พลังดอกไม้ (ภาพถ่าย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่าย พลังดอกไม้ (Flower Power) โดยเบอร์นี บอสตัน ถ่ายระหว่างมาร์ออนเดอะเพนตากอน เมื่อ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1967

พลังดอกไม้ (อังกฤษ: Flower Power) เป็นชื่อของภาพถ่ายโดย เบอร์นี บอสตัน ช่างภาพชาวอเมริกัน ถ่ายให้กับหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันสตาร์ ที่ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1967 ระหว่างการเดินขบวนมาร์ชออนเดอะเพนตากอน ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการเคลื่อนตัวแห่งชาติเพื่อยุติสงครามในเวียดนาม โดยภาพแสดงให้เห็นว่า ผู้ประท้วง จอร์จ แฮร์ริส กำลังวางดอกคาร์เนชั่น เข้าไปในบาร์เรลของปืนไรเฟิล เอ็ม-14 ที่ถือโดยเจ้าหน้าที่จากกองพันตำรวจกองทัพที่ 503 (503rd Military Police Battalion)[1]

ภาพถ่ายนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลพูลิตเซอร์ในปี ค.ศ. 1967[2]

เหตุการณ์[แก้]

คณะกรรมการเคลื่อนตัวแห่งชาติเพื่อยุติสงครามในเวียดนาม ได้จัดมาร์ชออนเดอะเพนตากอน ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1967 ขณะที่ผู้ประท้วงต่อต้านสงครามกำลังเข้าใกล้บริเวณเดอะเพนตากอน ได้มีเจ้าหน้าที่จากกองพันตำรวจกองทัพ ที่ 503 (503rd Military Police Battalion) ออกมาเผชิญหน้า และกันผู้ชุมนุมไว้ เจ้าหน้าที่ได้ประทับปืนโดยหันปากปลายกระบอกไปยังมวลชนผู้ประท้วง และแปรแถวเป็นรูปครึ่งวงกลม กันไม่ให้ผู้ประท้วงปีนขึ้นไปบนบันไดของเพนตากอนได้ ช่างภาพประจำหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันสตาร์ เบอร์นี บอสตัน ได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ให้ถ่ายภาพการประท้วง บอสตันนั่งประจำอยู่ที่ผนังตรงทางเข้าห้างสรรพสินค้า ซึ่งช่วยให้เขาเห็นเหตุการณ์ค่อย ๆ คลี่คลายต่อหน้า[3] ในบทสัมภาษณ์ปี ค.ศ. 2005 เขาระบุว่า "ขณะที่ผมเห็นทะเลแห่งผู้ประท้วง ผมนึกแล้วว่าจะต้องมีบางอย่างเกิดขึ้นแน่ ผมเห็นกองทัพกรีฑาเข้าไปในทะเลแห่งผู้ประท้วง และผมก็พร้อมเลย"[4] ชายหนุ่มคนหนึ่งโผล่ออกมาจากฝูงชนผู้ประท้วง และเริ่มวางดอกคาร์เนชั่นลงในบาร์เรลของปืนไรเฟิลทีละกระบอก[3] บอสตันจับภาพขณะที่ชายหนุ่มคนนั้นกำลังวางดอกคาร์เนชั่นดอกหนึ่งได้ ซึ่งต่อมากลายมาเป็นภาพถ่ายขึ้นชื่อของตัวเขา[3]

หลังบอสตันแสดงภาพถ่ายดังกล่าวให้กับบรรณาธิการของ The Washington Star ดู "บรรณาธิการไม่แม้แต่จะเห็นความสำคัญ [ของภาพนี้]" และภาพนี้ถูกตีพิมพ์ลงในหน้าลึก ๆ ของหนังสือพิมพ์[3] ภาพนี้ไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งบอสตันส่งภาพนี้เข้าประกวดในงานประกวดถ่ายภาพงานหนึ่ง แล้วชนะ[3]

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

ผู้ประท้วงในภาพ[แก้]

