ผู้ใช้:ทัตตกร มลายาสกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติตระกูล มลายาสกุล[แก้]

มลายาสกุล (Melayasakul) มาจากคำสองคำที่ผสมกันระหว่างคำว่า มลายู กับคำว่า สกุล ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่า ชาติพันธุ์ หรือ กลุ่มคนมลายู หรือ คนไทยเชื้อสายมลายู ที่ใช้ ภาษามลายู หรือ ภาษายาวี ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ชาติพันธุ์มลายูส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยูในแหลมมลายูและหมู่เกาะมลายูเป็นหลัก ประชากรประมาณ ๓๐๐ ล้านคน มลายูไม่ใช่แค่ภาษา หรือบุคคล รวมไปถึง วิถีชีวิต การแต่งกาย ศาสนา และวัฒนธรรม โดยคนมลายูส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีคนนับถือมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

ต้นตระกูล มลายาสกุล[แก้]

ทัตตกร มลายาสกุล ชื่อเล่นชื่อ ต้าร์ หรือ ฟัตตะห์ ในภาษาอาหรับแปลว่า "บ่าวของพระเจ้า" ซึ่งเป็นต้นตระกูล "มลายาสกุล" เกิดเมื่อวันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เกิดที่จังหวัดสงขลาตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 1 คน ชื่อนางสาว ซัลมี มลายาสกุล ชื่อเล่นชื่อ มีมี

รูปคุณทัตตกร มลายาสกุล

ธรรมนูญตระกูล[แก้]

สมาชิกในตระกูลมลายาสกุลทุกคน ที่ใช้นามสกุล "มลายาสกุล" ตามหลังชื่อ จะต้องปฏิบัติคนตามธรรมนูญตระกูล ดังนี้

  1. รักสามัคคีต่อสมาชิกในตระกูลทุกคน
  2. มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ดำเนินชีวิตด้วยความรู้และสติปัญญา
  3. ช่วยเหลือ แบ่งปัน ปกป้องสามาชิกในตระกูลเท่าชีวิต
  4. ให้ความสำคัญต่อพี่น้องในตระกูลก่อนเสมอ
  5. เงิน ทอง ไม่สำคัญเท่าสมาชิกในตระกูลมลายาสกุล
  6. ต้องสร้างชื่อเสียงให้ตระกูล และห้ามทำให้ตระกูลเสียหาย อับอาย
  7. ธุรกิจอาจจะเป็นการแข่งขัน แต่ไม่ใช่แข่งขันกันเองในวงตระกูล

ตราประจำตระกูล[แก้]

ความหมายตราประจำตระกูล[แก้]

M : “Melayasakul” กลุ่มคนมลายู หรือ ชาติพันธุ์มลายู

ดอกกุหลาบ: การมีความรัก ความห่วงใยซึ่งกันและกันของสมาชิกในวงศ์ตระกูล

ลูกศร:   การมองไปข้างหน้าอย่างสง่างามของสมาชิกในวงศ์ตระกูล ด้วยความมุ่งมั่น และมั่นคง

ลูกศรหัก: การสิ้นสุดของสงคราม ความขัดแย้ง เกิดสันติภาพในวงศ์ตระกูล

ลูกศรทั้งสองชี้ไปในทิศทางเดียวกัน: ความสามัคคี   คิดเห็นตรงกัน และจับมือกัน เดินไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน

ปีกลูกศร: การป้องกัน และปกป้อง สมาชิกในตระกูลจากภัยอันตรายทั้งปวง