ผู้ใช้:Mayrakis/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:กล่องข้อมูล เอบียู การแข่งขันเอบียูโรบอตคอนเทสต์ในปี ค.ศ. 2003 นั้น เป็นปีที่สองของการจัดการแข่งขันเอบียูโรบอตคอนเทสต์ ซึ่งทางเอบียูได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งนี้ โดยทางเจ้าภาพนั้นได้กำหนดกติกาการแข่งขันและใช้ชื่อการแข่งขันนี้ว่า Takraw Space Conqueror หรือชื่อภาษาไทยว่า ตะกร้อพิชิตจักรวาล ซึ่งประเทศไทยนั้นได้ส่งทีม นายฮ้อยทมิฬ จากวิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน และทีม Yuppicide จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งทั้งสองทีมเป็นผู้ชนะในการแข่งขันหุ่นยนต์เอบียูชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยในกลุ่มสถาบันอาชีวะศึกษาและอุดมศึกษาตามลำดับ เข้าร่วมแข่งขันกับอีก 18 ทีม จาก 18 ประเทศ(ไม่รวมประเทศไทย) และในที่สุดทีม นายฮ้อยทมิฬ จากวิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน ประเทศไทย ก็สามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขันครั้งนี้ได้สำเร็จ

ที่มาของกติกาการแข่งขัน[แก้]

ที่มาของกติกาการแข่งขันนั้นมีที่มาจากกีฬาตะกร้อลอดห่วง ซึ่งเป็นกีฬาพื้นบ้านชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยผู้เล่นต้องเตะลูกตะกร้อเพื่อให้เข้าไปอยู่ในห่วงที่แขวนสูงจากพื้น ซึ่งผู้เล่นที่สามารถเตะลูกตะกร้อลงห่วงได้มากนั้นจะถือได้ว่ามีความสามารถในการเล่นตะกร้อเป็นอย่างดี

สนามแข่งขันและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน[แก้]

ไฟล์:ABU 2003 Field.jpg
รูปของสนามแข่งขัน และรายละเอียด

รูปด้านบนนี้เป็นรูปของสนามแข่งขัน ซึ่งเป็นพื้นที่รูป 16 เหลี่ยมมีไม้กั้นโดยรอบ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 เมตร และแต่ละด้านของสนามมีความยาว 2.7 เมตร โดยมีพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

  • เขตเริ่มต้นของหุ่นยนต์ทั้งสองทีม ทั้งเขตหุ่นยนต์บังคับด้วยมือและหุ่นยนต์อัตโนมัติ มีขนาด 1.2 X 1.2 เมตร มีสีแดง กับ น้ำเงิน อยู่ที่บริเวณดังกล่าว โดยจะอยู่ติดกับมุมของสนามในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหุ่นยนต์แต่ละประเภท
  • เขตลูกตะกร้อ มีขนาด 1.2 X 1.2 เมตร โดยจะอยู่ตรงข้ามกับเขตเริ่มต้นของหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ ซึ่งในบริเวณดังกล่าวจะมีลูกตะกร้อสีเดียวกันกับสีพื้นของเขตเริ่มต้นของหุ่นยนต์บังคับด้วยมือที่อยู่ตรงข้ามกันอยู่ 16 ลูก ซึ่งจัดเรียงในลักษณะ 4 X 4
  • แนวเส้นสีขาวสำหรับหุ่นยนต์อัตโนมัติ เป็นแนวเส้นกว้าง 3 เซนติเมตร ตัดกันเป็นลักษณะดังในรูป
  • เขตต้องห้ามสำหรับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ เป็นพื้นที่รูป 16 เหลี่ยมมีไม้กั้นโดยรอบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เมตร และแต่ละด้านของเขตดังกล่าวมีความยาว 1.5 เมตร บนพื้นสนามมีสีเขียวเข้ม
  • ชุดห่วง เป็นห่วงวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร จำนวน 3 ห่วง โดยที่ห่วงทั้งสามจะยึดติดกันในลักษณะสามเหลี่ยม และแต่ละห่วงจะมีตาข่ายเป็นของตัวเอง ซึ่งในแต่ละห่วงเมื่อวัดถึงกึ่งกลางของห่วงจะถูกแขวนไว้ในระดับความสูงต่างๆ ดังนี้
    • ห่วงวงนอก แขวนสูงจากพื้นสนาม 1.5 เมตร
    • ห่วงวงใน แขวนสูงจากพื้นสนาม 2 เมตร
    • ห่วงกลาง แขวนสูงจากพื้นสนาม 3 เมตร
  • ลูกตะกร้อ เป็นลูกตะกร้อพลาสติกสีเดียวทั่วทั้งลูก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13.5 เซนติเมตร และหนัก 155 กรัม

