โรงเรียนหอพระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหอพระ
Horpra School
ข้อมูล
ชื่ออื่นห.พ.
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญล้ำเลิศคุณธรรม หนุนนำสังคม อุดมความรอบรู้ กอบกู้สิ่งแวดล้อม
สถาปนา16 สิงหาคม 2484
ผู้ก่อตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
สีเหลือ - ขาว
เพลงมาร์ชหอพระ,วอลซ์หอพระ ขาวเหลือง
เว็บไซต์http://www.horpra.ac.th

โรงเรียนหอพระ เป็นโรงเรียนสังกัดรัฐบาลที่ตั้งอยู่เลขที่ 16 ถนนสิงหราช ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

เดิมเป็นโรงเรียนประถมศึกษาของเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้เปิดทำการสอนครั้งแรกใน วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2482[1] เทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง ณ บริเวณที่ดินซึ่งเป็นวัดร้าง 2 วัด คือ วัดหอพระ และ วัดพันแจ่ม กับที่ดิน ของทางเทศบาลนครเชียงใหม่อีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนอง ความต้องการด้านการศึกษา แก่ชุมชนในตำบลศรีภูมิ และบริเวณใกล้เคียง ให้ชื่อว่า "โรงเรียนเทศบาล 11 (หอพระ)" โดยมี นายอุ่นเรือน เลปนานนท์ ทำหน้าที่เป็นครูคนแรก

  • พ.ศ. 2496 กระทรวงศึกษาธิการได้รับโอนโรงเรียนหอพระเข้าสังกัดในกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2500 ขณะที่นายยุทธ เดชคำรณ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนเมืองเชียงใหม่” สังกัดกองการศึกษาพิเศษ
  • จนถึงสมัย นายเวทย์กาวิล ครูใหญ่ในระยะต่อมาได้พิจารณาเห็นว่าชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเปิดสอนอยู่ กำลังจะเปลี่ยนเป็นชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 5-7 ) ตามหลักสูตรที่เปลี่ยนไป จึงขออนุญาตกรมสามัญศึกษา เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนหอพระ ”
  • พ.ศ. 2504 โรงเรียนหอพระได้พัฒนาโดยลำดับและหลังสุดเปิดทำการสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521
  • พ.ศ. 2523 กรมวิชาการได้พิจารณาได้พิจารณาคัดเลือกโรงเรียนหอพระ ให้เข้าโครงการโรงเรียนผู้นำ การใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521
  • พ.ศ. 2533 ให้ตั้งโครงการโรงเรียนพัฒนาการใช้หลักสูตรเพื่อใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533
  • พ.ศ. 2536 โรงเรียนหอพระได้เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นปีแรก โดยรับนักเรียนเดิมเป็นส่วนใหญ่
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน โดยเฉพาะการสอนคอมพิวเตอร์นักเรียนทุกคนนักเรียนต้องมีความรู้ สามารถนำมาใช้งานได้ โรงเรียนได้รับเลือกเป็น โรงเรียนในการปรับเปลี่ยน ระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting)

อ้างอิง[แก้]