ผู้ใช้:1101402143289z/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
ไฟล์:ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์.jpg
เกิดกรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
อาชีพอาจารย์, นักวิชาการ, ข้าราชการ

ศาสตราจารย์ ดร. ศนันท์กรณ์ โสติถิพันธุ์ (Prof. Sanunkorn Sotthibandhu) เป็นนักกฎหมายชาวไทยและในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เดิมเป็นอดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ.2525-2548) โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะเรื่อง กฎหมายนิติกรรมสัญญา กฎหมายละเมิด กฎหมายลักษณะหนี้ เอกเทศสัญญา เช่น ลักษณะซื้อขาย-เช่าทรัพย์[1]

การศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์ศนันท์กรณ์ โสติถิพันธุ์ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนดาราสมุทร จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา และมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัมพรไพศาล จังหวัดนนทบุรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2524 และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโรม ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ. 2533 (Dottore di Giurisprudenza, Rome University, Italy)[2]

การทำงาน[แก้]

ด้านการสอน ศาสตราจารย์ศนันท์กรณ์ โสติถิพันธ์ุเป็นอาจารย์และผู้บรรยายในสถาบันศึกษากฎหมายคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น เป็นผู้บรรยายชั้นปริญญาตรี วิชามูลหนี้ 1 (นิติกรรม-สัญญา) วิชามูลหนี้ 2 (ละเมิดฯ) วิชาผลแห่งหนี้ วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายโรมัน ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้ทำการสอนและบรรยายในชั้นปริญญาโทของทั้งสองคณะด้วย

ผลงานหนังสือกฎหมาย[แก้]

  • คำอธิบายนิติกรรม-สัญญาฯ. พิมพ์ครั้งที่ 21 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2560.
  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ (ผลแห่งหนี้). พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2560.
  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ฯ. พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2560.
  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. พิมพ์ครั้งที่ 8 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2560.
  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์-เช่าซื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2558.
  • คำอธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายเอกชนโรมัน. (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2559.
  • หลักความรับผิดก่อนสัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2548.
  • หลักความสำคัญผิด. (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2549.
  • อธิบายศัพท์นิติกรรม-สัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2559.
  • ถาม-ตอบ นิติกรรม-สัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), 2558.

ผลงานบทความ[แก้]

  • หลััก Pacta de Contrahendo ในกฎหมายอิตาลี. [3]
  • หลัักการรักษาสัญญา. [4]
  • ข้อควรพินิจเรื่องความสามารถจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปี พุทธศักราช 2466. [5]
  • ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนิติกรรมและหนี้. [6]
  • ปัญหาเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย. [7]
  • การกล่าวอ้าง การบอกล้าง การบอกเลิก การสิ้นสุด และความระงับแห่งสัญญา. [8]
  1. โปรดดูประวัติท้ายเล่ม ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 21 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2560) และ http://www.law.chula.ac.th/home/lecturer.aspx?id=17 [ออนไลน์].
  2. โปรดดูประวัติท้ายเล่ม ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 21 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2560)
  3. วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2534), หน้า 454-460. [http://publications.law.tu.ac.th/magazine/magazineview/?lang=th&id=153 [ออนไลน์].
  4. วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 22 (ธันวาคม 2535), หน้า 559-569.
  5. วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 4 (ธันวาคม 2546), หน้า 871-896.
  6. หนังสือวันรพี ฉบับปี 2555 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 65-75.
  7. วารสารกฎหมาย ปีที่ 28 ฉบับปี 3, หน้า 1-8.
  8. รพีพัฒนศักดิ์ 2558 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 39-62.