ผู้ใช้:Maybepww/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐิตินันท์ พึ่งวงษ์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดฐิตินันท์ พึ่งวงษ์
เกิด21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 (31 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย


ประวัติ[แก้]

ฐิตินันท์ พึ่งวงษ์ (อังกฤษ: Thitinan Pungwong) ชื่อเล่น : เมย์ (อังกฤษ: MAY) เกิดเมื่อวันที่ : 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 อาชีพ : นักศึกษา


ที่อยู่ปัจจุบัน/สามารถติดต่อได้  : 888/39 หมู่2 ถ.มิตรภาพ ต.สุรนารี อ.เมือง จังหวัด นครราชสีมา


E-mail : double_mario@windowslive.com


การศึกษา

  • ชั้นระดับอนุบาล จากโรงเรียน อนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • ชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนเทพวิทยา จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  • ชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย สาย ศิลป์-ภาษา จากโรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัด นครราชสีมา
  • ปัจจุบันกำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัด นครราชสีมา

ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ[แก้]

นักออกแบบฐานข้อมูล (Database Designer) ทำหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลในระบบงาน รับผิดชอบการกำหนดรูปแบบ และโครงสร้างของข้อมูล ที่จะนำมาเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล งานนี้มักจะต้องทำก่อนการจัดเก็บฐานข้อมูล โดยนักออกแบบ จะต้องสอบถามรายละเอียดต่างๆ ของข้อมูล ที่ต้องการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล จากกลุ่มผู้ใช้ เพื่อให้สามารถเข้าใจความต้องการได้อย่างถูกต้อง แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ และออกแบบ ซึ่งเมื่อออกแบบเรียบร้อยแล้ว ก็ควรจะนำไปให้ผู้ใช้ตรวจสอบว่า ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ก็จะได้แก้ไข ก่อนการพัฒนา เพื่อนำไปใช้งานจริง

บทความด้านไอที[แก้]


การใช้ตัวอักษรที่มองไม่เห็น[แก้]

ขอเสนอทิป ที่อาจมีประโยชน์ สำหรับบางท่านที่ใ่ช้ในการตั้งชื่อไฟล์ และ ชื่อ อื่น ๆ บนระบบคอมพิวเตอร์หน่อยครับ ก่อนอื่นเวลาที่คุณต้องใส่ชื่อ หรือตั้งชื่อ ไม่ว่าจะตั้งชื่อไฟล์ ชื่ออีเมล์ และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วต้องการเว้นช่องว่างสำหรับบางคำ ก็เลยใช้ Space Bar ใ้นการเว้นช่องว่างซึ่งคิดว่าเป็นหนทางเดียว พอตั้งเสร็จได้ชื่อที่สมดังใจพร้อมด้วยการเว้นวรรคด้วย แต่เจ้าโปรแกรมเจ้ากรรมดังกล่าวมันดันไม่ยอมให้เราตั้งชื่อเว้นวรรคซะงั้น ทำไงดีมีทางแก้ไหม มีแน่นอนเพราะว่าในความเป็นจริงมันยังมีอักขระที่มองไม่เห็น ! อักขระพิเศษนี้จะเท่ากับหนึ่งตัวอักษร แต่ว่ามันจะไม่แสดงให้เราเห็นเท่านั้นเอง เราจึงใช้มันแทนการเว้นวรรคได้ ทีนี้เราก็ได้ชื่อแบบมีเว้นวรรคสมใจแล้วมาดูกันเลย

