ผู้ใช้:Potida/กระบะทราย4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:American cuisine

บาร์บีคิว(ที่รู้จักกันว่า บาร์บีคิวหมู)ถือเป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่ส่วนหนึ่งและเป็นประวัติศาสตร์ของรัฐนอร์ทแคโรไลนา บาร์บีคิวทำให้เกิดการออกกฎหมายและฏีกาหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง และบางครั้งก็เป็นประเด็นทางการเมือง จากการที่มีบาร์บิคิวที่แตกต่างกัน 2 แบบที่ได้พัฒนาขึ้นในช่วง 2-3 ศตวรรษที่ผ่านมา คือ แบบเลกซิงตันและแบบตะวันออก ทั้งสองแบบเป็นบาร์บิคิวหมู แต่แตกต่างที่ส่วนของหมูที่ใช้และซอสปรุงรสที่ถูกเสิร์ฟมาด้วยกัน นอกจากนี้ ยังมีบาร์บีคิวอีกหลายแบบที่หลากหลายพบได้ทั่วไป 

ประวัติความเป็นมา[แก้]

A barbecue pit depicted in A Southern Barbecue, 1887, by Horace Bradley

อิทธิพลทางวัฒนธรรม[แก้]

บาร์บีคิวในรัฐนอร์ทแคโรไลนาได้รับสิ่งดีมาจากอิทธิพลที่หลากหลาย เช่น จากกลุ่มที่อยู่มาดั้งเดิม, กลุ่มทาสชาวแอฟริกันในไร่[1], รวมถึงอิทธิพลสมัยใหม่ เช่น จากอุปกรณ์ใหม่ๆ และวิธีใหม่ๆในการประกอบอาหารประเภทเนื้อ

งาน"พิกพิคคิ้น'"ทำให้การย่างบาร์บีคิวกลายเป็นการรวมตัวทางสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแคโรไลนา

การเมืองเรื่องบาร์บีคิว[แก้]

มีความบาดหมางที่ไม่น่าเป็นห่วงอยู่บ้างระหว่างกลุ่มคนที่สนับสนุนบาร์บีคิวสองแบบ คือ แบบเลกซิงตันและแบบตะวันออก [ต้องการอ้างอิง] ผู้เขียน เจอรี่ เบลดซอที่ยกให้ตัวเองเป็น "ผู้มีอำนาจมากสุดในวงการบาร์บิคิวชั้นนำของโลก" กล่าวว่า เดนนิส โรเจอร์ส(นักวิจารณ์ใน เดอะราลีนิวส์แอนด์ออบเซิร์ฟเวอร์และอ้างตนเป็น "เทพพยากรณ์แห่งอาหารศักดิ์สิทธิ์") "ได้ทำลายโอกาสที่จะทำให้รัฐนี้มีชื่อเสียงโดดเด่นในเรื่องบาร์บีคิว"[2] ในขณะความบาดหมางยังมีความขบขันปนๆ อยู่ การเลือกแบบบาร์บีคิวก็มีผลกระทบกับการเมืองด้วย ในปี คศ.2006, กฎหมายจากสภานอร์ทแคโรไลนา 21[3] and North Carolina Senate Bill 47[4] ได้นำเสนอ(และในที่สุด ก็ไม่ผ่าน)จุดประเด็นโต้แย้งว่า บาร์บีคิวแบบไหนจากสองแบบที่กล่าวก่อนหน้านี้ให้ประกาศ "เป็นทางการ"ที่จะใช้ในเทศกาลเลกซิงตันบาร์บีคิวที่เป็นเทศกาลบาร์บีคิวอย่างเป็นทางการของรัฐนอร์ทแคโรไลนา.[5]

ในการประนีประนอมทางการเมืองปี คศ. 2007 กฎหมายจากสภานอร์ทแคโรไลนา 433[6] ได้ผ่าน การยินยอมให้เทศกาลเลกซิงตันบาร์บีคิวเป็น "เทศกาลอาหารอย่างเป็นทางการในแถบพายด์มอนท์ไตรแอทของรัฐนอร์ทแคโรไลนา" จากกฎหมายนี้ มีผลให้เกิดการข้ามผ่านความขัดแย้งที่เกี่ยวกับบาร์บีคิวแบบตะวันออกกับบาร์บีคิวในย่านนั้น และยังป้องกันการสับสนกับเรื่องตำแหน่งบาร์บีคิวอย่างเป็นทางการหนึ่งเดียวของรัฐ[7]


