พระราชโพธิวรคุณ (พายัพ ฐิตปุญฺโญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชโพธิวรคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด10 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (76 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ศน.บ., พธ.ม
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระธาตุดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
อุปสมบท30 มีนาคม พ.ศ. 2509
พรรษา56
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด

พระราชโพธิวรคุณ นามเดิม พายัพ กาวิยศ ฉายา ฐิตปุญฺโญ น.ธ.เอก ป.ธ.6 ศศ.ด.(กิตติ์) เป็นพระราชาคณะชั้นราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ อดีตเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด

ชาติภูมิ[แก้]

ชื่อ พายัพ นามสกุล กาวิยศ เกิดวันที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2488 ปีระกา เป็นบุตรของนายศรี นางลัย ภูมิลำเนาเดิม บ้านเลขที่ 12/1 ถนนสุมนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

บรรพชาและอุปสมบท[แก้]

เมื่อวันที่ 30 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2509 ปีมะเมีย ณ วัดพระเนตร ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยมี พระครูอรรถธรรมวิภัช วัดพญาภู ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (พระเทพนันนาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดน่าน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์บุญเลื่อน ติลโก วัดพระเนตร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (พระครูบุญกิจสุนทร อดีตเจ้าคณะตำบลในเวียง เขต 1 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเนตร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาพรศักดิ์ ธมฺมวาที วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (พระเทพนันทาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดน่าน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ[แก้]

  ตำแหน่ง[แก้]

งานปกครอง[แก้]

  • พ.ศ. 2523 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด(วัดราษฎร์)
  • พ.ศ. 2524 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด(วัดราษฎร์)
  • พ.ศ. 2525 เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2526 เป็นเจ้าคณะตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2531 เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2533 เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด 
  • พ.ศ. 2534 เป็นเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2555 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง
  • พ.ศ. 2555 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง[1]
  • พ.ศ. 2566 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่

งานการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2513    เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรม  สำนักศาสนศึกษาวัดพระเกิด ตำบลเวียงเหนือ  อำเภอเมือง  จังหวัดน่าน
  • พ.ศ. 2513    เป็น กรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง ภาค 6 (ตรวจข้อสอบนักธรรม ภาค ๖ ประกอบด้วยจังหวัด เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)
  • พ.ศ. 2515    เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักศาสนศึกษาวัดบุพพาราม 
  • พ.ศ. 2524    เป็น  เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2524    เป็น  กรรมการศึกษาศิลปวัฒนธรรม  โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)
  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัดพระธาตุดอยสะเก็ด3
  • พ.ศ. 2527    เป็น  กรรมการตรวจธรรมสนามหลวงภาค 7
  • พ.ศ. 2529    เป็น กรรมการตรวจข้อสอบบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2530    เป็น พระปริยัตินิเทศ    ประจำจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2531    เป็น กรรมการควบคุมห้องสอบธรรมสนามหลวงอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2531    เป็น กรรมการควบคุมห้องสอบบาลีสนามหลวงจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2533    เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาตลอดชีวิตอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2534    เป็น  เจ้าหน้าที่จัดการฝ่ายสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2535    เป็น  กรรมการที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาเด็กสิรินธร ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • พ.ศ. 2543    เป็น  กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม
  • พ.ศ. 2543    เป็น  ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเชิงดอย(ดอยสะเก็ดศึกษา)
  • พ.ศ. 2545    เป็น  ผู้จัดการโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2552    เป็น  ผู้อำนวยการ ศูนย์ ICT ชุมชนวัดพระธาตุดอยสะเก็ด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร 

งานเผยแผ่[แก้]

  • พ.ศ. 2527    เป็น  ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2530    เป็น  พระธรรมทูตเฉพาะกิจอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2534    เป็น  ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ประธานพระธรรมทูตปฏิบัติการอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์เผยแผ่ธรรมอำเภอดอยสะเก็ด

งานสาธารณูปการ[แก้]

  • พ.ศ. 2526   เป็น  ประธานคณะกรรมการสาธาณูปการตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2534    เป็น  ประธานคณะกรรมการสาธารณูปการอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2542    เป็น  ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน โรงพยาบาลดอยสะเก็ด ฝ่ายบรรพชิต
  • พ.ศ. 2544    เป็น  ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา) ฝ่ายบรรพชิต

งานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์-สาธารณสงเคราะห์[แก้]

  • พ.ศ.  2524 เป็น    กรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์ การพัฒนาสุสานบ้านเชิงดอย หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงดอย 
  • พ.ศ. 2534    เป็น  ประธานกรรมการสาธารณสงเคราะห์ คณะสงฆ์อำเภอดอยสะเก็ด  +
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ประธานดำเนินการจัดตั้ง มูลนิธิแห่งความเมตตาและเอื้ออารีย์ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และผู้ด้อยโอกาส
  • พ.ศ.  2536   เป็น  ประธานกรรมการที่ปรึกษากลุ่มแม่หม้ายเอดส์ดอยสะเก็ด  ให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์
  • พ.ศ. 2546    เป็น  ประธานผู้ก่อตั้ง โครงการ “ร่มใบบุญ” ช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเขตที่ดินวัด  โดยการตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  และพัฒนาคุณภาพชีวิต

งานศึกษาสงเคราะห์       [แก้]

  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ผู้อำนวยการค่ายคุณธรรมวัดพระธาตุดอยสะเก็ด

ผลงานที่ได้รับเชิดชูเกียรติ[แก้]

  • พ.ศ. 2529     ได้รับโล่เจ้าสำนักเรียนดีเด่น
  • พ.ศ. 2530     ได้รับโล่เกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา จากคุรุสภาอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535     รางวัลนอร์มา เรื่องการสนับสนุนการศึกษาเด็กก่อนเกณฑ์   จากยูเนสโก  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จังหวัดเชียงใหม่ 
  • พ.ศ. 2535     ประกาศเกียรติคุณเจ้าคณะอำเภอดีเด่น จากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่  
  • พ.ศ. 2536     รางวัลเสาเสมาธรรมจักรทองคำสาขาการศึกษาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์         จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2537  ประกาศเชิดชูเกียรติ เดินตามรอยเยี่ยงครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย    
  • พ.ศ. 2537     รับรางวัล   เจ้าสำนักเรียน ผู้บริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมดีเด่น          จากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ 
  • พ.ศ. 2538     ได้รับโล่-รางวัลคนดีศรีสังคม      
  • พ.ศ. 2543    ได้รับโล่เจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น
  • พ.ศ. 2545     ได้รับโล่วัดส่งเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. 2548     ได้รับรางวัลคนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ
  • พ.ศ. 2549     ได้รับโล่ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ดีเด่น

สมณศักดิ์[แก้]

พระราชโพธิวรคุณ ได้รับโปรดฯ พระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2528 เป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2529  เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอกที่ พระครูโสภณปริยัติสุธี[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540  เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระโพธิรังษี[3]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชโพธิวรคุณ วิบูลธรรมกถาสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]

  อ้างอิง [แก้]

  1. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๔ ภาค ๕ และภาค ๗[1]
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 103 ตอน 211 ง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2529 หน้า 4[2]
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (จำนวน 921 รูป) เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 121 ตอน 3 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 หน้า 17[3] เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 133, ตอนที่ 22 ข, 11 สิงหาคม 2559, หน้า 4[4]