การใช้งานตัวอักษรพิเศษแบบไม่แสดงตัวอักษร

การเรียกใช้งานเมื่อเรากำลังพิมพ์ข้อความต่าง ๆ ใให้เรากดปุ่ม ALT ค้างไว้ แล้วพิมพ์ 0160 ทีละตัวเลขตอนพิมพ์ตัวเลขให้กด ALT ค้างไว้ด้วยตลอด ( Alt+0160 ) บนแป้นพิมพ์ตัวเลขด้านขวาของคีย์บอร์ด พอพิมพ์ตัวเลขครบทั้ง 4 ตัวให้ปล่อยปุ่ม ALT ที่กดค้างไว้เรา จะสังเกตุเห็นว่าเคอร์เซอร์ที่เราพิมพ์ข้อความอยู่มันเว้นวรรคไปหนึ่งตัวอักษษซึ่งความจริงมันไม่ได้เว้นวรรค แต่มันพิมพ์อักขรพิเศษ ที่มองไม่เห็นให้เราแทน

วิธีการใช้ตัวอักษรที่มองไม่เห็น

คุณสามารถใช้มันเป็นที่อยู่อีเมลเนื่องจากปกติที่อยู่อีเมล์จะไม่ให้เราเว้นวรรค ( ข้อความระวังตั้งแบบนี้ต้องคิดถึงคนส่งอีเมล์ด้วยครับเขาคงไม่รู้ว่าเราพิมพ์ตัวอะไรตรงนั้น ) ตั้งชื่อให้กับ ไอคอน บน เดสก์ทอปของคุณให้เป็นชื่อว่าง ๆ เอาไว้โชว์คนอื่น ๆ ได้ ( จะใช้ไม่ได้กับ My Computer, My Documents และ ไอคอน program ) การเปลี่ยนชื่่อ ของไอคอนทำได้ดังนี้ คลิกที่ไอคอนหนึ่งครั้ง จากนั้น กดปุ่ม F2 พิมพ์รหัสตัวอักษรของเรามองไม่เห็น ( Alt +0160 ) แล้วเราก็จะได้ชื่อไอคอนที่ไม่มีชื่อ แล้ว แจ๋วดี โปรดจำไว้ว่าถ้าคุณต้องการทำเช่นนี้กับชอร์ตคัทอื่น ๆ จะไม่สามารถมีชื่อเดียวกันได้ดังนั้นเพียงพิมพ์รหัสมากกว่าหนึ่งครั้ง นั่นหมายความว่า ให้เราสร้างตัวอักษรล่องหนหลาย ๆ ตัว คือต้องมีจำนวนตัวไม่เท่ากัน ประมาณว่าถ้ามันเป็นตัวอักษร A เราก็คงจะมีไฟล์ ชือ A ได้แค่อันเดียวในที่เดี่ยวกันประมาณนี้ครับ

ความรู้ เทคนิค ของ Shortkey(คีย์ลัด)[แก้]