มุมอื่น ๆ ของการเดินขบวนมาร์ชออนเดอะเพนตากอน

เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า ชายหนุ่มในภาพ คือ จอร์จ เอ็ดเกอร์ลี แฮร์ริส ที่ 3 (George Edgerly Harris III) นักแสดงวัย 18 ปีจากนิวยอร์ก ผู้ย้ายไปอาศัยในซานฟรานซิสโกในปี ค.ศ. 1967[1][5] แฮร์ริสมีชื่อในการแสดงว่า ไฮบิสคัส และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเดอะค็อกเก็ตติส ซึ่งเป็นกองแดร็ก "ธีมเกย์, ไซคาเดลิก และแฟลมบอยเยนต์"[1] แฮร์ริสเสียชีวิตในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ในข่วงต้นการระบาดของเอดส์[1]

พอล แครสเนอร์ เขียนในบทความเมื่อปี ค.ศ. 2008 ให้กับฮัฟฟิงตันโพสต์ระบุว่า ชายหนุ่มในภาพคือ "ซูเปอร์โจเอล" หรือ โจเอล ทอร์นาบีน (Joel "Super-Joel" Tornabene) ผู้นำเยาวชนต้านวัฒนธรรมของพรรคเยาวชนสากล ซึ่งอาศัยอยู่ในเบิร์กลีย์ ในคริสต์ทศวรรษ 1960[6] ทอร์นาบีนเสียชีวิตในเม็กซิโกเมื่อปี ค.ศ. 1993[7]

ความสำคัญเชิงสัญลักษณ์[แก้]

หญิงสาวคนหนึ่งกำลังยื่นดอกไม้ ในฐานะสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ให้แก่ทหารขณะเดินขบวนมาร์ชออนเดอะเพนตากอน

ขบวนการพลังดอกไม้ เริ่มต้นขึ้นในเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในฐานะการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ ต่อตัานสงครามเวียดนาม ขบวนการมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้วัตถุที่ไร้ความรุนแรง เช่น ของเล่น, ธง, ของหวาน และดนตรี เพื่อแสดงว่าขบวนการสันติภาพนี้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความรุนแรง และเคลื่อนไหวเพื่อต้านกับขบวนการรถมอเตอร์ไซค์ของเฮลส์แองเจิลส์ที่สนับสนุนสงคราม

ความสำคัญเชิงวัฒนธรรม[แก้]

พลังดอกไม้ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลพูลิตเซอร์ ในปี ค.ศ. 1967[2]

ภาพนี้ยังส่งผลและมีอิทธิพลต่อขบวนการต้านสงครามในคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นภาพที่เป็นตัวแทนว่า การข่าวผ่านภาพ (photojournalism) สามารถช่วยขบวนการนี้ได้อย่างไร[8]

ในปี ค.ศ. 1993 สมาคมช่างภาพข่าวแห่งชาติมอบรางวัลเกียรติยศสูงสุดแก่บอสตัน ซึ่งคือ Joseph A. Sprague Memorial Award[9]

พลังดอกไม้ ยังคงสถานะภาพที่เป็นดั่งภาพเอกลักษณ์ประจำคริสต์ทศวรรษ 1960[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Flowers, Guns and an Iconic Snapshot". Washingtonpost.com. March 18, 2007. สืบค้นเมื่อ December 6, 2013.
  2. 2.0 2.1 Boston, Bernie (October 21, 1967). "Flower Power". The Washington Evening Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Stewart, Jocelyn Y. (January 25, 2008). "Bernie Boston; captured iconic 60s' moment - The Boston Globe". Boston.com. สืบค้นเมื่อ December 6, 2013.
  4. Ashe, Alice (2005). "Bernie Boston: View Finder" (PDF). Curio Magazine. James Madison University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2009. สืบค้นเมื่อ September 29, 2017.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. Silva, Hoaracio (August 17, 2003). "Karma Chameleon". New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 9 October 2017.
  6. Krassner, Paul (January 30, 2008). "Tom Waits Meets Super-Joel". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 2011-01-24.
  7. Krassner, Paul (November 30, 2009). "A Dose of My Own Medicine". Antique Children. AQC Books.
  8. Gottschalk, Molly (2016-07-12). "Why certain photographs quickly come to define a movement". Artsy. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
  9. "Joseph A Sprague Memorial Award". NPPA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-18. สืบค้นเมื่อ December 6, 2013.
  10. Mulligan, Therese (2006). Bernie Boston: American Photojournalist. ISBN 9781933360195.