ชนิดของบาร์บีคิว[แก้]

แบบเลกซิงตัน[แก้]

บาร์บีคิวแบบเลกซิงตัน (บางครั้งเรียกว่า แบบพีดมอนท์) ใช้ซอส "สีแดง" ที่มีน้ำส้มสายชูเป็นส่วนประกอบ โดยมีส่วนผสมของซอสมะเขือเทศ น้ำส้มสายชู และ พริกไท ร่วมกับเครื่องเทศอื่น ๆ ที่แตกต่างไปในแต่ละสูตร ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ที่พีดมอนท์ (ส่วนกลาง)และทางตะวันตกของรัฐ โดยจะใช้แค่ส่วนไหล่ของหมู เช่นเดียวกับรูปแบบอื่น ๆ ของบาร์บีคิว สูตรของแบบนี้ก็แตกต่างกันและอาจรวมถึงส่วนผสมที่หลากหลายแตกต่างกันและมีรสชาติตั้งแต่หวานเล็กน้อยถึงทั้งร้อนและเผ็ด ซอสยังนำไปผสมเป็นเครื่องปรุงรสสำหรับ"เรดสลอว์" (หรืออาจจะเรียกว่า "บาร์บีคิวสลอว์") ซึ่งหมายถึง โคลสลอว์ที่ใช้เลกซิงตันบาร์บิคิวซอสแทนมายองเนส.

แบบตะวันออก[แก้]

บาร์บีคิวแบบตะวันออก เป็นบาร์บีคิวแบบที่ใช้หมูทั้งตัว มีจะพูดกันว่า ใช้ "ทุกส่วนของหมูยกเว้นเสียง"[5] ซอสแบบตะวันออกมีแค่น้ำส้มสายชูและพริกไทเป็นหลัก โดยไม่มีการใส่มะเขือเทศเลย [8] สำหรับสลอว์ของแบบตะวันออก ก็จะไม่มีซอสมะเขือเทศแต่จะมีมายองเนส(หรือน้ำสลัดที่ตีแล้ว)เป็นส่วนประกอบมาตรฐาน[9]

ซี่โครงหมู[แก้]

นอกจากแบบที่กล่าวถึงทั้งสองแล้ว บาร์บีคิวแบบซี่โครงหมูเป็นอีกแบบที่เป็นบาร์บีคิวทางเลือกในรัฐนอร์ทแคโลไรน่า ในงานเทศกาลการประกวดแข่งขันต่างๆ เช่น Twin City RibFestที่มีขึ้นทุกปี เบบี้แบค-ริบ บางครั้งเรียกว่าเนื้อซี่โครงด้านบน จะเป็นซี่โครงสั้นๆ ฉ่ำ เนื้อซี่โครงลายหินอ่อนจากส่วนศูนย์กลางของเนื้อซี่โครง สแปร์ริบมาจากส่วนล่างของซี่โครงที่ต่อมาจากเบบี้แบค-ริบ (จากด้านข้างและหน้าท้องบนของหมู)จะมีขนาดใหญ่กว่าและยาวกว่าเบบี้แบค ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มากกว่า และเหนียวกว่าเล็กน้อย แต่ก็มีรสชาติกว่า [10]

แบบอื่นๆ[แก้]

มีบาร์บีคิวที่ได้รับอิทธิพลจากเทกซัส เซนต์หลุยส์ แคนซัสซิตี้ จาไมก้า และที่อื่นๆ ขายอยู่ทั่วไปในร้านอาหารที่นอร์ทแคโรไลน่า แต่มักจะเพิ่งเริ่มมีมาในเร็วๆ นี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของที่นี่ อย่างไรก็ตาม การที่มีบาร์บีคิวแบบต่างๆ ก็มีความสำคัญ เพราะเป็นทางเลือกที่หลากหลายสำหรับบาร์บีคิวในรัฐนอร์ทแคโรไลน่า นอกจากนี้ คนนอร์ทแคโรไลน่ายังมีการทำบาร์บีคิวที่ใช้ส่วนต่างๆของเนื้อชนิดต่างๆกัน เช่น ไก่ และ เนื้อถึงแม้จะเห็นไม่บ่อยนัก ข้อยกเว้นจากนี้ คือมีการทำ "บาร์บีคิวโบสถ์" พบในฝั่งตะวันตกของรัฐ มักจะใช้ไก่ทำบาร์บีคิวและเสิร์ฟกับซอสที่ทำกับน้ำส้มชนิดพิเศษ นอกจากนี้ บาร์บีคิวโบสถ์โดยทั่วๆไปหมายถึง บาร์บีคิวหมู หรือที่เรียกกันว่า "ยกกลับหมู"[ต้องการอ้างอิง]