ชอร์ตคัตสำหรับใช้ Outlook Express เนื้อหา

1. Ctrl + I : เปิดดูอีเมล์ในโฟล์เดอร์ Inbox

2. Ctrl + O : เปิดอีเมล์ฉบับที่ถูกเลือกในขณะนั้น

3. Ctrl + N : เขียนอีเมล์ใหม่

4. Ctrl + M : ตรวจสอบอีเมลล์ใหม่

5. Ctrl + P : พิมพ์อีเมลล์ฉบับที่ถูกเลือกในขณะนั้น

6. Ctrl + D : ลบอีเมล์ฉบับที่ถูกเลือกในขณะนั้น

7. Ctrl + R : ตอบอีเมลล์ฉบับที่ถูกเลือกในขณะนั้น

8. Ctrl + F : ฟอร์เวิร์ดอีเมล์ฉบับที่ถูกเลือกในขณะนั้น

9. Ctrl + Y : เปิดไดอะล็อกบ็อก Go To Folder

คีย์ลัดสำหรับคีย์บอร์ดใน XP เนื้อหา

1. A-Z : เลือกไฟล์ที่มีชื่ี่อขึ้นต้นด้วยอักษรนั้น ในโฟล์เดอร์ที่เปิืดอยู่ในขณะนั้น

2. Alt+Tab : ใช้สำหรับสวิตช์ไปยังหน้าต่างโปรแกรมต่างๆ ที่กำลังรันอยู่ในขณะนั้น

3. Alt+ Enter : ใช้สลับการทำงานในโหมดเต็มจอ (Full Screen) ของหน้าต่าง Command Prompt

4. Win : กดที่ Windows เพียงปุ่มเดียวก็สามารถที่จะเปิด หรือปิดเมนู Start ได้

5. Win+B : ใช้สำหรับเลือกไฮไลท์โปรแกรมที่อยู่ใน System tray ได้

6. Win+Ctrl +F : ใช้สำหรับค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ

7. Win+Break : ใช้สำหรับเปิดไดอะล็อกซ์ System Properties

8. Win+D : ใช้เปิืด Desktop อย่างรวดเร็วขณะที่มีโปรแกรมต่างๆ เต็มหน้าจอไปหมด

9. Win+E : เปิดหน้าต่าง Windows Explorer

10. Win+F : เปิดหน้าต่าง Search

11. Win+F1 : เปิดหน้าต่าง Help and Support

12. Win+F2 : เปลี่ยนชื่อไฟล์ หรือโฟล์เดอร์ที่เลือกอยู่ในขณะนั้น

13. Win+F3 : เปิดกรอบค้นหาในโฟล์เดอร์ที่แอ็กทีฟ

14. Win+F4 : เปิด Address Bar ให้แสดง URL ก่อนหน้านี้ออกมา

15. Win+M : มินิไมหน้าต่างที่มีเปิดทำงานทั้งหมด

การดูแลรักษา Notebook[แก้]

1. อย่าใช้งานนานเกินไป เนื่องจากโน้ตบุ๊คมีพื้นที่ ในการระบายความร้อนค่อนข้างจำกัด แม้ในปัจจุบันผู้ผลิตโน้ตบุ๊คจะติดตั้งระบบพัดลมระบาย ความร้อนที่มีประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความร้อนบางส่วนสะสมอยู่ในภายในเครื่องได้ ซึ่งความร้อนเหล่านี้อาจส่งผล ให้การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องมีอายุการใช้งานสั้นลงได้ หากใช้โน้ตบุ๊คไประยะหนึ่ง ประมาณ 5-6 ชั่วโมง หรือรู้สึกว่าตัวเครื่องมีความร้อนสูงพอสมควรแล้ว เราก็ควรปิดเครื่องเพื่อเป็นการพักเครื่องสักระยะหนึ่งก่อนแล้วจึงเปิด ใช้งานใหม่อีกครั้ง น่าจะเป็นการใช้งานที่เหมาะสมกว่า

2. การกระทบกระเทือนเป็นศัตรูตัวฉกาจของโน้ตบุ๊ค เมื่อมีความจำเป็นต้องพก พาโน้ตบุ๊คไปไหนด้วย การใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันโน้ตบุ๊คจากการ กระทบกระเทือน การกดทับก็เช่นกัน มีผู้ใช้บางรายใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเดินทาง ซี่งอาจทำให้กระเป๋าของเราถูกวางซ้อนจาก กระเป๋าใบอื่นได้ หรืออาจถูกจับโยนจนทำให้จอภาพแตกได้ หากนำไปเข้าศูนย์ แม้จะอยู่ในระยะเวลารับประกันก็ไม่สามารถเคลม ประกันได้ เพราะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของตัวสินค้า ดังนั้นเวลาเดินทางควรเก็บโน้ตบุ๊คในกระเป๋าถือที่อยู่กับตัวตลอด เวลาดีกว่า

