ผู้ใช้:Chadcha putthachaya1/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

โดยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ซึ่งมีที่มาจากเหตุที่ต้องเปลี่ยนแปลงการจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการภาครัฐมีออยู่ 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีระบบราชการแม็กซ์ เว็บเบอร์ และทฤษฎีการเมืองและการบริหารแยกออกจากกัน ซึ่งมีเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงดังนี้[1]

  1. การโจมตีของภาครัฐในเรื่องของขนาดและความสามารถ
  2. โลกาภิวัตน์และการแข่งขัน
  3. ขอบเขตการดำเนินงานและภารกิจของภาครัฐและทำให้ผลงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ[2]

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการจัดการภาครัฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากสองทฤษฎีคือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีภาคเอกชนอธิบายดังนี้

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์[3][แก้]

เป็นหนึ่งในหลักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ถูกนำมาเป็นแนวคิดใหม่โดยมี 2 หลักคือ หลักเหตุผลส่วนตัวและหลักรวมเหตุผล โดยมีการพัฒนาหลังจากการเปลี่ยนแปลงซึ่งในทฤษฎีนี้ถูกใช้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1970 โดยมีข้อสังเกตของเหล่านักเศรษฐศาสตร์อนุรักษ์นิยมในหลายประเด็นโดยมองว่ารัฐบาลนั้นไม่ควรเข้าไปยุ่ง ควรปล่อยให้เป็นไปตามระบบกลไกตลาด ทำให้รัฐบาลนั้นยึดหลักการนี้มาใช้ในการกำหนดนโยบายและยังได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ

  1. ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ ได้มีการนำแนวคิดในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาใช้ในการเมืองและสังคมโดยเหตุที่มีการเลือกใช้เพราะคิดว่าทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมาประยุกต์ใช้กับการเมืองและจะช่วยแก้ไขปัญหาระบบราชการได้ ทั้งนี้ยังมีอิทธิพลต่อรัฐบาลทั้งด้านแนวคิดและปฏิบัติที่ต้องการลดบทบาทของรัฐเพื่อให้กลไกตลาดได้มีบทบาทมากขึ้น
  2. ทฤษฎีตัวแทน เป็นทฤษฎีที่ได้มุ่งให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยได้มีการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแยกเป้าหมายออกจากผู้บริหาร โดยให้มีการตัดสินใจตัวแทนในการกระทำสิ่งใดที่เป็นวัตถุประสงค์ของตัวการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำงานและมีหลักการ เหตุผลที่เกี่ยวกับการปฏิรูประบบบริหารของภาครัฐ
  3. ทฤษฎีต้นทุนธุรกรรม เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับว่าเมื่อมีการกระทำย่อมมีค่าใช้จ่ายเช่น การค้นหาข้อมูล การสื่อสาร ทั้งในของภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ดำเนินการ ดังนั้นจึงเกี่ยวกับว่าควรลดค่าใช้จ่ายในด้านธุรกรรมและลดค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่าและได้มีการทดลองตลาดด้วย

ทฤษฎีภาคเอกชน[แก้]

ซึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภาคเอกชนและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงของภาคเอกชน ภาคเอกชนได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก่อนภาครัฐโดยมุ่งให้เป็นไปตามสถานการณ์ไม่ยึดหลักการระบบราชการ โดยมีการแข่งขันที่สูงขึ้นในภาคเอกชน จึงต้องการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นการจัดการเชิงคุณภาพและยังมีการประหยัดด้านธุรกรรมอีกด้วยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรในแง่ดังกล่าวการเปลี่ยนแปลงของภาคเอกชนนั้น ควรดำเนินการแบบคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลงในกรณีของภาครัฐ หลังจากการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันภาคเอกชนได้มีการหันมาสนใจการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  2. การวางแผนเชิงกลยุทธ์

หลักการนี้ได้ถูกนำมาใช้ในภาคเอกชนเป็นการนำมาใช้เพื่อให้เห็นรูปธรรมชัดเจน โดยมองเห็นปัญหาในระยะยาวเนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกมีการแข่งขันกันมาก ดังนั้นองค์การทั้งหลายจะต้องมีการวางแผนเชิงผลยุทธ์เพื่อให้การดำเนินเป็นไปตามเป้าหมาย โดยภาคเอกชนได้นำมาใช้เพื่อควบคุมจากภายในซึ่งต่างจากภาครัฐ

