ผู้ใช้:Nuttapol Kaewsakoo/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการ (Management)[แก้]

การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือการสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน การจัดการทรัพยากรประกอบด้วยการใช้งานและการจัดวางทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดประโยขน์สูงสุด

คำจำกัดความของการจัดการ[แก้]

นักวิชาการหลายท่านได้ให้คำจัดกัดความของการจัดการไว้ดังนี้

การจัดการ หมายถึง"ภารกิจของบุคคลบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนหลายคน (ที่เรียกว่าผู้บริหาร) ที่เข้ามาทำหน้าที่ประสานให้การทำงานของบุคคลที่ต่างฝ่ายต่างทำ และไม่อาจประสบผลสำเร็จจากการแยกกันทำ ให้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยดี"[1]

การจัดการ (Management) หรือ องค์การและการจัดการ (Organization and Management) เป็นทักษะพื้นฐานในด้านการศึกษาและการบริหาร เพื่อการเตรียมความพร้อมในการทำงานในองค์การ ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจอุตสาหกรรมและการบริการ รวมถึงองค์การที่ไม่แสวงหากำไรต่างๆ เช่น องค์การศาสนา โรงเรียน โรงพยาบาล และมูลนิธิต่างๆ เป็นต้น[2]

การจัดการ หมายถึง "การประสมประสานทรัพยากรต่างๆที่ตนมีอยู่ อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การได้"[3]

การจัดการ ในความหมายของงานด้านการจัดการ คือ วิธีการปฏิบัติเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมาย โดยทั่วไปการจัดการอาจให้คำจำกัดความว่า การจัดการ พัฒนาและประยุกต์ใช้ซึ่งทรัพยากรต่างๆ ทรัพยากรนั้น อาจหมายถึง พนักงาน อันเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่ง ดังนั้นผู้จัดการจึงควรต้องใช้ความพยายามในการวางแผนงาน บัญชางานและควบคุมการทำงานของพนักงาน[4]

การจัดการ หมายถึง การจัดการและวิชาการบางอย่างจะให้คำจำกัดความหลากหลาย แต่เดิม 'Manus' ในภาษาละติน หมายถึง มือหรือคนที่ควบคุมบังเหียนม้า โดยมีการทำงานเป็นทีมในการที่จะดึงรถเข็นหรือรถม้า[5]

คุณลักษณะของการจัดการ[แก้]

การจัดการมีหน้าที่โดยหลักที่สำคัญที่จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จโดยเป็นการอาศัยบุคคลอื่นเป็นผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ผู้บริหารทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการจัดการ (Management Process) เข้าใจถึงกระบวนการจัดการ และมีการฝึกฝนเพื่อให้มีทักษะมากขึ้น อันจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในองค์การ ผู้บริหารนั้นจะมีการบริหารแผนกงานต่างๆอันจัดเป็นหน่วยงานที่ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานโดยมีเครื่องมือต่างๆแผนกงานที่จัดขึ้นเป็นกลุ่มๆ โดยทุกองค์การจัดขึ้นมาเพื่อเป็นแบบแผนในการดำเนินงานหริอปฏิบัติกิจกรรมต่างๆให้บรรลุผลตามวัตถุประสงคืที่ตั้งไว้[6]

ความสำคัญของการจัดการ[แก้]

ในอดีตคนส่วนมากเห็นว่าการจัดการถือมีความสำคัญในการจัดการองค์การต่างๆเป็นอย่างมาก แต่ก็มีคนส่วนน้อยยังเห็นว่าการจัดการยังไม่มีความจำเป็นที่จะศึกษาให้มากนัก ดังนั้นจึงมีการเกิดความไม่เข้าใจที่ไม่ถูกต้องตรงกันเกิดขึ้น ซึ่งยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป สังคมในปัจจุบันย่อมมีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้า องค์การต่างๆย่อมเห็นความสำคัญของการจัดการเพื่อประสิทธิภาพขององค์การ อีกทั้งยังถือเป็นตัวกำหนดความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์การ คอยชี้นำและกำกับให้องค์การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ การจัดการจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จในการทำงานโดยผลสำเร็จต้องมาจากส่วนรวม ทั้งนี้การทำงานในด้านต่างๆการประสานงานจะสอดคล้องกับงานที่กระทำโดยฝ่ายอื่นๆด้วย[7]

บุคคลที่เป็นผู้บริหาร[แก้]

การจัดการหรือการจัดการองค์การ จำเป็นต้องมีผู้บริหาร (Manager) ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นผู้นำหรือทำหน้าที่ในการเป็นหัวหน้าในการปฏิบัติงานในองค์การและเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จตามเป้าหมายหรือวัตุประสงค์ในองค์การ ทั้งนี้โดยวิธีการอาศัยบุคคลอื่นเป็นผู้ที่ทำให้งานขององค์การนั้นประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ[8]

บทบาททางการบริหารจัดการ[แก้]

