พระสัมพันธวงศ์เธอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระสัมพันธวงศ์เธอ เป็นคำนำพระนามพระโอรสธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี และพระโอรสธิดาในพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี แต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ 1 ใช้คำนำพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ" หรือ "พระเจ้าหลานเธอ" ตามพระเกียรติยศ เช่นเดียวกับพระโอรสธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำนำพระนามพระราชวงศ์ชั้นนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า "สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ" และ "พระสัมพันธวงศ์เธอ" ให้เป็นคำนำพระนาม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงบัญญัติคำว่า "พระประพันธวงศ์เธอ" สำหรับพระโอรสธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระโสทรภราดาและพระโสทรภคินีในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ภายหลังเมื่อพระสัมพันธวงศ์เธอสิ้นพระชนม์หมดทุกพระองค์แล้ว จึงโปรดให้นำคำนำพระนาม พระสัมพันธวงศ์เธอ มาใช้กับพระโอรสธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์แทน พระประพันธวงศ์เธอ เมื่อปี พ.ศ. 2436[1]

รายพระนามพระสัมพันธวงศ์เธอ[แก้]

พระรูปและพระนาม พระบิดา พระมารดา
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมขุนรามินทรสุดา
สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์ ไม่ปรากฏนาม
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนรินทรเทพ
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมแพ
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมงิ้ว
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมจาด
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมกิ่ม
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมเชย
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์ (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, หน้า 152)