ผู้ใช้:Sukhumaporn/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ของประเทศแคนาดา[แก้]

ฝรั่งเศสได้ยึดครองแคนาดาฝั่งตะวันออกในปี ค.ศ.1534 และได้เริ่มตั้งถิ่นฐานในปี ค.ศ.1604 โดยปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษเกิดขึ้นอันเนืองมาจากเหตุผลด้านการประมงและการค้าขนสัตว์ในปี ค.ศ.1713 ซึ่งแคนาดาตกเป็นของอังกฤษปี ค.ศ.1849 แคนาดาได้รับการยอมรับให้มีสิทธิในการปกครองตนเอง ต่อ มาในปี ค.ศ.1867 ได้มีการจัดตั้ง Dominion of Canada ในลักษณะของสมาพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วย Upper และ Lower Canada (รัฐออนแทรีโอ,ควิเบก,โนวาสโกเชียและนิวบรันสวิก) ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ.1931 ได้รับสถานะเป็น ประเทศที่เท่าเทียมกับอังกฤษโดยมีกษัตริย์อังกฤษเป็นประมุข และต่อมาในปี ค.ศ.1949 รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์เข้ามาเป็นรัฐที่สิบของแคนาดา [1]

รูปแบบการปกครอง[แก้]

แคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และเป็นระบอบพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบทที่2 แห่งราชอาจักร นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน Justin Trudeau [2]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แคนาดาเป็นสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 10 รัฐ และ 3 ดินแดน [3] ความแตกต่างระหว่างรัฐกับดินแดน คือ รัฐได้รับมอบอํานาจ จากบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ดินแดนจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายของสหพันธรัฐ ดังนั้นสหพันธ์จึงมีอํานาจในการควบคุมดูแลดินแดน ส่วนรัฐบาลของรัฐจะมีอํานาจในการปกครองตนเองมากกว่า

รัฐ[แก้]

  1. แอลเบอร์ตา
  2. บริติชโคลัมเบีย
  3. แมนิโทบา
  4. นิวบรันสวิก
  5. นิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์
  6. โนวาสโกเชีย
  7. ออนแทรีโอ
  8. ปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์
  9. ควิเบก
  10. ซัสแคตเชวัน

ดินแดน[แก้]

  1. นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์
  2. นูนาวุต
  3. ยูคอน

ความหมายของการปกครองท้องถิ่น[แก้]

การปกครองท้องถิ่น คือ การที่รัฐมอบอํานาจให้แก่การปกครองท้องถิ่นในการตัดสินใจและบริหารงานอย่างมีอิสระ โดยอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐบาลจะคอยติดตามผลงานความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง [4]

ความสําคัญของการปกครองท้องถิ่นประเทศแคนาดา[แก้]

