ผู้ใช้:ปฐพี พิลาดิษฐ์/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย[แก้]

ออสเตรเลีย เป็นทวีปที่เก่าแก่แต่เป็นทวีปที่เล็กในบรรดา 6 ทวีป แม้ว่าจะเป็นทวีปที่เล็กที่สุดแต่หากเทียบกันในระดับประเทศ ออสเตรเลียเป็นประเทศใหญ่และมีอาณาเขตที่เทียบเท่ากับทวีปหนึ่ง ออสเตรเลียกำเนิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลอังกฤษได้ส่งนักโทษรุ่นแรกไปจัดตั้งนิคมนักโทษ[1] (penal colony) ในออสเตรเลีย ต่อมาพื้นที่ส่วนนั้นได้ถูกขยายกลายเป็นนิคมผู้ตั้งถิ่นฐาน (Settler colony) รวมไปถึงภาคพื้นทวีปและอาณาเขตที่ครอบคลุมจนจัดตั้งเป็นประเทศออสเตรเลีย

ในปี ค.ศ. 1600 สันนิษฐานว่าทวีปออสเตรเลียน่าจะถูกค้นพบโดยนักเดินเรือชาวหมู่เกาะอินดีสตะวันออก แต่ไม่มีการเก็บข้อมูลต่างๆและไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับออสเตรเลียทำให้ในปี ค.ศ. 1606 วิลเลียมแจนซูน ชาวดัตช์คนแรกได้ถูกให้เกียรติจากคนหลายคนให้เป็นผู้ค้นพบออสเตรเลียและเป็นชาติแรกที่ได้ค้นพบออสเตรเลียซึ่งต่อมาได้ถูกตั้งชื่อให้เป็นนิวฮอลแลนด์(New Holland) หลังจากได้มีการค้นพบออสเตรเลียและได้มีชาวยุโรปได้เดินทางเข้ามาตั้งรากฐานอยู่ในออสเตรเลีย ได้มีชนพื้นเมืองของออสเตรเลียก่อกำเนิดขึ้นคือพวกอบอริจินีส(The Aborigines) สันนิษฐานว่าพวกอบอริจินีส มีที่มาจากเกาะชวาในกลุ่มทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในประเทศอินโดนีเซีย

การเมืองการปกครองออสเตรเลีย[แก้]

การปกครองออสเตรเลีย เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญของประมุขแห่งรัฐออสเตรเลีย โดยมีลักษณะการปกครองแบบสหพันธรัฐ ออสเตรเลียได้นำการปกครองแบบสหพันธรัฐมาปรับใช้ในการปกครองในด้านต่างๆและได้แบบแผนและลักษณะการปกครองมาจากประเทศอังกฤษ[2] โดยรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่รัฐบาลสหพันธรัฐ รัฐบาลรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น เพื่อบริหารงานรัฐของตนเองที่ได้รับผิดชอบ ซึ่งทั้งสามระดับนี้มีความต่างกันโดยสิ้นเชิง อีกทั้งออสเตรเลียยังแบ่งรูปแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งเครือรัฐ (Commonwealth Constitution) กับรัฐธรรมนูญของแต่ละรัฐ (State Constitution) โดยกฎหมายทั้งสองนี้บังคับใช้กับประชาชนทุกคนในแต่ละรัฐอีกทั้งคนในรัฐไม่สามารคัดค้านหรือต่อต้านกฎหมายของรัฐได้

การจัดการปกครอง[แก้]

วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 รูปแบบการปกครองออสเตรเลียถูกก่อตั้งขึ้น โดยสหพันธรัฐเป็นรูปแบบการปกครองของออสเตรเลียและได้ถูกแบ่งออกเป็นรัฐย่อย 6 รัฐ[3] (state) และ 2 ดินแดน ได้แก่ รัฐนิวเซาท์เวลส์รัฐควีนสแลนด์ รัฐออสเตรเลียใต้ รัฐแทสเมเนียรัฐวิกตอเรีย รัฐออสเตรเลียตะวันตก และอีก2 ดินแดน ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี[4] โดยมีรัฐธรรมนูญและรัฐสภาเป็นของตนเองซึ่ง 2 ดินแดน คือ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรีเป็นระบบรัฐสภาแบบสภาเดี่ยวและรัฐที่เหลือเป็นระบบรัฐสภาแบบคู่ รูปแบบรัฐสภาที่เป็นรูปแบบของสภาคู่ ประกอบด้วย วุฒิสภา และ สภาผู้แทนราฎษร อีกทั้งรัฐธรรมนูญออสเตรเลียได้มีองค์ประกอบหลักสำคัญอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ประมุขของประเทศ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ประเทศออสเตรเลีย มีการจัดลักษณะการปกครองหลายระดับ ( multi-tiered governing system ) โดยระดับต่างๆจะถูกแบ่งเป็น องค์กรในระดับสหพันธรัฐ ( federal ) องค์กรระดับมลรัฐ (state of territory) และองค์กรระดับท้องถิ่น (local government) ซึ่งทั้ง 3 ระดับ จะถูกกำหนดลักษณะหน้าที่ในการจัดการปกครองอีกทั้งยังมีส่วนประกอบในการบริหาร คือ สภา รัฐบาล ศาล สภาผู้แทนราษฎร