"พิกพิคคิ้น'" คือชื่อบาร์บีคิวที่เรียกอย่างนั้นเพราะมันใช้เวลาเตรียมหลายชั่วโมงจนถึงเป็นวัน ดังนั้น คนในชุมนุม ในเมือง หรือในครอบครัวต้องผลัดกันมาคอยเฝ้าคุมไฟ ทาหมูด้วยน้ำซอส และกินไปย่างไป คนย่างจะถือแปรงทาซอส ซ้อม และมีด ทำให้ได้มีโอกาสได้ชิ้มรสไปด้วย ความจริงที่ว่าคนย่างจะได้กินไปย่างไป ตลอดจนการใช้เวลานาน และต้องมีการเปลี่ยนผลัดหลายผลัดในการช่วยย่าง ทำให้ตอนมีคนจำนวนมากได้มีโอกาสได้ทานไปด้วย "แซนด์วิชเลยเป็นแค่ของเหลือ" ในการย่างอาจจะมีตะกร้าขนมปังว่า อยู่ข้างเตาย่างหรือโต๊ะปิคนิคใกล้ๆ มันถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ จะมีการลากเตาย่างจากร้านให้เช้า(บางคนอาจจะมีของตัวเองหรือของเมืองชนบทเล็กๆ)และคนแถวนั้นก็จะมา"ช่วย"ย่าง

วิธีการทำ[แก้]

แบบหลุม[แก้]

A wood-fired barbecue pit.

บาร์บีคิวแบบหลุมเป็นวิธีและเตาที่สร้างขึ้นจะฝังอยู่ใต้พื้นดินสำหรับย่างเนื้อและผักแบบมีหัวที่ใช้ทำบาร์บีคิว ชนพื้นเมืองทั่วโลกใช้เตาอบดินมาเป็นหมื่นๆปีแล้ว ในปัจจุบัน คำและกิจกรรมนี้มักจะใช่ร่วมกับแถวชายฝั่งตะวันออก, แถบ"บาร์บีคิวเบลท์", แถบอาณานิคมของแคลิฟอร์เนียทั้งในสหรัฐและเม็กซิโก เนื้อที่มักจะใช้ทำบาร์บีคิวแบบหลุมในที่นี้คือเนื้อวัว หมู และแพะ แต่หมูจะถูกใช้เป็นหลักในนอร์ทแคโรไลน่า

บาร์บีคิวแบบหลุมยังหมายถึง เตาที่อยู่บนพื้นดินที่เป็นแบบปิดอย่างเช่นโอโนหรือเตาอบพิซซ่ากลางแจ้ง วิธีการทำให้เนื้อสุกต้องเป็นไปอย่างช้าๆ โดยใช้ไม้เนื้อแข็งชนิดต่างๆ ทำให้เนื้อมีกลิ่น ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อในเนื้อขาดออกจากกันมีผลให้เนื้อนุ่ม โดยเนื้อที่ใช้มักจะเป็นเนื้อวัวและเนื้อหมู [11][12]

แบบกล่องรมควัน[แก้]

ตรงข้ามกับการย่าง[แก้]

บ่อยครั้ง ที่มีการใช้คำว่า "การบาร์บีคิว" และ "การย่าง" แทนกันผิดๆ ทั้งๆที่คำทั้งสองเป็นวิธีการประกอบอาหารที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การย่างเป็นวิธีการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนตรงๆ จากการเผาไม้ ถ้าน หรือไฟจากแก๊ซโดยไฟจะโดนตรงกับอาหาร โดยทั่วไปจะทำให้อาหารสุกเร็ว บาร์บีคิวเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาโดยใช้ความร้อนที่ต่ำกว่าและบ่อยครั้งที่อาหารจะสุกจากความร้อนจากควันมากกว่าความร้อนโดยตรงจากไม้ที่ไหม้ไฟ

เทศกาลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบาร์บีคิว[แก้]

