ผู้ใช้:Rachaneekorn Yothanam/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายของพฤติกรรมขององค์การ[แก้]

พฤติกรรมองค์การมาจากการรวมคำสองคำเข้าด้วยกันคือคำว่าพฤติกรรม และ องค์การพฤติกรรม หมายถึง การแสดงหรือกริยาอาการที่แสดงออกของแต่ละบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ และการไม่แสดงออก [1] องค์การ หมายถึง การจัดการที่มีความร่วมมือกันและประสานงานกัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีการแบ่งหน้าที่ไว้ชัดเจน[2]

การศึกษาพฤติกรรมองค์การในอดีต[แก้]

การศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ในการทำงานในระยะเริ่มแรก การศึกษาความสนใจเกี่ยวกับบุคคลในสภาพแวดล้อมของการทำงานในระยะแรก ไม่มีเหตุการณ์ปรากฏต่อมาถึงสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการเกิดการผลิตขนาดใหญ่มากๆในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในสมัยนั้นเครื่องจักรกลที่ค่ามากกว่าผู้คนในโรงงาน เจ้านายกับลูกน้องห่างเหินกันและแทบไม่มีปฎิสัมพันธ์กัน เพราะเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการทำงาน ในปี ค.ศ.1800 โรเบอร์ต โอเวน นับได้ว่าเป็นบุคคลแรกที่ให้ความสนใจในเรื่องความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน ได้เริ่มจากการเลิกจ้างเด็กและเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ได้สอนให้คนงานรู้จักความสะอาดและปรับปรุงสภาพการทำงาน ในปีค.ศ.1835 แอนดรู ยูเร เขาได้พูดถึงเรื่องปัจจัยมนุษย์ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ไม่น้อยกว่าเรื่องเครื่องจักรเครื่องกล ได้มีการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น มีการจัดการบริการต่างๆ บริการรักษาตอนป่วยไข้ เป็นต้น แต่ความคิดนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไรนัก ในปีค.ศ.1879 ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมอย่างมีหลักการ โดยวิลเฮล์ม วูนด์ท ในห้องทดลองของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี และฮูโก มูนสเตอร์เบอร์ก เป็นผู้ผ่านการทดลอง และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าห้องทดลองปฏิบัติการทางจิตวิทยา ได้มีการทำการศึกษาวิจัยเรื่องพื้นฐานจิตวิทยา และยังศึกษาการประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยา เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมในการบริหารและการจัดการ ในปีค.ศ.1913 เขาได้เขียนหนังสือขึ้นมาชื่อว่า Psychology and Industrial Efficiency เป็นหนังสือเล่มแรกทางพฤติกรรมการบริหาร และได้มีการนำเอาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม มาปรับใช้ในการบริหารอีกด้วย

  • เฟรเดอริก เทเลอร์ และการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ก่อนที่นักสังคมศาสตร์จะหันมาสนใจปัญหาของสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีบุคคลจำนวนหนึ่งได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในโรงงาน และมุ่งเน้นประสิทธิภาพสูงสุด เฟรเดอริก เทเลอร์ เป็นบุคคลแรกที่ปรับใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์เข้ากับเรื่องการบริหาร จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เฟรเดอริก เทเลอร์ ได้พัฒนาแนวคิดที่สำคัญหลายประการในการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม เขาได้ใช้แนวคิดของการแบ่งงานกันทำ ทำให้เกิดการทำงานพิเศษเฉพาะอย่าง นอกจากนั้นเทเลอร์ได้นำเอาเครื่องจักรยนต์กลไก จนไปถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่ได้มาตรฐานมาใช้ มีวิธีการทำงานเป็นขั้นตอน มีการให้ค่าจ้างเป็นรายชิ้น มีการควบคุมค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิต เฟรเดอริก เทเลอร์ ได้นำการศึกษาเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหวมาประยุกต์ใช้ จึงเป็นการช่วยประหยัดแรงงานและเวลา จึงจะเป็นผลทำให้งานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เฟรเดอริก เทเลอร์ ถือว่าผู้ปฏิบัติงานเปรียบเสมือนเครื่องมือที่สามารถจะปรับปรุง เพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้โดยการทำให้ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนผลิตให้ได้มากที่สุด

