ฝ้ายคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝ้ายคำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Bixaceae
สกุล: Cochlospermum
สปีชีส์: C.  religiosum
ชื่อทวินาม
Cochlospermum religiosum
(L.) Alston

ฝ้ายคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cochlospermum religiosum)[1] เป็นไม้ผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย โดยได้นำเข้ามาประเทศไทยเป็นเวลากว่า 50 ปีมาแล้ว[2] นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ฝ้ายคำเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 7-15 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งก้านคดงอ ใบเรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ โคนใบเว้าขอบเป็นคลื่น ปลายใบแยกเป็น 5 แฉกแหลม ขอบใบมีขนสั้นนุ่ม ใบแก่ร่วงเปลี่ยนเป็นสีออกแดง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองออกที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก กลีบดอกบาง มี 5 กลีบ งุ้มเข้าเป็นรูปทรงถ้วย (คล้ายดอกฝ้าย แต่มีสีเหลืองทอง) เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก โค้งขนาดไม่เท่ากัน รังไข่มีขน ผลรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-3.0 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร เมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557, หน้า 146.
  2. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. "สุพรรณิการ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lib.ru.ac.th/about/supannikar.php [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]