พิต-ไฟเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิต-ไฟเตอร์
ผู้พัฒนาอาตาริเกมส์
ผู้จัดจำหน่ายอาร์เคด
บ้าน
ออกแบบแกรี สตาร์ก
มาร์ก เพียร์ซ
โปรแกรมเมอร์แกรี สตาร์ก
พอล กวิน
ศิลปินร็อบ โลว์
แต่งเพลงจอห์น พอล
เครื่องเล่นอาร์เคด, อามิกา, แอมสตรัด ซีพีซี, อาตาริ เอสที, คอมโมดอร์ 64, เอ็มเอส-ดอส, เกมบอย, ลิงซ์, มาสเตอร์ซิสเตม, เจเนซิส, ซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, แซดเอกซ์ สเปกตรัม
วางจำหน่าย
แนวต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นสูงสุด 3 คนพร้อมกัน
ระบบอาร์เคดอาตาริ จี1 ฮาร์ดแวร์

พิต-ไฟเตอร์ (อังกฤษ: Pit-Fighter) เป็นเกมต่อสู้อาร์เคด ค.ศ. 1990 โดยบริษัทอาตาริเกมส์ซึ่งใช้นักแสดงสดแบบดิจิทัล[3] และเป็นเกมต่อสู้เกมแรกของบริษัทอาตาริ[2] ทั้งนี้ เกมอาร์เคดของญี่ปุ่นได้รับการเผยแพร่โดยบริษัทโคนามิ ส่วนเวอร์ชันบ้านเผยแพร่โดยบริษัทเท็งเง็ง

แอนิเมชันกราฟิกสำหรับตัวละครของผู้เล่นและคู่ต่อสู้ได้รับการสร้างขึ้นผ่านกระบวนการบลูสกรีน โดยนักแสดงตัวจริงจะทำการโพสท่าและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่หน้ากล้องวิดีโอ ส่วนแอนิเมชันตัวละครบนหน้าจอของเกมเป็นการเล่นซ้ำของฟุตเทจจริง ไม่ใช่แอนิเมชันแบบโรโตสโคป (วาดใหม่) ทั้งนี้ พิต-ไฟเตอร์ เป็นเกมต่อสู้เกมที่สองที่ใช้สไปรต์การดิจิไทซ์ ต่อจากเรไกโดชิ: ไชนีสเอกซอซิสต์ ของบริษัทโฮมเดทา

รูปแบบการเล่น[แก้]

รูปแบบการเล่นคล้ายกับไวโอเลนซ์ไฟต์ของบริษัทไทโต และสตรีตสมาร์ตของบริษัทเอสเอ็นเค ผู้เล่นจะต้องต่อยและเตะคู่ต่อสู้จนกว่าพลังงานจะหมด หากผู้เล่นกดปุ่มทั้งสามปุ่มพร้อมกัน ตัวละครจะใช้ "ท่าพิเศษ" ทั้งนี้ ผู้เล่นเริ่มต้นด้วยการเลือกหนึ่งในสามตัวละครที่สามารถเล่นได้ ซึ่งแต่ละคนมีการเคลื่อนไหว, ความเร็ว และพลังที่แตกต่างกัน โดยสามารถเล่นได้สูงสุดสามคนในแต่ละครั้ง แต่จะมีคู่ต่อสู้พิเศษให้ต่อสู้ในระหว่างการแข่ง 15 แมตช์ที่แตกต่างกันของเกม

ทุก ๆ ไฟต์ที่สามจะเป็นยกโบนัสที่เรียกว่ากรัดจ์แมตช์[4] ซึ่งในกรัดจ์แมตช์ ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับร่างโคลนที่ควบคุมโดยซีพียูของนักสู้หากเล่นคนเดียว หรือปะทะกับผู้เล่นคนอื่นในเกมหลายผู้เล่น การถูกน็อกลงสามครั้งจะทำให้ผู้เล่นออกจากกรัดจ์แมตช์ และผู้ชนะคือคนสุดท้ายที่ยืนอยู่ ส่วนการแพ้กรัดจ์แมตช์ไม่ได้ขับไล่ผู้เล่น แต่ผู้ชนะจะได้รับเงินโบนัส