กติกาการแข่งขันโดยสังเขป[แก้]

หุ่นยนต์ของทั้งสองฝ่ายจะต้องยิงลูกตะกร้อซึ่งมีสีเดียวกันกับสีของทีมตนเองลงในห่วงต่างๆ ซึ่งคะแนนที่ได้เป็นดังนี้

  • ห่วงกลาง ตาข่ายละ 5 คะแนน
  • ห่วงด้านใน ตาข่ายละ 2 คะแนน
  • ห่วงด้านนอก ตาข่ายละ 1 คะแนน

ซึ่งถ้าหุ่นยนต์ของทีมใดสามารถยิงลูกตะกร้อลงครบทั้ง 9 ห่วง และยิงลงในห่วงกลางครบทั้ง 3 ตาข่ายแล้ว ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชนะแบบทำภารกิจสำเร็จโดยทันที

แต่ถ้าเกิดกรณีแข่งขันกันจนครบ 3 นาทีแล้วปรากฏว่าคะแนนเสมอกัน กรรมการจะทำการหาผู้ชนะโดยการนับคะแนนที่ได้จากห่วงกลาง และจำนวนตาข่ายที่แต่ละทีมยิงได้ของทุกห่วงตามลำดับ ทีมใดทำได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ

ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันและการแบ่งกลุ่ม[แก้]

ในครั้งนี้มีทีมที่เข้าร่วมทั้งหมด 20 ทีม จากทั้งหมด 19 ประเทศ โดยที่ประเทศออสเตรเลียและศรีลังกาซึ่งเคยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในครั้งที่ผ่านมาไม่ได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ และประเทศบรูไนและฟิลิปปินส์ได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้เป็นครั้งแรก

รายชื่อทีม[แก้]

ประเทศ ชื่อทีม สถาบันการศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ส่งเข้าแข่งขัน รางวัลที่ได้
เกาหลีใต้เกาหลีใต้ ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยอินชอน KBS
(สถานีแพร่ภาพและกระจายเสียงในเกาหลีใต้)
คาซัคสถานคาซัคสถาน ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยเทคนิคนานาชาติคาซัค KA
(คาร์บาร์เอเจนซี่)
จีนจีน USTC-Qiang Qiang มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน CCTV
(จีนกลางโทรทัศน์)
และ
RTPRC
(สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศจีน)
รองชนะเลิศอันดับ 1
งานวิศวกรรมยอดเยี่ยม
ญี่ปุ่นญี่ปุ่น TuT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโทโยฮาชิ NHK
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศญี่ปุ่น)
รองชนะเลิศอันดับ 2
ความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม
Chord สถาบันเทคโนโลยีคานาซาวา รองชนะเลิศอันดับ 2
รางวัลจากกรรมการจัดการแข่งขัน
ตุรกีตุรกี ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยซาบันชิ TRT
(องค์กรการแพร่ภาพและกระจายเสียงในตุรกี)
ไทยไทย MEMI มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน
เนปาลเนปาล ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยไตรบุวัน NTV
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศเนปาล)
บรูไนบรูไน ไม่มีข้อมูล
ปากีสถานปากีสถาน Nustians มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติ PTV
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศปากีสถาน)
รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน
ฟีจีฟิจิ Pacsea มหาวิทยาลัยแปซิฟิกทางใต้ FBC
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศฟิจิ)
ศิลปกรรมยอดเยี่ยม
ฟิลิปปินส์ฟิลิปปินส์ ไม่มีข้อมูล
มองโกเลียมองโกเลีย ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมองโกเลีย MRTV
(มองโกเลียวิทยุโทรทัศน์)
มาเก๊ามาเก๊า ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยมาเก๊า TDM
(สถานีโทรทัศน์แห่งมาเก๊า)
มาเลเซียมาเลเซีย ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยสื่อผสม RTM
(สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศมาเลเซีย)
เวียดนามเวียดนาม TELEMATIC มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี้ VTV
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม)
รางวัลชนะเลิศ
รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน
สิงคโปร์สิงคโปร์ ไม่มีข้อมูล ยี่อ๋านโพลีเทคนิค องค์กรสื่อสิงคโปร์
อินเดียอินเดีย ไม่มีข้อมูล สถาบันเทคโนโลยีเนอมา DDI
(ดอร์ดาชาน)
อินโดนีเซียอินโดนีเซีย ไม่มีข้อมูล สถาบันวิศวกรเทคโนโลยีโพลีเทคนิคสุรพายา TVRI
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศอินโดนีเซีย)
อียิปต์อียิปต์ Dodo มหาวิทยาลัยอินชัม ERTV
(องค์กรความร่วมมือในการแพร่ภาพและกระจายเสียงในอียิปต์)
รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน

การแบ่งกลุ่ม[แก้]

กลุ่ม A กลุ่ม B กลุ่ม C กลุ่ม D กลุ่ม E กลุ่ม F กลุ่ม G
คาซัคสถาน คาซัคสถาน จีน USTC-Qiang Qiang มาเลเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น TuT ตุรกี ตุรกี เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ มาเก๊า มาเก๊า
เนปาล เนปาล ไทย MEMI อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม TELEMATIC ปากีสถาน Nustians ญี่ปุ่น Chord สิงคโปร์ สิงคโปร์
ฟีจี Pacsea มองโกเลีย มองโกเลีย ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ศรีลังกา ศรีลังกา อินเดีย อินเดีย อียิปต์ Dodo

ผลการแข่งขัน[แก้]

รอบแบ่งกลุ่ม[แก้]

ทีมที่ทำคะแนนได้มากที่สุดของแต่ละกลุ่ม รวมถึงทีีมที่ทำคะแนนได้สูงที่สุดในกลุ่มทีมอันดับที่ 2 ของแต่ละกลุ่มจะได้เข้าสู่รอบต่อไป ซึ่งมีดังนี้

กลุ่ม A[แก้]

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
ฟีจี Pacsea 2 2 0 9 6
เนปาล เนปาล 2 1 1 4 3
คาซัคสถาน คาซัคสถาน 2 0 2 -13 0
ฟีจี Pacsea5–2เนปาล เนปาล

กลุ่ม B[แก้]

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
จีน USTC-Qiang Qiang 2 2 0 37 6
ไทย MEMI 2 1 1 6 3
มองโกเลีย มองโกเลีย 2 0 2 -26 0
จีน USTC-Qiang Qiang17–1ไทย MEMI
จีน USTC-Qiang Qiang22–1มองโกเลีย มองโกเลีย

กลุ่ม C[แก้]

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
มาเลเซีย มาเลเซีย 2 2 0 14 + 1(R) 6
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2 0 2 -14 - 1(R) 0

กลุ่ม D[แก้]

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
ญี่ปุ่น TuT 2 2 0 22 6
เวียดนาม TELEMATIC 2 1 1 18 3
ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 2 0 2 -39 0
ญี่ปุ่น TuT7–4เวียดนาม TELEMATIC

กลุ่ม E[แก้]

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
ตุรกี ตุรกี 2 2 0 6 6
ปากีสถาน Nustians 2 1 1 -2 3
ศรีลังกา ศรีลังกา 2 0 2 -4 0
ปากีสถาน Nustians4–3ศรีลังกา ศรีลังกา
ตุรกี ตุรกี5–2ปากีสถาน Nustians

กลุ่ม F[แก้]

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
ญี่ปุ่น Chord 2 2 0 25 6
อินเดีย อินเดีย 2 1 1 -13 3
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2 0 2 -12 0
ญี่ปุ่น Chord19–3อินเดีย อินเดีย

กลุ่ม G[แก้]

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
มาเก๊า มาเก๊า 2 2 0 8 6
อียิปต์ Dodo 2 1 1 4 3
สิงคโปร์ สิงคโปร์ 2 0 2 -12 0
มาเก๊า มาเก๊า8–3อียิปต์ Dodo

กลุ่มทีมอันดับที่ 2[แก้]

ทีม ผลต่างคะแนน
เวียดนาม TELEMATIC 18
ไทย MEMI 6
อียิปต์ Dodo 4
เนปาล เนปาล 4
ปากีสถาน Nustians -2
อินเดีย อินเดีย -13
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย -14 - 1(R)


รอบแพ้คัดออก[แก้]

รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ
                   
       
  ฟีจี Pacsea  0
  จีน USTC-Qiang Qiang  21  
  จีน USTC-Qiang Qiang  18
      ญี่ปุ่น TuT  5  
  มาเลเซีย มาเลเซีย  2
  ญี่ปุ่น TuT  21  
  จีน USTC-Qiang Qiang  13
   
    เวียดนาม TELEMATIC  15
  ตุรกี ตุรกี  3
  ญี่ปุ่น Chord  10  
  ญี่ปุ่น Chord  11
      เวียดนาม TELEMATIC  12  
  มาเก๊า มาเก๊า  2
  เวียดนาม TELEMATIC  15  
 


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]