การแพร่กระจายของการจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

เนื่องจากการจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นแนวคิดที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปในลักษณะสากลทำให้มีแนวทางการแพร่กระจายNPMมี 5ประการ ดังนี้

  1. การเผยแพร่คำสอนของการจัดการภาครัฐแนวใหม่
  2. การเมืองของทางขวาใหม่พัฒนาไปสู่ระดับนานาชาติ
  3. การแปรรูปพัฒนาไปเป็นกิจกรรมระดับนานาชาติ
  4. บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ เช่นบทบาทสหภาพยุโรป
  5. การถ่ายโอนทางด้านนโยบาย

ข้อวิพากษ์ต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

ในเรื่องการปฏิรูปการจัดการภาครัฐแนวใหม่นั้นซึ่งจะเน้นที่ผลงานและความรับผิดชอบส่วนบุคคลอย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อวิพากษ์ต่อการจัดการตามมาโดยสรุปได้ดังนี้

  • หลักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการจัดการนิยม
  • หลักการพื้นฐานของการจัดการเอกชน
  • ลัทธิเลเทอร์แนวใหม่
  • การลดการตรวจสอบจากภายนอก
  • การเล่นการเมือง
  • ข้อสรุปที่ยังเป็นข้อกังขาจนปัจจุบัน[4]

ข้อวิจารณ์ของการจัดการภาครัฐแนวใหม่

  1. การจัดการภาครัฐแนวใหม่หรือNPMไม่เพียงนำเทคนิคแค่เทคนิคการจัดการแบบธุรกิจมาใช้แต่ยังนำชุดของค่านิยมใหม่ของธุรกิจภาครัฐมาอีกด้วย
  2. ขอวิจารณ์เรื่องใช้ตัวแบบตลอด (Market model) ได้แก่ การแข่งขันระหว่างภาครัฐฏับภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ หรือแม้กระทั่งหน่วยงานภาคเอกชนด้วยกัน
  3. ข้อวิจารณ์เรื่อง Customer-driven government โดยลูกค้าแต่ละรายนั้นจะมีทรัพยากรและทักษะในการเข้าถึงบริการของรัฐต่างกัน[5]

บทสรุปการจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

การจัดการภาครัฐแนวใหม่แนวใหม่เป็นแนวคิดที่มุ่งเสนอความคิดใหม่เกี่ยวกับวิธีการช่วยให้บริหารงานได้สำเร็จที่มีความสำคัญกับการปฏิรูปการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน โดยมีหลักการที่สำคัญคือการเน้นการจัดการที่ไม่ใช่นโยบาย การเน้นผลลัพธ์ เน้นประสิทธิภาพและการแบ่งระบบราชการออกจากกันเป็นหน่วยย่อย โดยได้แนวทางมาจากภาคเอกชน โดยมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และการจัดการในภาคเอกชนที่ได้นำมาใช้ในการปฏิรูปการจัดการภาครัฐแนวใหม่จัดเป็นแนวคิดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารภาครัฐมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นทิศทางการพัฒนาของรัฐประศาสนศาสตร์ที่ชัดเจนในปัจจุบัน[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ
  2. ทฤษฎีต้นทุน
  3. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
  1. Owen Hughes, Public management and administration: An introduction, 3rd ed., pp. 60-62.
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.จุมพล หนิมพานิช, การบริหารการจัดการภาครัฐใหม่ หลักการ แนวคิดและกรณีตัวอย่างของไทย, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550, หน้า14-15. ISBN 978-974-9943-74-8
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.จุมพล หนิมพานิช, การบริหารการจัดการภาครัฐใหม่ หลักการ แนวคิดและกรณีตัวอย่างของไทย, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550, หน้า16-17. ISBN 978-974-9943-74-8
  4. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์,สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด กรุงเทพมหานคร,2554,หน้า 250-251
  5. ผศ.เสวาลักษณ์ สุขวิรัช, แนวความคิดเชิงทฤษฎีในการบริหารรัฐฏิจ,สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553,หน้า102-103
  6. ผศ.ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์, หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎี, สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวิลด์เทรด ประเทศไทย, 2547,หน้า 248