สำหรับ "แชมเปียนชิปแมตช์" เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้เล่นกับบุคคลลึกลับที่เยาะเย้ยระหว่างการแข่งเป็นระยะ ซึ่งคือแมสด์วอร์ริเออร์ โดยหากมีผู้เล่นมากกว่าหนึ่งคนก่อนการแข่งครั้งนี้ พวกเขาจะต้องต่อสู้กันจนตาย จนกว่าจะมีผู้ชนะเพียงคนเดียวและสามารถต่อสู้กับเขาได้

นอกจากนี้ ฝูงชนสามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการโจมตี, ทิ้งอาวุธที่ใช้งานได้ หรือผลักผู้เล่นที่หลงทางกลับเข้าสู่การต่อสู้ ส่วนเพาเวอร์อัป "ยาเม็ดเพิ่มพลัง" ทำให้ผู้เล่นแข็งแกร่งขึ้นชั่วคราว และรับความเสียหายจากการโจมตีน้อยลง

ตัวละคร[แก้]

พิต-ไฟเตอร์ มี 3 นักสู้ที่สามารถเล่นได้ ได้แก่:

พิต-ไฟเตอร์ มีฝ่ายตรงข้ามที่ไม่สามารถเล่นได้ 8 คน ซึ่งตัวละครหลายตัวมีชื่อนักแสดงที่รับบท:[3]

  • เอกซ์คิวชันเนอร์ (จอห์น อาไกวร์)[8]
  • เซาธ์ไซด์ จิม (เจมส์ ธอมป์สัน)[9]
  • เอนเจิล (แองเจลา สเตลลาโต)[10]
  • ซี.ซี. ไรเดอร์ (ริช วาร์กัส)[11]
  • แมด ไมลส์ (ไมลส์ แม็คโกแวน)[12]
  • เฮฟวีเมทัล (คิม โรดส์)[13]
  • เชนแมน เอ็ดดี (เอ็ดดี เบนันซิโอ)[14]
  • แมสด์วอร์ริเออร์ (บิล แมคอะลีนัน)[15]

คนอื่น ๆ:

  • ไนฟ์วูแมน (ไดแอน แบร์ตุชชี)[16]
  • ไนฟ์แมน (มิลต์ โลเปอร์)[17]
  • ฟันาลีวูแมน (ทีนา ไซเรเตอร์)[18]
  • ฟันาลีวูแมน (มาเรีย เลนิตซกี)[19]
  • บิ๊กคิดอินเดอะคราวด์ (เกเบรียล โครา)[20]
  • คราวด์ (ร็อบ โรว์)[21]

การตลาด[แก้]

ใน ค.ศ. 1991 มีเวอร์ชันของเกมวางจำหน่ายสำหรับซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, เมกาไดรฟ์/เจเนซิส, มาสเตอร์ซิสเตม, อามิกา, แอมสตรัด ซีพีซี, อาตาริ เอสที, คอมโมดอร์ 64, เอ็มเอส-ดอส, และแซดเอกซ์ สเปกตรัม ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 เวอร์ชันสเปกตรัมได้รับการเผยแพร่โดยเป็นส่วนหนึ่งของเกมรวมซูเปอร์ไฟเตอร์ ร่วมกับไฟนอลไฟต์ และดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเมเนีย[22] อนึ่ง เวอร์ชันซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมขาดผู้ชมแบบโต้ตอบ, อาวุธ และตัวละครสามตัว ได้แก่: เซาธ์ไซด์ จิม, เฮฟวีเมทัล และแมด ไมลส์

เวอร์ชันพกพาเปิดตัวสำหรับอาตาริลิงซ์และเกมบอยใน ค.ศ. 1992 ส่วนบริษัทไทเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้เปิดตัวเวอร์ชันพกพาเฉพาะของตัวเอง[23][24]

นอกจากนี้ เกมอาร์เคดเวอร์ชันโปรแกรมเลียนแบบอยู่ในมิดเวย์อาร์เคดเทรเซอส์ 2 สำหรับเกมคิวบ์, เพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์ รวมถึงและในมิดเวย์อาร์เคดเทรเซอส์ดีลักซ์อิดิชัน (ค.ศ. 2006) สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ซึ่งเวอร์ชันนี้เดินเครื่องด้วยความเร็วที่เร็วกว่าเกมอาร์เคดดั้งเดิม ตลอดจนพิต-ไฟเตอร์ ได้รวมอยู่ในมิดเวย์อาร์เคดออริจินส์เมื่อ ค.ศ. 2012[25]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์90 เปอร์เซ็นต์ (อาร์เคด)[26]
นินเท็นโดเพาเวอร์กราฟิกและเสียง: 2.5; การควบคุม: 2; ความท้าทาย: 2; ธีมและความสนุก: 2.5 (ซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)
เมกาเทค80 เปอร์เซ็นต์ (เมกาไดรฟ์)[27]
ยัวร์ซินแคลร์28 เปอร์เซ็นต์ (แซดเอกซ์ สเปกตรัม)