องค์กรในระดับสหพันธรัฐ[แก้]

องค์กรในระดับสหพันธรัฐ ( federal ) ลักษณะหน้าที่องค์กรในระดับสหพันธรัฐ จะถูกแบ่งออกให้ สภา รัฐบาล ศาล หน่วยบริหาร ทำหน้าที่ดังนี้

  • สภา มีหน้าที่กำหนดกฎหมายรัฐสภาแห่งออสเตรเลีย
  • รัฐบาล มีหน้าที่บริหารงานในรัฐบาลออสเตรเลีย
  • ศาล มีหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ในส่วนราชการในระดับสหพันธรัฐ
  • หน่วยบริหาร มีหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ในส่วนราชการในระดับสหพันธรัฐ

องค์กรระดับมลรัฐ[แก้]

องค์กรระดับมลรัฐ (state of territory) หน้าที่การบริหารงาน ขององค์กรระดับมลรัฐจะถูกแบ่งออกให้ สภา รัฐบาล ศาล หน่วยบริหาร ทำหน้าที่ดังนี้

  • สภา ทำหน้าที่กำหนดกฎหมายสภาของมลรัฐ
  • รัฐบาล ทำหน้าที่บริหารรัฐบาลของมลรัฐ
  • ศาล มีหน้าที่นำนโยบายไปดำเนินการในหน่วยงานบริหารระดับมลรัฐ
  • หน่วยบริหาร มีหน้าที่นำนโยบายไปดำเนินการในหน่วยงานบริหารระดับมลรัฐ

องค์กรระดับท้องถิ่น[แก้]

องค์กรระดับท้องถิ่น (local government) หน้าที่ในการบริหารงานขององค์การในระดับท้องถิ่นจะถูกแบ่งออกให้ สภา รัฐบาล ศาล หน่วยบริหาร ทำหน้าที่ดังนี้

  • สภา หน้าที่คือ กำหนดกฎหมายสภาท้องถิ่น
  • รัฐบาล หน้าที่คือ ที่บริหารฝ่ายบริหารของท้องถิ่น
  • ศาล หน้าที่คือ นโยบายไปดำเนินการในส่วนราชการท้องถิ่น
  • หน่วยบริหาร หน้าที่คือ นำนโยบายไปดำเนินการในส่วนราชการท้องถิ่น

การแบ่งแยกอำนาจ[แก้]

ออสเตรเลียได้แยกอำนาจต่างๆรออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ โดยยึดหลักการปกครองแบบแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) โดยเป็นไปตามระบบการรับผิดชอบแห่งรัฐออสเตรเลีย โดยอำนาจตุลาการ ศาลสูงมีส่วนเกี่ยวในกระบวนการพิจารณาคดีทางการเมืองและอำนาจตุลาการยังทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายในศาลระดับต่างๆ ซึ่งอำนาจตุลาการได้ถูกแบ่งแยกจากอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างชัดเจน ซึ่งอำนาจบริหารจะไม่ถ่วงดุลกับอำนาจตุลการ เป็นต้น

การใช้อำนาจบริหาร[แก้]

การใช้อำนาจในการบริหารรัฐ ออสเตรเลียแบ่งอำนาจบริหารออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ รัฐบาลมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น มีการบริหารงานดังนี้

รัฐบาลสหพันธรัฐ[แก้]

รัฐบาลสหพันธรัฐ (Federal Government) มีผู้บริหารประเทศ คอยดูแลและควบคุมการบริหารกิจการระดับประเทศ โดยใช้อำนาจการบริหารในด้านการป้องกันความมั่นคงแห่งรัฐ ดูแลกิจการภายนอกของประเทศ ควยคุมการคมนาคมและการขนส่งมวลชนระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธรัฐใช้อำนาจในการบริหารทางด้านระหว่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งการบริหารของสหพันธรัฐจะส่งผลต่อมลรัฐและท้องถิ่น

รัฐบาลมลรัฐ[แก้]

รัฐบาลมลรัฐ(State Government) มีผู้ว่าการมลรัฐเป็นผู้นำ ใช้อำนาจในการบริหารภายในรัฐและมีการบริหารด้านการขนส่งภายในประเทศ ด้านการศึกษา ด้านการจัดระเบียบการปกครองตนเองภายในรัฐและการรับผิดชอบนโยบายสารธารณะต่างๆภายในรัฐ ซึ่งการบริหารงานในรัฐบาลมลรัฐ โดยส่วนรวมเน้นการบริหารภายในรัฐเป็นหลัก