เมื่อนึกถึงการปกครองท้องถิ่นของประเทศแคนาดา อาจมีความเข้าใจว่าเหมือนกับมลรัฐต่างๆของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะประเทศแคนาดามีความแตกต่างระหว่างหน่วยการปกครองท้องถิ่นกับรัฐบาลของจังหวัด และแคนาดามีความเป็นอิสระในการบริหารกิจการภายในตนเอง เนื่องจากสภาของจังหวัดมาจากการเลือกตั้งรัฐบาลมาบริหารงานของจังหวัด รับผิดชอบต่อสภาจังหวัด รวมทั้งมีรายได้ของตัวเอง การปกครองท้องถิ่นของแคนาดานั้นอยู่ได้โดยกฎหมายของจังหวัด ดังนั้น จํานวนของหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ เรียกว่า เทศบาลหรือประเภทอื่นในแต่ละจังหวัดมีจํานวนไม่เท่ากัน และโครงสร้างของหน่วยการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดต่างๆของแคนาดาไม่จําเป็นต้องเหมือนกัน
สําหรับการปกครองท้องถิ่นในประเทศแคนาดาตามรัฐธรรมนูญแคนาดา ค.ศ.1867 ได้ให้อํานาจแก่จังหวัดที่มีการก ระจายอํานาจเอง โดยสภาแต่ละจังหวัดจะเป็นผู้ออกกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเทศบาล ดังนั้น จังหวัดจึงจะแก้กฎหมายเพื่อยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงหน่วยปกครองท้องถิ่นหรือหน้าที่อย่างไรก็ได้ ซึ่งจํานวนหน่วยการ ปกครองท้องถิ่นในแคนาดาและประเภทของหน่วยปกครองท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดจึงไม่จําเป็นต้องเหมือนกัน
จํานวนหน่วยขององค์กรปกครองท้องถิ่นของแคนาดามีอยู่หลายพันหน่วย เฉพาะองค์กรปกครองท้องถิ่นประเภท เทศบาลมีจํานวนอยู่ 4,600 หน่วย นอกจากนี้ยังมีหน่วยบริหารท้องถิ่นอื่นที่มีรูปแบบและหน้าที่ตลอดจน วัตถุประสงค์เป็นเฉพาะด้าน ทั้งเรื่องโรงเรียน สาธารณูปโภค และอื่นๆอีก 8,000 หน่วย
ที่จังหวัดของแคนาดาจะมีหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่ของเขตจังหวัดเจาะจง เช่น จังหวัดบริติชโคลัมเบียจะมีกระทรวงพัฒนาชุมชนและชนบทดูแลอยู่ในจังหวัดอื่นๆก็เช่น ซึ่งประเทศควิเบกจะมีการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจาก เป็นจังหวัดเดียวที่มีคนเชื่อสายฝรั่งเศสอยู่มากกว่าชาติอื่น และเป็นจังหวัดที่มีความเป็นอิสระมาก เป็นจังหวัดเดียวที่อิทธิพลกฎหมายฝรั่งเศสยังมีอยู่ ในขณะที่จังหวัดอื่นๆนั้นพื้นฐานทางกฎหมายจะได้อิทธิพลจากกฎหมายอังกฤษ
ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดว่าจังหวัดครึ่งหนึ่งซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแคนาดา ได้แก่ ปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์,โนวาสโกเชีย,นิวบรันสวิก,ออนแทรีโอ และควิเบก ยังมีเขตการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่าเคาตี้ County ที่เป็นเขตใหญ่กว่าเทศบาล ในขณะที่จังหวัดอื่นๆทางด้านตะวันตกประเทศไม่มีการปกครองที่เรียกว่าเคาตี้เลยที่จังหวัด ออนแทรีโอ มีรูปแบบปกครองท้องถิ่นใหม่สําหรับชุมชนเมืองขนาดใหญ่เรียกว่า เทศบาลกรุง
ทางจังหวัดมีอํานาจที่จะควบคุมดูแลหน่วยปกครองท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดในการบริหารจัดการท้องถิ่นมีข้อบัญญัติ ขององค์กรปกครองท้องถิ่นหลายแห่งมีเงื่อนไขว่า ผ่านสภาท้องถิ่นจะต้องให้ทางจังหวัดเห็นชอบก่อนนําออกประกาศใช้ ที่สําคัญก็คือหน่วยปกครองท้องถิ่นต้องพึ่งพาเงินรายได้ที่เก็บโดยจังหวัดและจะต้องแบ่งมาให้ท้องถิ่น สําหรับองค์กรปกครองที่เป็นเทศบาล เทศบาลแคนาดาจะมีนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่รูปแบบการเลือกตั้งมีเพียงสองแบบ คือ เลือกนายกเทศมนตรีและสมาชิกโดยใช้ เขตของ เทศบาลทั้งหมดเป็นเขตเลือกตั้งเขตเดียว ส่วนแบบที่สอง เลือกนายกเทศมนตรีโดยใช้เขตเทศบาลทั้งหมดเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกสภาก็แบ่งเขตพื้นทีในเทศบาลออกเป็นเขตเลือกตั้งตามจํานวนสมาชิก แต่ละเขตจะเลือกสมาชิกสภาเทศบาลได้เพียงคนเดียว

ตัวอย่างการปกครองท้องถิ่นในจงหวัดบริติชโคลัมเบียประเทศแคนาดา[แก้]

บริติชโคลัมเบียได้รับการจัดตั้งขึ้นให้มีฐานะเป็นจังหวัดของแคนาดาหลังจากฝั่งตะวันออกของประเทศได้ รวมกันเป็นแคนาดามาก่อนแล้ว บริติชโคลัมเบียเป็นจังหวัดที󒬍 6 ของแคนาดา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ.1871 โดยมีวิคตอเรียเป็นเมืองหลวงของจังหวัด จังหวัดบริติชโคลัมเบียเป็นจังหวัดที่ใหญ่ มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และสําคัญทางด้านตวันตกของประเทศ แคนาดา เป็นจังหวัดอันดับสามรองจากจังหวัดออนแทรีโอ และหวัดควิเบก และเป็นจังหวัดที่มีการปกครองท้องถิ่น หลายรูปแบบ แม้ว่าจะไม่มีองค์ปกครองท้องถิ่นระดับใหญ่กว่าเทศบาล แต่มีองค์ปกครองท้องถิ่นที่ขนาดใหญ่ว่า เทศบาลเรียกว่า เขตปกครองภาค ซึ่งองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดบริติชโคลัมเบียที่อยู่ในการ กํากับดูแลของกระทรวงพัฒนาชุมชนและชนบท พบว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ เทศบาล เขตปกครองภาค และ เขตปรับปรุงเฉพาะ

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลประเทศแคนาดา [5]
  2. รูปแบบการปกครอง [6]
  3. การแบ่งเตการปกครอง [7]
  4. การปกครองท้องถิ่น [8]
  5. นรนิติ เศรษฐบุตร,การปกครองท้องถิ่นในจังหวัดบริติชโคลัมเบียประเทศแคนาดา. [kpi.ac.th/media/pdf/M10_191.pdf]