ผู้ใช้:Thanaphiwat/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาโตรมู[แก้]

ภาษาโตรมู หรือ เตรอมู (นอร์เวย์: Trømu, อังกฤษ: Trurmu)เป็นภาษาของชาวโตรมู และชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มก็ใช้ภาษานี้ร่วมกับภาษาถิ่นของตนเอง

ประวัติของภาษา[แก้]

ภาษาโตรมูไม่ค่อยเป็นที่นิยม เมื่อเทียบกับภาษาลันทุกา ซึ่งมีผู้คนเรียนกันมาก อาณาจักรส่วนใหญ่ทางคาบสมุทรกอนโอต และทางตอนใต้ของกอนโอตก็ใช้ภาษาลันทุกาเป็นภาษากลาง เพื่อใช้ในการสื่อสาร ติดต่อค้าขาย หรือทางราชการ แต่นักบวชส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาโตรมูในการเขียนบทมนต์ บทสาธยาย หรือคำสอนต่างๆ เพราะเป็นภาษาที่มีใจความกว้างและลึกซึ้ง ยังพบว่า ภาษาโตรมูถูกนำไปใช้ในกลุ่มกวี และนักปรัชญา

ภาษาโบราณของโตรมู คือ มูสุลิต สังเกตคำว่า "มู" จะพบในชื่อของทั้งสองภาษา คำว่า มู เป็นชื่อที่ชาวมูสุลิตใช้เรียกตัวเอง ยังไม่เป็นที่ทราบกันว่ามีความหมายว่าอะไร ส่วนคำว่า "โตร" หมายถึง ลูหลาน ดังนั้น โตรมู จึงมีความหมายโดยตรงว่า ลูกหลานของมูสุลิต ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ภาษาโตรมูมีวิวัฒนาการมาจากภาษามูสุลิต ปัจจุบันภาษามูสุลิตยังใช้กันในชาวเมืองนีรี และยังเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวนีรีด้วย

ตัวอย่างศัพท์[แก้]

  • อ่มุนเดอ - ผู้ให้
  • อ่มุนเดอโม - ผู้รับ
  • โสวเตอ - วันนี้
  • อ่ล่กา - สิ่งของ
  • เสอะทุง - กระบือ, กระทิง
  • ทัน - เสือ
  • มอตตาบัน - ทองคำ
  • น่รา - เย็น
  • ทุม - ก้อนหิน

นาโตลัรนีรี[แก้]

นาโตลัร นีรี (อังกฤษ: Natolar Nerie) เป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง เขียนโดยชาวไทยซึ่งใช้นามแฝงว่า บุคคลใกล้ๆตัว แบ่งเป็นสองตอนคือ จดหมายเหตุบูรพาและบุรุษสีเมฆวรรณกรรมเรื่องนี้ไม่ใช่แนวแฟนตาซี เพราะเนื้อหาส่วนมากนั้น ผู้เขียนไม่ได้สร้างมาจากจินตนาการ

นาโตลัร นีรี เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ซึ่งสามารถยืนสองขา และพูดคุย หลากหลายภาษา มีภูต ผี ปีศาจ เทวดา ผู้วิเศษ ผู้แสวงบุญ ลัทธิ และยังมีเรื่องของจิตกับอดีตชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การสื่อสารกันโดยใช้จิต หรือที่เรียกกันว่า โทรจิต และความสามารถต่างๆของตัวละคร

เนื้อเรื่องกล่าวถึงกวางหนุ่มสีขาวชื่อว่า ลอต ซึ่งได้รับมอบหมายอย่างลับๆจากลุงฮูก ให้ตามหาจดหมายเหตุบูรพาโดยที่เขาไม่รู้ที่มาที่ไป เนื่องจากเกิดเหตุเภทภัยต่างๆในกรุงรุลและบริเวณรอบด้านอย่างมิสามารถจะรับมือ จากฝีมือของพ่อมดผู้ซึ่งต้องการปกครองอาณาจักรแห่งนี้ จดหมายเหตุบูรพาได้บันทึกเหตุการณ์เดียวกันซึ่งเคยเกิดขึ้นที่กรุงรุลเมื่อหนึ่งพันเก้าร้อยปีก่อนไว้