการว่าทรัพยากรพันธุกรรมจะต้องใช้และเข้าถึงภายในขอบเขตอำนาจศาลโดยสอดคล้องกับคำยินยอมที่แจ้งล่วงหน้าและข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้ได้ถูกกำหนดซึ่งถูกร้องขอโดยสมาชิกภาคีอื่น
  • ร่วมมือในคดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดข้อกำหนดของสมาชิกภาคีอื่น
  • ส่งเสริมข้อบังคับในสัญญาว่าด้วยการยุติข้อพิพาทในข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้
  • ให้ความมั่นใจในโอกาสอันเปิดรับการขอความช่วยเหลือภายใต้กลไกกฎหมายเมื่อเกิดข้อพิพาทจากข้อตกลงร่วม (Mutually Agreed Terms; MAT)
  • วางมาตรการเกี่ยวกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
  • ควบคุมการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมหลังจากที่ออกจากประเทศโดยการกำหนดจุดตรวจปฏิบัติงานในทุก ๆ ห่วงโซ: การวิจัย, การพัฒนา, การคิดค้น, การก่อนการทำให้เป็นธุรกิจ (pre-commercialization) หรือ การทำให้เป็นธุรกิจ

ข้อวิจารณ์[แก้]

อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลว่าการเพิ่มความเป็นอำมาตยาธิปไตย และการตรากฎหมายอาจสร้างความเสียหายในการควบคุมดูแลโดยภาพรวม การอนุรักษ์และการรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ, ในการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้ออย่างเป็นสากล และการวิจัย[6][2][7]

นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้แสดงข้อกังวลต่อพิธีสารถึงการเพิ่มขึ้นของข้อบังคับที่เข้มงวดและการมีขั้นตอนมากเกินไปจะขัดขวางการป้องกันโรคและการอนุรักษ์[1] อีกทั้งการคุกคามนักวิทยาศาสตร์ด้วยการกักขังจะส่งผลอย่างมากต่อการวิจัยต่อไป[6][7] นักวิจัยและสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่เชิงพาณิชย์อย่างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) กังวลว่าการเปิดกิจการพิพิธภัณฑ์สัตว์และพืชทะเลต่อไปและการแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันจะทำได้ยากขึ้น[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Prathapan, K. Divakaran; Pethiyagoda, Rohan; Bawa, Kamaljit S.; Raven, Peter H.; Rajan, Priyadarsanan Dharma (2018). "When the cure kills—CBD limits biodiversity research". Science. 360 (6396): 1405–1406. Bibcode:2018Sci...360.1405P. doi:10.1126/science.aat9844. PMID 29954970. S2CID 206667464. สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
  2. 2.0 2.1 2.2 Watanabe, Myrna E. (June 2015). "The Nagoya Protocol on Access and Benefit Sharing—International treaty poses challenges for biological collections". BioScience. pp. 543–550. doi:10.1093/biosci/biv056.[ลิงก์เสีย]
  3. "Nagoya Protocol". 9 June 2015.
  4. "Strategic Plan for Biodiversity 2011-2020, including Aichi Biodiversity Targets". Convention on Biological Diversity. 21 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  5. "Parties to the Nagoya Protocol". Convention on Biological Diversity. 1 January 1970. สืบค้นเมื่อ 10 December 2020.
  6. 6.0 6.1 Cressey, Daniel (2014). "Biopiracy ban stirs red-tape fears". Nature. 514 (7520): 14–15. Bibcode:2014Natur.514...14C. doi:10.1038/514014a. PMID 25279894. S2CID 4457904.
  7. 7.0 7.1 "A plea for open science on Zika". www.sciencemag.org. สืบค้นเมื่อ 2016-04-02.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]