ผู้ใช้:Chernboon

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พัฒนาการการเมืองการปกครองไทย

พัฒนาการการเมืองการปกครองไทย (พ.ศ.๑๗๙๒-ปัจจุบัน)[แก้]

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เก่าแก่ และมีประวัติความเป็นมายาวนานชาติหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานนี้ ระบบการเมืองและการปกครองไทยได้พัฒนามาหลายแบบ แต่ละรูปแบบนั้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสานการณ์และสภาพแวดล้อมของแต่ละสมัย รูปแบบการปกครองของไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ นั้น เป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยที่อำนาจการเมือการปกครองนั้นรวมอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์

สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์[แก้]

สมัยสุโขทัย[แก้]

ประวัติศาสตร์ชาติไทย เริ่มต้นเมื่อชนชาติไทยกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๗๙๒ โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลังจากนั้นอำนาจและแสนยานุภาพของอาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อมลง เนื่องจากเจ้าเมืองบางแห่งและเมืองประเทศราชหลายเมืองได้ก่อการกบฏไม่ขึ้นกับสุโขทัย นอกจากนี้อาณาจักรสุโขทัยต้องเผชิญกับการแผ่แสนยานุภาพของอาณาจักรอยุธยาซึ่งตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๘๙๓ จนท้ายที่สุด ในปีพ.ศ.๑๙๘๑ อาณาจักรสุโขทัยก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จเจ้าสามพระยา หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่๒แห่งอยุธยา และมีฐานะเป็นเพียงเมืองหนึ่งเท่านั้น อาณาจักรสุโขทัยได้สิ้นสุดลงในปีดังกล่าว
ลักษณะสำคัญของการปกครองสมัยสุโขทัย

  1. หลักการปกครองแบบพ่อปกครองลูก

ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ถือหลักการปกครองครอบครัวเป็นหลักสำคัญ กล่าวคือ ในระดับครอบครัวมีพ่อเป็นหัวหน้าและผู้ปกครอง หลายๆครอบครัวรวมกันเป็น หมู่บ้าน มี พ่อบ้าน เป็นหัวหน้าและผู้ปกครอง หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น เมือง มี พ่อเมือง เป็นหัวหน้าและผู้ปกครอง เรียกว่า พ่อขุน พระมหากษัตริย์มิได้ทรงอ้างอำนาจศักดิ์สิทธิ์สนับสนุนการปกครอง ฐานะของพระมหากษัตริย์เป็น อเนกนิกรสมบัติ หมายความว่า ราษฎรยกย่องให้เป็นผู้ปกครอง เพราะเป็นผู้ที่ทรงคุณธรรม มีพระปรีชาสามารถในการปกครอง รักษาความยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพของราษฎร อำนาจสูงสุดของการปกครองรวมอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจจากการปกครองด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์เสด็จออกว่าราชการทุกวัน ยกเว้นวันพระ ทรงวินิจฉัยปัญหาการปกครอง ความผิดถูก ควบคุมการบริหาร และตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เอง พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ยึดหลักธรรมในการปกครองอาณาจักรเป็นส่วนใหญ่ ช่วงระยะแรกของสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์แสดงออกในฐานะบิดาของประชาชน แต่ต่อมาช่วงระยะหลัง พระมหากษัตริย์จะแสดงออกในลักษณะ ธรรมราชาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนฐานะสมมติเทพนั้นมีน้อยมาก ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงปรากฏหลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงสั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลาย (นคร พันธุ์ณรงค์:๒๕๒๘:๕๘)ธรรมนี้กว้างและครอบคลุมทั้ง ทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร ๔ ประการ นับเป็นหลักการปกครอง ประเพณีการปกครองและการให้ความยุติธรรมในสังคมสุโขทัย หลักการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทำให้ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองมีความสัมพันธืกันแบบใกล้ชิด ปัญหา "ช่องว่าง" ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองจึงแทบจะไม่มี เพราะเมื่อประชาชนมีความเดือดร้อนและคับข้องใจสามารถร้องขอให้ผู้ปกครองขจัดปัดเป่าความทุกข์ร้อนให้ความยุติธรรมได้ พ่อขุนเปรียบเสมือนเสาหลักของบ้านเมือง มีส่วนช่วยสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชาติ ทั้งนี้เพราะหลักปกครองแบบพ่อปกครองลูกนั้น มีพื้นฐานสำคัญอยู่บนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและการจัดระเบียบสังคมของชาติไทย ระบบการปกครองนี้ก็จะเอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาชาติ ความสงบเรียบร้อย ความต่อเนื่องในเอกลักษณ์ของชาติ 2 หลักการจัดระเบียบการปกครองแคว้น การจัดลำดับประเภทชั้นของเมือง เพื่อวัตถุประสงค์ในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธภาพ มีดังนี้ 2.1เมืองราชธานีหรือเมืองหลวง คือ กรุงสุโขทัยเป็นที่ตั้งของรัฐ เป็นศูนย์รวมอำนาจการปกครองของชาติซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การบริหารและวัฒนธรรม 2.2หัวเมืองชั้นใน ได้แก่เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านล้อมรอบราชธานี 4 ทิศ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย หรือ เมือง สวรรคโลกอยู่ทางทิศเหนือ เมืองสองแคว(พิษณุโลก) อยู่ทางทิศตะวันออก เมืองสระหลวง(พิจิตร)อยู่ทางทิศใต้ เมืองนครชุม หรือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร)อยู่ทางทิศตะวันตก พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อราชธานีโดยตรง 2.3หัวเมืองชั้นนอกได้แก่ เมืองท้าวพระยามหานคร เป็นเมืองขนาดเล็กกว่าเมืองหลวงมีประชากรเป็นชนชาติไทย และตั้งรายล้อมเมืองลูกหลวง ผู้ปกครองเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

สมัยอยุธยา[แก้]

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น[แก้]

สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕[แก้]