  • การศึกษาของวิทติง วิลเลียมส

วิทติง วิลเลียมส ได้ตระหนักถึงการขาดความรู้เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในแง่ทัศนคติและวิธีการปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรม หนังสือของวิทติง วิลเลียมสได้กล่าวถึงชีวิตของคนงานทั้งในสหรัฐอเมริกา และยุโรป บรรยายถึงความสิ้นหวัง และไม่มีความมั่นคงในการทำงาน เขาทำให้เห็นถึงจุดที่สร้างความไม่เข้าใจกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงาน เขารู้สึกว่า คนงานเองก็ไม่ค่อยฉลาดนัก ไม่รู้ถึงเป้าหมาย แผนกงาน และความคิดของเจ้านาย การศึกษาค้นคว้าของเขาทำให้เขาได้พบปัจจัยสำคัญในการทำงานของคนงานทั้งหลาย[3]

ลักษณะขององค์การ[แก้]

พฤติกรรมขององค์การใดองค์การหนึ่งในทำนองเดียวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ต้องมุ่งไปสู่เป้าหมายแทนที่จะเกิดขึ้นอย่างคาดเดา เป้าหมายหลักอย่างหนึ่งขององค์การเกือบทุกองค์การคือ ความอยู่รอด

อิทธิพลของสภาพแวดล้อมภายนอก[แก้]

อิทธิพลของสภาพแวดล้อมภายนอกมีหลายอย่างเช่น เศรษฐกิจ [[การเมือง] ] และวัฒนธรรมหลายอย่างในสภาพแวดล้อมภายนอกมีผลกระทบต่อเป้าหมาย การนำเข้า การเปลี่ยนแปลง ปัจจัยส่งออกขององค์การ มีองค์ประกอบทางด้านสภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค และคู่แข่งเป็นตัวกำหนดที่สำคัญของความต้องการซื้อสินค้าและบริการขององค์การ

การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม[แก้]

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมีที่ผลกระทบต่อองค์การ ดังนั้นองค์การต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อความอยู่รอด และความเจริญเติบโตขององค์การ องค์การจึงต้องมีการตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆภายนอกอยู่เสมอและพัฒนาแผนงานขึ้นมา เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลง[4]

พฤติกรรมของบุคคลในองค์การ[แก้]

องค์ประกอบขององค์การ[แก้]

องค์การรัฐหรือองค์การธุรกิจจำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. จุดมุ่งหมายขององค์การ หมายถึง เป้าหมายที่องค์การต้องการที่จะทำให้ประสบ ความสำเร็จ และจุดมุ่งหมายนั้นช่วยให้บุคคลในองค์การมองเห็นอนาคตได้
  2. โครงสร้างขององค์การ หมายถึง ระบบในการทำงาน และความสัมพันธ์กันของหน้าที่ต่างๆในการดำเนินงานขององค์การ
  3. บุคคล หมายถึง หมู่คนที่ทำงานร่วมกันในองค์การ ซึ่งในองค์การจะมีบุคคลที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คือ บุคคลจะถูกคาดหวังจากองค์การ ความสามารถ ทักษะ การทุ่มเทเวลาและศักยภาพในการทำงาน ในขณะเดียวกันบุคคลก็จะคาดหวังว่าจะได้รับค่าตอบแทน และความมั่นคงต่อหน้าที่การงาน
  4. สภาพแวดล้อมขององค์การ คือ สภาพแวดล้อมขององค์การมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เมสอ ถ้าองค์การใดที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ ก็จะทำให้องค์การนั้นได้เปรียบในการแข่งขัน[5]

การบริหารความขัดแย้งในองค์การ[แก้]

ความขัดแย้งเป็นเหตุการณ์ธรรมดาที่เกิดขึ้นในการอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกัน ความขัดแย้งหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคล หรือทีมงานมีความคิดไม่สอดคล้องกัน

สาเหตุความขัดแย้ง[แก้]