รัฐบาลท้องถิ่น[แก้]

รัฐบาลท้องถิ่น (Local Government) มีนายกเทศมลตรีเป็นผู้นำ ใช้อำนาจในการบริหารภายในท้องถิ่น โดยผู้บริหารประเทศใช้อำนาจในการบริหารและดูแลสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆภายในท้องถิ่น อีกทั้งยังใช้อำนาจในการดูแลสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน เป็นต้น การบริหารประเทศของออสเตรเลีย จะเรียงตามลำดับดังนี้ การบริหารระดับประเทศ การบริหารภายในประเทศ และการบริหารภายในท้องถิ่น ตามลำดับ

การใช้อำนาจตุลาการ[แก้]

ออสเตรเลียได้แบ่งอำนาจตุลาการออกเป็น 3 ระดับ ระดับ ได้แก่ ศาลระดับสหพันธ์ ศาลแห่งรัฐ และศาลพิเศษ เพื่อใช้บังคับกฎหมายและทำให้ประชาชนในรัฐอยู่ใต้บทบัญญัติกฎหมายอย่างเป็นธรรม โดยสถาบันตุลการต้องปราศจากการลำเอียงและต้องมีความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย

ศาลระดับสหพันธ์[แก้]

ศาลระดับสหพันธ์ (Federal courts) ศาลสูงสุดในออสเตรเลียคือศาลระดับสหพันธ์ ทำหน้าที่การพิจารณาคดีที่สำคัญและมีความเจาะจงเกี่ยวกับกฎหมายของประเทศหรือกฎหมาของสหพันธ์โดยตรง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาลอื่นๆ เช่น ศาลฎีกา และศาลอาณาเขต

ศาลแห่งรัฐ[แก้]

ศาลแห่งรัฐ (state courts) ศาลแห่งรัฐในออสเตรเลียจะมีศาลชั้นต้นประกอบด้วยเสมอ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่การพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาที่ไม่ร้ายแรงมากและเป็นคดีจำพวกเล็กๆแต่จะมีรัฐที่ยกเว้นคือ รัฐแทสเมเนียเพราะในรัฐนี้จะมีศาลฎีกากับศาลแขวงอยู่ด้วยกัน ทำให้ลูกขุนต้องประกอบอยู่ในการพิจารณาคดี

ศาลพิเศษ[แก้]

ศาลพิเศษ (Specialized Courts and Tribunals) ศาลพิเศษมีหน้าที่ในการดูแลปัญหาต่างๆในการบริหารงานของเอกชนและรัฐบางประการ โดยคดีนั้นอาจมีข้อยกเว้นบางประการทำให้ต้องพิจารณาในศาลพิเศษ เป็นต้น

การใช้อำนาจนิติบัญญัติ[แก้]

อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจของรัฐสภา[5] โดยทำหน้าที่การออกกฎหมายแก่รัฐออสเตรเลียเพื่อเป็นกฎหมายที่ใช้ในการดูแลรัฐ อีกทั้งยังควบคุมการบริหารรัฐตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งตรวจสอบติดตามผลการปฏิบัติงานของรัฐ รัฐสภาออสเตรเลียแบ่งองค์ประกอบของรัฐสภา โดยมีประมุขของประเทศ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ประมุขของประเทศออสเตรเลียต้องใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

ออสเตรเลียมีการแบ่งการปกครองของรัฐเป็นสภาเดี่ยวและสภาคู่ สภาเดี่ยวจะได้แก่ ดินแดนทั้งสองแห่งของออสเตรเลียคือ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี ส่วนรัฐที่เหลือก็จะเป็นรัฐสภาคู่ การใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาออสเตรเลีย ส่วนใหญ่จะเป็นการร่างกฎหมายและดูแลพิจารณาการร่างกฎหมาย โดยการพิจาณาร่างกฎหมายต้องผ่านการพิจาณาจากคณะรัฐมนตรี พอการร่างกฎหมายผ่านก็จะนำมาปรับใช้กับรัฐของออสเตรเลีย เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. อนันต์ชัย เลาหะพันธุ,ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย สมัยอาณานิคม ค.ศ.17888-1901.ศักดิโสภาการพิมพ์(พิมพ์ครั้'ที่1).2551.หน้า คำนิยม
  2. พรชัย เทพปัญญา,การปกครองท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ:การศึกษาเชิงโครงสร้างและหน้าที่.โรงพิมพ์มหาวิทาลัยศิลปากร.2551.หน้า 47
  3. Thammasat University,ม.ป.ป.การเมืองการปกครอง.สืบค้นจาก การเมืองการปกครอง
  4. SmileCampus,ม.ป.ป.รัฐและเมือง.สืบค้นจาก ประเทศออสเตรเลีย:ข้อมูลทั่วไป
  5. ladawan114,ม.ป.ป.อำนาจนิติบัญญัติ.สืบค้นจาก อำนาจนิติบัญญัติ