พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าดนัยวรนุช
พระวรวงศ์เธอชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติพฤศจิกายน พ.ศ. 2422
สิ้นพระชนม์5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 (33 ปี)
หม่อมหม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระบุตร2 คน
ราชสกุลจักรพันธุ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระมารดาหม่อมเอม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

อำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช (พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมเอม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2422 เมื่อแรกประสูติมีพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงขอมาเลี้ยงดูด้วยกันกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ทรงเจริญชันษาได้ 6 ปี

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2435 หม่อมเจ้าดนัยวรนุชได้ผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[1] จนถึงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2435 จึงลาผนวช[2] และวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2447 ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณวราภรณ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[3]

หม่อมเจ้าดนัยวรนุชสิ้นชีพตักษัยด้วยพระโรค วัณโรค เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455[4]สิริชันษา 35 ปี มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470[5]

พระโอรสและพระธิดา[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช เสกสมรสกับหม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สารสิน; 10 ตุลาคม พ.ศ. 2432 - 6 มกราคม พ.ศ. 2522) ธิดาของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน) มีพระโอรสและพระธิดา 2 คน ได้แก่

พระอิสริยยศ[แก้]

  • หม่อมเจ้าดนัยวรนุช (พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช (พ.ศ. 2470 สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช
พระชนก:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย
พระชนนี:
หม่อมเอม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไมมีข้อมูล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไมมีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไมมีข้อมูล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไมมีข้อมูล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไมมีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล

อ้างอิง[แก้]

  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
  1. ข่าวทรงผนวชหม่อมเจ้าดนัยวรนุชเป็นสามเณร
  2. ข่าวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชลาพระผนวช
  3. การทรงผนวชพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า และหม่อมราชวงษ์
  4. ข่าวสิ้นชีพิตักษัย หม่อมเจ้าดนัยวรนุช วันที่ ๕ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๑
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
  6. [https://web.archive.org/web/20151002025050/http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1783.PDF เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 28 หน้า 1793 วันที่ 12 พฤศจิกายน ร.ศ.130
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 10 ตอนที่ 38, 17 ธันวาคม ค.ศ. 1893, หน้า 415
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 28, 12 มกราคม พ.ศ. 2455, หน้า 1798