ผู้ใช้:Nix Sunyata/กระบองลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟนบาสเก็ตบอลชายของ Kansas Jayhawks เฉลิมฉลองช่วงดึกที่ Phog ด้วยกระบองลมเชียร์กีฬา
กระบองลมเชียร์กีฬาที่ยังไม่ได้เป่าลม

กระบองลม หรือ กระบองลมเชียร์กีฬา หรือ กระบองพลาสติกอัดลม[1] (Thundersticks - ธันเดอร์สติ๊ก) บางครั้งเรียกว่า แบมแบม เป็นลูกโป่งพลาสติกทรงกระบอกยาวที่ใช้ในการสร้างเสียงที่ดังกว่าและใช้แรงน้อยกว่าการตบมือ โดยการตีกระบองลมสองอันกระทบกัน นอกจากนี้ยังใช้โบกประกอบจังหวะการเชียร์และสามารถพกพาได้สะดวกด้วยการเป่าลมเมื่อต้องการใช้ โดยทั่วไปมักใช้ในการแข่งขันกีฬา

ที่มาและความนิยม[แก้]

กระบองลมเชียร์กีฬา หรือธันเดอร์สติ๊ก (thunderstick) ในภาษาอังกฤษ หรือเรียกในภาษาเกาหลีว่า makdae pungseon (แปลว่า hard-hitting balloons) เนื่องจากสร้างและใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1994 ในเกาหลีใต้โดย BalloonStix Korea ในการแข่งขันเบสบอล LG Twins[2][3][4][5] ต่อมาพวกเขาได้รับความนิยมในอเมริกาเหนือ เมื่อแฟน ๆ ของ Anaheim Angels ใช้ในช่วง World Series ปี 2002 ปัจจุบันแฟนกีฬาหลายทีมใช้กระบองลมเชียร์เพื่อแสดงการเชียร์กีฬา เช่น ฟุตบอล[6] วอลเล่ย์บอล วิ่งทางไกล[7] และยังใช้ในกิจกรรมการแสดงอื่น ๆ รวมทั้งในการแสดงคอนเสิร์ต แต่ปัจจุบันกระบองลมถูกห้ามนำเข้าคอนเสิร์ตเนื่องจากมีเสียงที่ดังเกิน รบกวนการแสดงและผู้ชมอื่น ๆ [8]

กระบองลมเชียร์กีฬาบางครั้งก็มีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น "แบงเกอร์" [9]

อ้างอิง[แก้]

  1. ไทยรัฐ ตร.เชียงใหม่ผวา นำกำลังตรึงแดง ที่แท้เกาหลีใต้เชียร์บอล 12 มิถุนายน 2553.
  2. "막대풍선이란?". 벌룬스틱스 코리아 주식회사. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
  3. "전태수 사장이 밝히는 막대풍선의 역사". 동아닷컴 (ภาษาเกาหลี). 27 October 2008. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
  4. Mercer, Bobby (18 March 2011). ManVentions: From Cruise Control to Cordless Drills - Inventions Men Can't Live Without (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 9781440510748. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
  5. ReadAlert เกิดทันมั้ย? แท่งไฟแบบเนี้ย! 12 พฤศจิกายน 2562.
  6. ไทยรัฐ ตร.เชียงใหม่ผวา นำกำลังตรึงแดง ที่แท้เกาหลีใต้เชียร์บอล 12 มิถุนายน 2553.
  7. Pantip Buriram Marathon งานมาราธอนที่นักวิ่งมีความสุขที่สุดและยิ่งใหญ่ไม่เหมือนใคร 15 กุมภาพันธ์ 2560.
  8. กฎระเบียบและข้อห้ามคอนเสิร์ต 4 กุมภาพันธ์ 2561.
  9. Daniel Engber. "Who Made That Inflatable Noisemaker?" The New York Times, June 13, 2014