พระอินทราชา (พระนครอินทร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอินทราชา (พระนครอินทร์)
พระมหากษัตริย์เมืองนครหลวง
ครองราชย์พ.ศ.1937-1964
รัชกาลก่อนหน้าพระธรรมาโศกราช
รัชกาลถัดไปพระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ)
สวรรคตพ.ศ.1964
ราชวงศ์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2

พระอินทราชา (พระนครอินทร์)[1] เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1974 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองนครหลวง (นครธม) ในรัชสมัยพระธรรมาโศกราช หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 โปรดให้พระอินทราชา (พระนครอินทร์) ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองนครหลวง แต่พระอินทราชาปกครองเขมรได้ไม่นานก็ประชวรและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 จึงโปรดให้พญาแพรก พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งขึ้นครองเขมร แต่ปกครองได้ 1 ปี พญาแพรกก็ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าพระยาญาติ (พญาคามยาต) (เรื่องราวสอดคล้องกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก)

แต่หลักฐานอย่างพงศาวดารของกัมพูชาทุกฉบับ ให้ข้อมูลว่า พระอินทราชา กับ พญาแพรก คือพระองค์เดียวกัน เช่น พงศาวดารเมืองละแวก จ.ศ. 1158 ให้รายละเอียดว่า “จึ่งให้เจ้าพญาแพรด (พญาแพรก) ผู้เป็นราชบุตรอยู่ครองเมืองพระนครหลวง ทรงพระนามชื่อ พระอินทราชา แล้วกวาดครัวอพยพได้ประมาณ 4 หมื่นยกกลับไปพระนครศรีอยุทธยา ฝ่ายพญาคามยาต (เจ้าพระยาญาติ) ขณะเมื่อเสียเมืองนั้น หนีไปอาศัยอยู่ ณ บ้านตันหัก แลนายบ้านนั้นชื่อ ขุนพลาไชย พาพรรคพวกมาพิทักษ์รักษาพญาคามยาต ครั้นอยู่มาปีหนึ่ง พญาคามยาตแต่งกลอุบายเอาดาบใส่ในแง (ภาชนะใส่เหล้า) สุราผนึกปลอมเข้าไปกับของทั้งปวงเข้าไปถวายพระอินทราชาๆ ให้เปิดแงออก ผู้ซึ่งเอาของนั้นก็ชักเอาดาบในแงเข้าฟันพระอินทราชาตาย” [2]

ส่วนพงศาวดารกัมพูชาฉบับอื่น ๆ ให้รายละเอียดต่างกันไว้ว่า “เจ้าพระยาญาติใช้ให้มหาดเล็กทั้งสองไปลอบฆ่าพระอินทราชา” แม้จะสรุปไม่ได้ว่าพระอินทราชา กับ พญาแพรก เป็นพระองค์เดียวกันหรือไม่ แต่ข้อมูลหลังจากนั้นกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า เจ้าพระยาญาติ (พญาคามยาต) ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรพระองค์สุดท้าย ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จเสด็จพระราชโองการ พระบรมราชาธิราชารามาธิบดี พระศรีสุริโยพรรณ ธรรมิกมหาราชาธิราชบรมบพิตร

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Merz, Thomas (1998), "PDF in the Browser", Web Publishing with Acrobat/PDF, Springer Berlin Heidelberg, pp. 9–23, ISBN 978-3-540-63762-2, สืบค้นเมื่อ 2023-01-28
  2. Kranz, Florence (September 2018). "Occupational Deprivation – Weit entfernt von bedeutungsvollen Betätigungen". ergopraxis. 11 (09): 10–11. doi:10.1055/a-0629-9690. ISSN 1439-2283.