บริษัทอาตาริได้ขายเฉพาะอาร์เคดกว่า 8,000 เครื่องทั่วโลก ซึ่งรวมถึง 5,500 เครื่องในทวีปอเมริกาเหนือและ 1,000 เครื่องในทวีปยุโรป[1] และ 1,500 เครื่องในประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัทโคนามิ นอกจากนี้ มีรายงานว่ามีการสร้างและขายสำเนาละเมิดลิขสิทธิ์มากกว่า 10,000 ชุดในประเทศเกาหลีใต้ โดยมีการขายชุดเพิ่มเติมจำนวนมาก (เฉพาะพีซีบี)

ในทวีปอเมริกาเหนือ เกมนี้ได้เป็นตู้อาร์เคดตั้งตรงงที่ทำรายได้สูงสุดในชาร์ตรีเพลย์อาร์เคดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990[28] และรายได้จากการหยอดเหรียญรายสัปดาห์เฉลี่ยอยู่ที่ 413.75 ดอลลาร์ต่อหน่วยอาร์เคดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 1990[29] ส่วนในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1991 ระบุว่าพิต-ไฟเตอร์ เป็นหน่วยอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จสูงสุดอันดับเจ็ดของเดือน[30]

จูเลียน ริกนอล จากนิตยสารคอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์ให้คะแนนเวอร์ชันอาร์เคดนี้ที่ 90 เปอร์เซ็นต์ โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "เกมบีตเอ็มอัปที่สนุกสุดเหวี่ยงซึ่งอัดแน่นไปด้วยพลัง" และ "หนึ่งในเกมต่อสู้อาร์เคดที่สนุกที่สุดในระยะเวลาอันยาวนาน"[26] ส่วนนิตยสารแซป!64 ให้คำวิจารณ์เชิงลบแก่เกมนี้มากกว่า โดยกล่าวเกมนี้ว่าเป็นเกม "เกมบีตเอ็มอัปที่ต่อต้านช่วงสำคัญสุดยอด" และเขียนว่าโหมดแสดงตัวอย่างเป็นส่วนที่ดีที่สุดของเกม พวกเขาติเตียนเฟรมอนิเมชันที่จำกัดและเปรียบเทียบกับเดอะคอมบาไทรส์ และไฟนอลไฟต์อย่างไม่พึงใจ[31]

ส่วนเดวิด วิลสัน จากนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์พอใจเวอร์ชันอามิกา โดยระบุว่า "เป็นเกมอาร์เคดที่ได้เทเลพอร์ต" และสรุปว่าเกมนี้ "นำเสนอตัวเลือกสำหรับผู้เล่นสองคนที่ขาดหายไปในเกมต่อสู้หลาย ๆ เกม และมีความชุลมุนวุ่นวายเพียงพอสำหรับเกมเมอร์ที่มีความรุนแรงที่สุด"[32]

ด้านจอร์จและร็อบได้วิจารณ์เวอร์ชันซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมในนิตยสารนินเท็นโดเพาเวอร์[33] โดยจอร์จแสดงความคิดเห็นว่าเกมนี้ "ควบคุมยากมาก" และร็อบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกราฟิกที่ใช้คนแปลงเป็นดิจิทัล โดยระบุว่า "มันไม่สำคัญว่าจะใช้เทคโนโลยีใหม่หรือไม่ คำถามคือ "เกมนี้สนุกไหม" และฉันคิดว่าคำตอบในกรณีนี้คือ "ไม่""[33] ซึ่งร็อบและจอร์จให้คะแนนกราฟิกและเสียงที่ 2.5, การควบคุมที่ 2, ความท้าทายที่ 2 ตลอดจนธีมและความสนุกที่ 2.5

อนึ่ง นิตยสารเมกาเทคให้คะแนนเวอร์ชันเมกาไดรฟ์ที่ 80 เปอร์เซ็นต์[34] ขณะที่นิตยสารเมกาได้จัดอันดับเวอร์ชันเมกาไดรฟ์ไว้อันดับที่ 27 สำหรับเกมเมกาไดรฟ์ยอดนิยมตลอดกาล[35]

ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 นิตยสารยัวร์ซินแคลร์ได้ให้คะแนนเวอร์ชันแซดเอกซ์ สเปกตรัม ที่ 28 เปอร์เซ็นต์[22]

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

นิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลีและนิตยสารเกมโปรได้มีตัวอย่างภาคต่อที่วางแผนไว้ในชื่อพิตไฟเตอร์ II โดยบริษัทเท็งเง็ง ซึ่งเดิมทางนิตยสารอ้างว่าสร้างเสร็จแล้วกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ และจะวางจำหน่ายสำหรับเซกา เจเนซิส ในไตรมาสที่สี่ของ ค.ศ. 1993[36][37]

โดยตัวละครอย่างคาโต, บัซ และไท ได้กลับมาพร้อมกับนักสู้ใหม่ที่เลือกได้สามคน ได้แก่: คอนเนอร์ (แชมป์คาราเต้), ทานยา (ราชินีโรลเลอร์) และชีฟ (อดีตบอดีการ์ด) ซึ่งนักสู้ใหม่เหล่านั้นยังเป็นตัวละครสามตัวที่สามารถเล่นได้ในเกมที่ตามมาของบริษัทอาตาริอย่างการ์เดียนส์ออฟเดอะฮูด ตลอดจนมีภาพที่แสดงนักสู้ซีพียูสองตัว ได้แก่ เฮลกา (ด่าน 1) และเจย์-เจย์ (ด่าน 2)[36]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Production Numbers" (PDF). Atari Games. August 31, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-10. สืบค้นเมื่อ April 19, 2021.
  2. 2.0 2.1 "News Digest". RePlay. Vol. 15 no. 12. September 1990. p. 23.
  3. 3.0 3.1 "Pit-Fighter (Video Game 1990)". IMDb.
  4. "Pit-Fighter". MobyGames. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  5. "Bill Chase". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  6. "Marc D. Williams". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  7. "Glenn Fratticelli". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  8. "John Aguire". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  9. "James Thompson". IMDb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  10. "Angela Stellato". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  11. "Rich Vargas". IMDb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  12. "Miles McGowan". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  13. "Kim Rhodes". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  14. "Eddie Venancio". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  15. "Bill McAleenan". IMDb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  16. "Dianne Bertucci". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  17. "Milt Loper". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  18. "Tina Scyrater". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  19. "Maria Lenytzkyj". IMDb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  20. "Gabriel Knight". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  21. "Rob Rowe". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  22. 22.0 22.1 "Super Fighter". Ysrnry.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2012. สืบค้นเมื่อ August 10, 2012.
  23. "Tiger Electronics Electronic Pit Fighter Reviews, Pricing, Specs". Engadget (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  24. "Tiger Pit Fighter". www.handheldmuseum.com. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  25. "Midway Arcade Origins Review". IGN. November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ October 15, 2016.
  26. 26.0 26.1 Rignall, Julian (January 1991). "Pit Fighter". Computer+Video Games. No. 110. p. 140. สืบค้นเมื่อ March 26, 2018.
  27. MegaTech rating, EMAP, issue 5, page 78, May 1992
  28. "RePlay: The Players' Choice". RePlay. Vol. 16 no. 1. October 1990. p. 4.
  29. "Editorial". RePlay. Vol. 16 no. 4. January 1991. p. 6.
  30. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 395. Amusement Press, Inc. January 1, 1991. p. 37.
  31. Hogg, Robin (February 1991). "Pit-Fighter (Atari games)". Zzap!64. p. 51.
  32. Wilson, David (October 1992). "Domark's Punch-Drunk Coin-Op Conversion: Pit-Fighter". Computer Gaming World. No. 99. p. 66.
  33. 33.0 33.1 George; Rob (January 1992). "George & Rob's Now Playing". Nintendo Power. Vol. 32. p. 102.
  34. "Pit-Fighter Review" (PDF). MegaTech. February 1992. pp. 28–30.
  35. "Top Mega Drive Games of All Time". Mega. No. 1. Future Publishing. October 1992. p. 76.
  36. 36.0 36.1 Gurka, John (August 1993). "Fact-Files: Pit Fighter II". Electronic Gaming Monthly. No. 49. Sendai Publishing. pp. 134–135.
  37. "Short ProShots: Genesis (Pit-Fighter II)". GamePro. No. 51. IDG. October 1993. p. 148.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]