ความขัดแย้งเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญมีดังนี้

  1. การแข่งขันสำหรับทรัพยากร การแข่งขันสำหรับทรัพยากรเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญของความขัดแย้ง แหล่งที่มาของความขัดแย้งเรื่องการแข่งขันสำหรับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น งบประมาณ พื้นที่ วัสดุ เจ้าหน้าที่ และบริการสนับสนุน
  2. การขึ้นอยู่ระหว่างกันของงาน ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายของทั้งสองฝ่ายมีมากเท่าไหร่ ความขัดแย้งก็มีโอกาสเกิดขึ้นมากเท่านั้น
  3. ความคลุมเครือของขอบเขตของอำนาจหน้าที่ ความขัดแย้งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อขอบเขตอำนาจหน้าที่ไม่ชัดเจน
  4. ปัญหาของสถานภาพ ช่องว่างระหว่างตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานเช่น เจ้านายกับลูกน้องอาจเป็นการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสมเมื่อมีอคติ
  5. อุปสรรคของการติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารมากเกินไปอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง
  6. คุณลักษณะบุคคล เกิดจากคุณลักษณะของบุคลิกทั้งสองฝ่าย พฤติกรรมความขัดแย้งนี้จะเกิดขึ้น เมื่อทั้งสองฝ่ายมีลักษณะเผด็จการ

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง[แก้]

ความขัดแย้งหมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีความคิดเห็น ความคาดหวังและค่านิยมที่แตกต่างกัน การปฎิบัติของการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ถูกเสนอแนะขึ้นมาดังต่อไปนี้ คือ

  1. การกำหนดปัญหาควรที่จะทำร่วมกัน ในการหาข้อเท็จจริงร่วมกัน แทนที่จะฟังความข้างเดียว เราควรเอาเวลานั้นไปสำรวจหรือแก้ไขปัญหาแทน
  2. ควรกำหนดประเด็นปัญหาโดยเฉพาะ ระบุข้อตกลงและความเชื่อของแต่ละฝ่ายตั้งแต่ตอนแรก
  3. ในการสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหา แต่ละฝ่ายควรจะทำงานร่วมกัน ถ้าหากว่าเป็นไปไม่ได้แต่ละฝ่ายควรมีการเสนอทางเลือก ขอบเขต ของการแก้ปัญหาที่ยอมรับ แทนที่จะสนับสนุนทางเลือกการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เช่น มีการละเลยหรือปกปิดทางเลือกที่ใช้ในการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่เป็นไปไม่ได้
  4. เมื่อมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ที่มีประโยชน์ร่วมกันสูงสุด แต่ถ้าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราควรที่จะหาแนวทางบางอย่างเพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับอีกฝ่าย ทางเลือกการแก้ไขปัญหาจึงมีความเสอมภาคกัน
  5. ในการยุติปัญหาควรจะตกลงทุกอย่างให้เป็นการชั่วคราวก่อน จนกว่าปัญหาทุกอย่างจะได้รับการแก้ไขหมด เพราะบางปัญหาอาจสัมพันธ์ระหว่างกัน จำเป็นต้องอาศัยหลักการในการแก้ไขปัญหา

ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กับความร่วมมือของแต่ละฝ่าย ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือดีงานที่ทำก็จะออกมาดี และมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการแก้ไขปัญหาควรจะใช้วิธีที่สอดคล้องกับสถานการณ์ คำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจ[6]

สรุป[แก้]

พฤติกรรมขององค์การเป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ และองค์การจำเป็นต้องมีแบบแผน การแบ่งส่วนงาน การจัดบุคลากร การจัดการทรัพยากร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมองค์การ . goo.gl/tWkE16 , (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2560).
  2. รศ.สนธิ์ บางยี่ขัน. (2547). การวิเคราะห์องค์การ:พฤติกรรมองค์การ. หน้า 1 , 2
  3. สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. หน้า 3, 4 , 5 ,6 ,7
  4. รองศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ. (2537). พฤติกรรมองค์การ. หน้า 11 , 12
  5. Jaitip Mamee , พฤติกรรมองค์การ . goo.gl/vMh2fl , (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2560).
  6. รองศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ. (2537). พฤติกรรมองค์การ. หน้า 255 , 256 , 263 , 264