Lexington Barbecue Festival

เทศกาลบาร์บีคิวเลกซิงตันเป็นเทศกาลแบบหนึ่งวันในเดือนตุลาคมแต่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 160,000 คนมาที่เลกซิงตัน นอร์ทแคโรไลน่าได้[13][14] เทศกาลนี้จะมีขึ้นทุกเดือนตุลาคนทางตอนบนของเมืองเลกซิงตันที่มีประชากรอยู่ประมาณ 20,000 คน ถนนหลักหลายช่วงถูกปิดไม่ให้เดินรถเพื่อจัดเทศกาลนี้ นอกจากการแข่งขันบาร์บีคิวแล้ว ยังมีเครื่องเล่นสวนสนุก ดนตรีและความบันเทิงหลากหลาย รวมถึงมีผู้ค้ามากกว่า 100 รายจากทั่วรัฐเข้าร่วม เทศกาลนี้ถือเป็นเทศกาลอาหารอย่างเป็นทางการในแถบพายด์มอนท์ไตรแอทของรัฐนอร์ทแคโรไลนา.[6][7]

ในปี คศ.2012 ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ทได้จัดลำดับให้เลกซิงตันเป็นที่ 4 ในลำดับเมืองบาร์บีคิวที่เยี่ยมที่สุดในสหรัฐ [15]

งานประจำปีนี้ได้ถูกจัดอยู่ในหนังสือ 1000 ที่ๆต้องไปเห็นในสหรัฐและแคนาดาก่อนคุณตายเป็นส่วนหนึ่งของชุดหนังสือที่ขายดีที่สุด11000 ที่ๆต้องไปเห็นก่อนคุณตาย.[16]

เทศกาลอื่นๆ[แก้]

นอกจากนี้ ยังมีเทศกาลต่างๆ ทั้งใหญ่และเล็กทั่วสหรัฐที่ดึงดูดผู้คนเป็นล้านล้านนำมาซึ่งเศรษฐกิจที่ดีขึ้นให้กับท้องถิ่นนั้นๆ [17][18]

See also[แก้]

References[แก้]

  1. "North Carolina History Projects - Goldsboro Barbecue". UNC. สืบค้นเมื่อ June 12, 2012.
  2. ABC News: Smoke, Fire as BBQ Bigshots Battle Over Ketchup
  3. NC House Bill 21
  4. NC Senate Bill 47
  5. 5.0 5.1 USA Today article Children's civics lesson fires up age-old debate over barbecue
  6. 6.0 6.1 NC House Bill 433
  7. 7.0 7.1 State library
  8. Garner, Bob. North Carolina Barbecue: Flavored by Time. John F. Blair, Publisher, 1996. p. 19.
  9. Reed, J.S., Reed, D.V.,& McKinney, W. III. (2008). Holy Smoke. The Big Book of North Carolina Barbecue. Chapel Hill, NC: The University of North Carolina Press.
  10. Raichlen, S. (2003). BBQ USA. New York, NY: Workman Publishing Company, Inc.
  11. "A Sociology of Rib Joints" by P. D. Holley and D. E. Wright, Jr., Mark Alfino; และคณะ, บ.ก. (1998). McDonaldization Revisited: Critical Essays on Consumer Culture. Praeger Publishing Company. ISBN 0-275-95819-1. {{cite book}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |editor= (help)
  12. Raymond Sokolov (June 30, 2007). "The Best Barbeque". The Wall Street Journal.
  13. "North Carolina Barbecue Society: Worship at the Cradle of 'Cue". Cool Stretch of Highway. June 8, 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  14. Iannuzzi, Phil (2014-04-18). "The Annual Lexington Barbecue Festival". Cave Tools. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
  15. Bratcher, Emily H. (2012). "America's Best BBQ Cities". US News and World Report. สืบค้นเมื่อ June 12, 2012.
  16. Schultz, Patricia (2007). 1,000 Places to See in the U.S.A. & Canada Before You Die. Workman Publishing Company. ISBN 978-0-7611-3691-0.
  17. "Events in North Carolina". North Carolina Barbecue Society. Updated regularly. สืบค้นเมื่อ June 12, 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  18. Raichlen, Steven (2003). BBQ USA. New York, NY: Workman Publishing Company, Inc. pp. 286–287. ISBN 0761120157.
  19. Reed, John; Reed, Dale; McKinney, William (2008). Holy Smoke. The Big Book Of North Carolina Barbecue. Chapel Hill, NC: The University of North Carolina Press. p. 126. ISBN 978-0-8078-3243-1.

External links[แก้]

แม่แบบ:North Carolina แม่แบบ:Barbecue