ผอบพระเจ้ากนิษกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผอบพระเจ้ากนิษกะ
ผอบพระเจ้ากนิษกะ อายุราว ค.ศ. 127 แสดงภาพของพระโคตมพุทธเจ้า รายล้อมด้วยพระอินทร์และพระพรหม พระเจ้ากนิษกะอยู่ทางใต้ของกล่อง, พิพิธภัณฑ์บริติช[1]
สร้างคริสต์ศตวรรษที่ 2
ที่อยู่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์บริติช ลอนดอน

ผอบพระเจ้ากนิษกะ (อังกฤษ: Kanishka casket หรือ Kanishka reliquary) เป็นผอบพุทธ ทองแดงเคลือบ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 127 ปีแรกในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ จักรพรรดิแห่งกุษาณะ

ประวัติศาสตร์[แก้]

ผอบนี้ขุดพบอยู่ในห้องลับใต้กณิษกสถูประหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีในปี 1908-1909 ในเขตชนบทของเปศวาร์ เชื่อกันว่าภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสามองค์ของพระโคตมพุทธเจ้า[2] ซึ่งต่อมาถูกนำออกมาและส่งไปประดิษฐานที่ประเทศพม่าโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษ[3] ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุยังคงประดิษฐานอยู่ที่มัณฑะเลย์

จารึก[แก้]

ผอบปรากฏจารึกภาษาขโรษฐี เนื้อหาระบุว่า:

จารึกบนผอบพระเจ้ากนิษกะ[4][5][6]
บรรทัด คำที่ปรากฏ (อักษรขโรษฐี) ทับศัพท์อักษรโรมัน คำแปล
2 𐨐𐨞𐨁𐨮𐨿𐨐𐨤𐨂𐨪𐨅 𐨞𐨒𐨪𐨅 𐨀𐨩𐨎 𐨒𐨢𐨐𐨪𐨎𐨜𐨅 𐨨𐨱𐨪𐨗𐨯 𐨐𐨞𐨁‎ Kaṇiṣkapure ṇagare ayaṃ gadhakaraṃḍe maharajasa Kaṇi- In Kaṇiṣkapura city, this incense box is the great king Kanishka's
4 𐨮𐨿𐨐𐨯 𐨬𐨁𐨱𐨪𐨅 𐨨𐨱𐨯𐨅𐨣𐨯 𐨯𐨎𐨓𐨪𐨐𐨿𐨮𐨁𐨟𐨯 𐨀𐨒𐨁𐨭𐨫𐨣𐨬𐨐𐨪𐨿𐨨𐨁𐨀𐨣 ṣkasa vihare Mahasenasa Saṃgharakṣitasa agiśalanavakarmiana monastery's superintendents of construction of the fire hall, Mahasena's and Saṃgharakṣita's,
3 𐨡𐨅𐨩𐨢𐨪𐨿𐨨𐨅 𐨯𐨪𐨿𐨬𐨯𐨟𐨿𐨬𐨣 𐨱𐨁𐨟𐨯𐨂𐨱𐨪𐨿𐨠 𐨧𐨬𐨟𐨂 deyadharme sarvasatvana hitasuhartha bhavatu donation. May it be for the benefit and pleasure of all living beings.
1 𐨀𐨕𐨪𐨿𐨩𐨣 𐨯𐨪𐨿𐨬𐨯𐨿𐨟𐨁𐨬𐨟𐨁𐨣 𐨤𐨿𐨪𐨟𐨁𐨒𐨿𐨪𐨱𐨅 acaryana sarvastivatina pratigrahe In the possession of the Sarvāstivādin teachers.

หากแปลจารึกเป็นภาษาไทย จะได้ความว่า "ในนครกณิษกปุระ กล่องเครื่องหอมนี้มาจากการบริจาคของมหาเสนาและสังฆรักษิตะ ผู้ควบคุมการก่อสร้างโถงไฟในวิหารของพระเจ้ากนิษกะ ขอสิ่งนี้เป็นผลบุญและนำความสุขแก่สัตว์ทั้งปวง [ผอบนี้เป็น]ของบรรดาอาจารย์สรวาสติวาท"

อ้างอิง[แก้]

  1. Myer, Prudence R. (1966). "Again the Kanishka Casket". The Art Bulletin. 48 (3/4): 396. doi:10.2307/3048396. ISSN 0004-3079.
  2. Spooner, D. B. (1908-9): "Excavations at Shāh-ji-Dherī." Archaeological Survey of India, p. 49.
  3. Marshall, John H. (1909): "Archaeological Exploration in India, 1908-9." (Section on: "The stūpa of Kanishka and relics of the Buddha"). Journal of the Royal Asiatic Society, 1909, pp. 1056-1061.
  4. Baums, Stefan. (2012). Catalog and Revised Text and Translations of Gandhāran Reliquary Inscriptions. Gandhāran Buddhist Reliquaries. D. Jongeward. Seattle, University of Washington Press
  5. Organ, R.M. (1964). "The Restoration of the Relic Casket from Shāh-jī-kī-ḍherī". The British Museum Quarterly (1): 46–51. ISSN 0007-151X.
  6. Translated by B. N. Mukherjee. BMQ, Vol. XXVIII, pp. 41-43. Quoted in: Dobbins, K. Walton. (1971): The Stūpa and Vihāra of Kanishka I. The Asiatic Society of Bengal Monograph Series, Vol. XVIII. Calcutta.