3. บำรุงรักษาจอ LCD หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วหรือ ของแข็งสัมผัสหน้าจอ เนื่องจากโครงสร้างภายในของจอ LCD ประกอบด้วยชั้นแก้วบางๆ ผลึกคริสตัลเหลว และชั้นโพลาไลซ์กรองแสง ทำให้จอ LCD เป็นจอภาพที่ค่อนข้างบอบบางต่อการกระทบกระเทือน และแรงกด จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือหรือของแข็ง ทำความสะอาดจอภาพอย่างถูก วิธี โดยหาซื้อน้ำยาและผ้าที่ใช้สำหรับทำความสะอาดหน้าจอโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่อยาก เสียเงิน จะใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ (เอาแค่ชื้น ๆ อย่าให้น้ำหยดเด็ดขาด) มาเช็ดทำความสะอาดหน้าจอก็ได้ โดยการเช็ด ทำความสะอาด ควรเช็ดอย่างเบามือที่สุด และเช็ดไปในทางเดียวกัน ห้ามเช็ดแบบหมุนวนเด็ดขาด เพราะอาจสร้างรอย ขีดข่วนให้กับจอภาพได้

  • ห้าม ฉีดน้ำหรือน้ำยาลงบนจอภาพโดยเด็ดขาด ควรฉีดน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดลงบนผ้าก่อนแล้วจึงนำไปเช็ด เพราะหยดหรือ ละอองน้ำอาจหลุดเข้าไปในช่องลำโพง คีย์บอร์ด และข้อต่อต่างๆ อันอาจส่งผลให้เครื่องเสียหายได้

4. แบ็คอัพข้อมูลไว้ก่อน เนื่อง จากอาจมีความบกพร่องทางฮาร์ดแวร์ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และไวรัสที่อาจเข้าทำลายข้อมูล ดังนั้นการแบ็คอัพข้อมูล หรือทำการสำรองข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ทำความสะอาจโน้ตบุ๊คอยู่เสมอ เนื่องจากโน้ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์ที่มีซอก มีมุมที่ฝุ่นผงมีโอกาสเข้าไปสะสมได้อยู่เสมอ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแป้นคีย์บอร์ด ช่องลำโพง หรือข้อต่อต่าง ๆ เป็นต้น อุปกรณ์เสริมที่คุณควรมีก็คือ น้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แปรงเล็กๆ หรือหาเครื่อง ดูดฝุ่นขนาดเล็กสักเครื่องไว้ใช้ก็ดี

5. หลีกเลี่ยงสิ่งสกปรก ขณะ ใช้โน้ตบุ๊ค เราไม่ควรนำอาหาร น้ำดื่ม เข้ามารับประทานหรือวางใกล้โน้ตบุ๊ค ทั้งนี้เพราะความชื้นรวมถึงเศษอาหาร อาจหลุดเข้าไปทำความเสียหายให้โน้ตบุ๊คได้ ศึกษาคู่มือการใช้ งานอย่างละเอียด คู่มือการใช้งานเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับผู้ ใช้โน้ตบุ๊ค เพราะโน้ตบุ๊คแต่ละรุ่นอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรศึกษาคู่มือการใช้งานที่มาพร้อมกับโน้ตบุ๊คอย่างละเอียด

6. หลีกเลี่ยงแผ่นดิสก์ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะอาจทำให้ไม่สามารถนำแผ่น ดิสก์ออกจากไดรว์ไม่ได้

7. อย่าซน ไม่ควรถอดหรือแคะแกะ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโน้ตบุ๊คโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เครื่องเสียหายและหมดประกันได้ ถ้าหากโน้ตบุ๊คมีปัญหาควรส่งศูนย์ซ่อมทันที ไม่ควรพยายามแก้ไขเครื่องด้วยตนเอง

8. หากมีอาการผิดปกติ ควรเข้าศูนย์ทันที หากใช้งานโน้ตบุ๊คอยู่ดี ๆ เกิดอาการผิดปกติทางด้านฮาร์ดดิสก์ เช่น ไดรว์อ่านไม่ค่อยได้ หรืออ่านไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ได้ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านซอฟร์แวร์ หรือ ฮาร์ดแวร์ ก็ควรรีบนำเครื่องเข้าศูนย์เพื่อปรึกษาปัญหาทันที

