ฝ้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเก็บเกี่ยวฝ้ายในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เมื่อราว พ.ศ. 2433

ฝ้าย เป็นพันธุ์ไม้สกุลกอสไซเพียมในวงศ์ชบา เป็นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีการนำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เอเชีย และที่ที่อยู่ในโซนร้อนทั่ว ๆ ไป[1] ฝ้ายเป็นพืชที่ให้เส้นใยโดยเส้นใยของฝ้ายเกือบทั้งหมดเป็นเซลลูโลส คำว่า Cotton ซึ่งหมายถึงฝ้ายในภาษาอังกฤษมาจากคำภาษาอาหรับว่า (al) qutn قُطْن [2]

เปลือกหุ้มเมล็ดฝ้ายมีเพกทินซึ่งประกอบด้วยกรดกาแลกทูโรนิกและเมทิลเอสเทอร์เป็นองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นตัวดูดซับตะกั่วในน้ำเสียได้ โดยถ้าล้างด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อนใช้จะดูดซับได้มากขึ้น [3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ฝ้ายจัดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มขนาดกลาง แต่ในทางการเกษตร จะจัดเป็นประเภทพืชล้มลุก เนื่องจากต้นฝ้ายที่มีอายุ 2-3 ปี มักให้ผลผลิตน้อยทำให้ต้องทำการเพาะปลูใหม่ทุกปี เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สูงประมาณ 2-5 ฟุต แตกกิ่งเวียนรอบต้น มักมีขนสั้นปกคลุมบาง ๆ ที่ลำต้น [4] ใบ เกิดที่ข้อของลำต้น ก้านใบยาวเท่ากับความกว้างของใบ[5] แต่สั้นกว่าแผ่นใบ ใบเดี่ยว หยักเป็น 3, 5 หรือ 7 พู พูรูปไข่ถึงรูปใบหอก[6] มักมีขนสั้นคลุมบาง ๆ ที่ก้านใบและใต้ใบ[7] หูใบยาว 1-5 เซนติเมตร รูปกึ่งสามเหลี่ยม[8] ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ[9] ดอกอ่อน หรือเรียกว่า "ปี้" (bud or aquare) ถูกหุ้มด้วยใบเลี้ยง 3 ใบ ประกบเป็นสามเหลี่ยม ดอกบานกว้างประมาณ 3 นิ้ว มี 5 กลีบดอก เรียงซ้อนกัน สีขาวนวลถึงเหลือง ตอนบ่ายดอกจะกลายเป็นสีชมพูจนถึงแดงและค่อย ๆหุบ[10] ดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหลังจากบานประมาณ 2-3 วัน[11] ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-5 เซนติเมตร ก้านเกสรเพศเพศเมียสอดอยู่ในหลอดก้านเกสรเพศผู้ [12] รังไข่มี 3-4 ห้อง หรือ 4-5 ห้อง แล้วแต่ชนิด (species) [13] ผล ผลแห้งแตก รูปไข่แคบๆ ปลายแคบแหลม เกลี้ยง[14] ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ภายในแบ่งออกเป็นช่องเท่ากับจำนวนช่องในรังไข่ ผลฝ้าย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สมอฝ้าย" สมอฝ้ายจะปริออกเมื่อแก่ และดันเมล็ดซึ่งห่อหุ้มด้วยปุยเส้นใยสีขาว (lint) และเส้นใยสั้น (fuzz fibers) ออกมา[15]

การใช้ประโยชน์[แก้]

การเก็บฝ้ายในประเทศไทยนิยมเก็บด้วยมือ โดยเลือกผลฝ้ายที่แก่และแตกแล้ว จากนั้นดึงเส้นใย (ส่วนของ epidermal cell) ออกจากสมอ แล้วส่งไปโรงงานเพื่อแยกเมล็ดออก กระบวนการแยกเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้าย เรียกว่า "หีบฝ้าย" ส่วนของเส้นใยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณต์ต่าง ๆ ขณะที่ส่วนเมล็ดฝ้ายซึ่งมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบจะถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมันเมล็ดฝ้าย เมื่อเทียบปริมาณ ฝ้าย 10 กิโลกรัมจะสามารถให้เส้นใยประมาณ 3.5 กิโลกรัม และน้ำมันประมาณ 1 กิโลกรัม[16] กล่าวโดยสรุปคือ

1) ปุยฝ้าย (Lint or Fibre)
1.1) ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม
1.2) เครื่องใช้ภายในบ้าน
1.3) วัตถุทางอุตสาหกรรม ยางรถยนต์ เบาะที่นั่ง เชือก ถุง สายพาน ผ้าใบ ท่อส่งน้ำ และการผลิตเส้นใยเทียม หรือ เรยอง (rayon)

2) เมล็ดฝ้าย
ประกอบด้วย ขนปุยที่ติดกับเมล็ด (linter or fuzz) เปลือกเมล็ด (Seed coat) และเนื้อในเมล็ด (Kernel)
2.1) ขนปุย (linter or fuzz) : นำไปใช้ทำผ้าซึมซับ ทำเบาะผ้าสักหลาด พรม วัตถุระเบิด และอุตสาหกรรม เซลลูโลส เช่น ทำเส้นใยประดิษฐ์ ฟิล์มเอ๊กซเรย์ พลาสติก
2.2) เปลือกเมล็ด (Seed Coat) : นำไปใช้ทำเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำยางเทียม และเป็นส่วนประกอบในการเจาะและกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
2.3) เนื้อในเมล็ด (Kernel) : ทำเนยเทียม ใช้เป็นตัวทำละลาย (Solvent or emulsifier) ทำยารักษาโรค สารปราบโรคและแมลงศัตรูพืช เครื่องสำอาง ยางพลาสติก เครื่องหนังกระดาษและอุตสาหกรรมสิ่งทอ กากที่เหลือหลังจากสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว มีปริมาณโปรตีนสูง นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ย และมีการนำไปทำอาหารมนุษย์ เช่น ผสมทำขนมปัง ผสมอาหารพวกที่มีเนื้อ เช่น ไส้กรอก [17]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Biology of Gossypium hirsutum L. and Gossypium barbadense L. (cotton). ogtr.gov.au
  2. Metcalf, Allan A. (1999). The World in So Many Words. Houghton Mifflin. p. 123. ISBN 0395959209.
  3. Ngah, W.S., and Hanafiah, M.A.K.M. 2008. Removal of heavy metal from wastewater by chemically modified plant wastes as adsorbents: A review. Bioresource Technology. 99, 3935 – 3948
  4. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=3&page=t3-3-infodetail04.html[ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-14.
  6. http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2[ลิงก์เสีย]
  7. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=3&page=t3-3-infodetail04.html[ลิงก์เสีย]
  8. http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2[ลิงก์เสีย]
  9. http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2[ลิงก์เสีย]
  10. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=3&page=t3-3-infodetail04.html[ลิงก์เสีย]
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-14.
  12. http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2[ลิงก์เสีย]
  13. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=3&page=t3-3-infodetail04.html[ลิงก์เสีย]
  14. http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2[ลิงก์เสีย]
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-14.
  16. http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2[ลิงก์เสีย]
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]