ผู้บริหารแต่คนมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทขององค์การ ระดับตำแหน่งของผู้บริหารแต่ละองค์การ แต่บทบาทนั้นยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบทบาททางการบริหารจัดการ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Roles) มีบทบาทเฉพาะ ดังนี้
     1.1 บทบาทในการเป็นผู้นำ (Leader Role)
     1.2 บทบาทในการเป็นสัญลักษณ์ (Figurehead Role)
     1.3 บทบาทในการประสานงาน (Liaison Role)
2.บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Role) มีบทบาทเฉพาะ ดังนี้
     2.1 บทบาทในการติดตาม (Monitoring Role)
     2.2 บทบาทในการกระจายข่าวสาร (Disseminator Role)
     2.3 บทบาทในการเป็นพิธีกรหรือโฆษก (Spokeperson Role)
3. บทบาทในด้านการตัดสินใจ (Dicisional Roles) มีบทบาทเฉพาะ ดังนี้
     3.1 บทบาทในการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneunial Role)
     3.2 บทบาทในการแก้ไขปัญา (Disturbance Handler Role)
     3.3 บทบาทในการเจรจาต่อรอง (์Negotiator Role)[9]

มุมมองนักบริหารของแต่ละประเทศต่อแนวคิดการจัดการ[แก้]

ในสังคมโลกมีผู้ให้ความหมายและมุมมองของการจัดการไว้หลากหลาย มีแนวคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้ากลับไปมองอดีตมีหลักฐานที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ คำว่า การจัดการ (Management) และผู้จัดการ (Manager) มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเฉพาะบทกวีของ เชคสเปียร์ ที่มีชื่อว่า "Love's Labour's Lour"(Act I,scene II, 188) ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่าการจัดการและการบริหารนั้นมีมานานไม่น้อยกว่า 400 ปีเศษแล้ว[10] คำว่า "จัดการ" มีรากศัพท์ มาจากภาษาละติน หรือ Manus หมายถึง มือ แต่ในภาษาอิตาเลียนเขียนว่า Managgiare ซึ่งหมายถึง การฝึกม้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมของคน และความหมายของคำนี้ก็ได้ขยายขอบเขตออกมาเรื่อยๆจนรวมไปถึงการควบคุมสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่ม้า ไม่ว่าจะเป็นวงดุริยางค์ เครื่องเล่นดนตรี เป็นต้น และมีชาวฝรั่งเศส ให้คำว่า "จัดการ" มีความหมายตรงกับคำว่า "Husbandry" ซึ่งความหมายนั้นได้ออกไปทำนองว่า เป็นการจัดการที่เกี่ยวกับการดูแลบ้านเรือน หรือ (The art of running a household)[11] สำหรับความหมายของ การจัดการ ที่ใช้กันมาทุกวันนี้มาจากหนังสือที่มีชื่อว่า The wealth of nations ของ อดัม สมิท (Adam smith) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ โดยคำต่างๆของนายอดัม สมิท ได้ถูกนำมาใช้โดยนายจอร์น สจ๊วต มิล (Johe Stuart mill) ในระหว่างมีชีวิต ตั้งแต่ ค.ศ.1806-1873 และมีการใช้โดยแพร่หลายอีกครั้ง ใช่วงปลาย ค.ศ.1800 ได้เป้นที่นิยมและรู้จักกันดีในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ขณะนั้น[12] ในประเทศสหรัฐอเมริกา คำว่า "การจัดการ" ถูกนำมาใช้โดยวิศวกรชาวอเมริกันจนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1903 นายเฟอเดอริค ดับบลิว เทย์เลอร์ (Frederick W. Taylor) ได้มีการเขียนหนังสือโดยมีชื่อว่า "การจัดการ" ซึ่งแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา และมีความสนใจเพิ่มมากขึ้น เมื่อหนังสือเล่มนี้ได้มีชื่อเสียง นายเฟอเดอริค ดับบลิว เทย์เลอร์ ก็ได้ออกหนังสืออีกเล่มในปี 1911 คือ "The Principles of Scientific Management"[13] จากนั้นมา คำว่า "การจัดการ" ได้ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป แต่ถึงแม้หนังสือจะมีการเขียนในการให้ความหมายที่เหมือนกันแต่มุมมองของแต่ละประเทศก็ยังคงมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านความเชื่อ ความคิดเห็น หรือทัศนคติของคนในทุกประเทศ แม้ว่าโลกนี้จะมีสังคมแบบเดียวกันความในความเป็นจริงก็ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่


อ้างอิง[แก้]

  1. ธงชัย สันติวงษ์.(2545).การจัดการ.หน้า 3.
  2. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ฉัตยาพร เสมอใจ.(2547).การจัดการ (Management).หน้า 16.
  3. ปรานี พรรณวิเชียร.(2528).วิชาหลักการจัดการ.หน้า 15.
  4. Lester R. Bittel.(2539).การจัดการ Management.(แปลโดย ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณและสิทธิชัย ตันศรีสกุล).หน้า 5.
  5. Malcolm Peel.(1993).Introdution to Management.หน้า 1.
  6. ธงชัย สันติวงษ์.(2545).การจัดการ Management.หน้า 11.
  7. ธงชัย สันติวงษ์.(2545).การจัดการ.หน้า 9-11.
  8. ธงชัย สันติวงษ์.(2545).การจัดการ.หน้า 5.
  9. สาคร สุขศรีวงศ์.(2550).การจัดการ:มุมมองนักบริหาร.หน้า 32.
  10. จุฑา เทียนไทย.(2550).การจัดการมุมมองนักบริหาร.หน้า 16.
  11. จุฑา เทียนไทย.(2550).การจัดการมุมมองนักบริหาร.หน้า 16-17.
  12. จุฑา เทียนไทย.(2550).การจัดการมุมมองนักบริหาร.หน้า 17.
  13. จุฑา เทียนไทย.(2550).การจัดการมุมมองนักบริหาร.หน้า 16-17.