9. ต่ออายุการรับประกัน เมื่อหมดอายุการรับประกัน ถ้าผู้ขายโน้ตบุ๊คบางรายอาจจะให้ต่ออายุการรับประกันเพิ่มขึ้นอีก 1-3 ปี โดยต้องเสียเงินเพิ่ม อีกก้อนหนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับเครื่องเสียเมื่อหมดระยะเวลาการรับประกัน

LAN Technology[แก้]

โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ


1. โครงสร้างแบบบัส ( Bus Network)

ไฟล์:=Bus Topology.jpg

เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี ข้อเสีย คือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้


2. โครงสร้างแบบสตาร์ ( Star Network)

ไฟล์:=Stardown.jpg

ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้ คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด

ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบวงแหวน (Ring Network)



ไฟล์:=Ring potology.gif

3. โครงสร้างแบบริง ( Ring Network) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ ข้อดี ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก




ไฟล์:=Mesh Topology.jpg

4. โครงสร้างแบบเมช (Mesh Topology) MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก ข้อดี อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว

ข้อเสีย จำนวนจุดที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และจำนวน Port I/O ของแต่ละโหนดมีจำนวนมาก (ตามสูตรข้างต้น) ถ้าในกรณีที่จำนวนโหนดมาก เช่นถ้าจำนวนโหนดทั้งหมดในเครือข่ายมีอยู่ 100 โหนด จะต้องมีจำนวนจุดเชื่อมต่อถึง 4,950 เส้น เป็นต้น3

WAN Technology[แก้]

เซอร์กิตสวิตชิง (Circuit Switching)[แก้]

Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

หลักการทำงาน

1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)

2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอด และไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง

3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง

4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย

5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay)

6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

  • ตัวอย่างระบบ
  • โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)
  • สายคู่เช่า (Leased Line)
  • ISDN (Integrated Services Digital Network)
  • DSL (Digital Subscriber line)
  • เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)

ลักษณะการเชื่อมต่อ

Circuit switching เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point)

วิธีการคิดเงินค่าบริการ

Circuit switching การคิดเงินจะขึ้นกับระยะทาง และระยะเวลาเท่านั้น ไม่ขึ้นกับปริมาณการสื่อสาร


แพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet Switching)[แก้]

Packet switching เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน

1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป

2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง

3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE

4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้

5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

  • ตัวอย่างระบบ

เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้ในการ ส่งข้อมูลภายในสำหรับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ระบบที่เป็น Package switch เช่น Frame relay เป็นระบบโทรศัพท์แบบดิจิตอล และ ATM เป็นระบบการส่งข้อมูลประเภท ภาพและเสียง (multimedia)

ลักษณะการเชื่อมต่อ

Packet switching ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

วิธีการคิดเงินค่าบริการ

Packet switching จะคิดค่าบริการตามจำนวน Byte หรือ Packet ที่ส่งออกไป โดยส่วนใหญ่ไม่ขึ้นกับระยะทาง ยกเว้นเป็นการส่งข้ามประเทศ

OSI model + TCP/IP model[แก้]

OSI OSI Layer Name TCP/IP TCP/IP Layer Name Encapsulation Units TCP/IP Protocols
7 Application 4 Application data FTP, HTTP, POP3, IMAP, telnet, SMTP, DNS, TFTP
6 Presentation 4 Application data FTP, HTTP, POP3, IMAP, telnet, SMTP, DNS, TFTP
5 Session 4 Application data FTP, HTTP, POP3, IMAP, telnet, SMTP, DNS, TFTP
4 Transport 3 Transport segments TCP, UDP
3 Network 2 Internet packets IP
2 Data Link 1 Network Access frames IP
1 Physical 1 Network Access bits IP

อ้างอิง[แก้]

http://www.superict.com/component/viewall_section.php?section_id=1 http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching