ปีแยร์ กูว์รี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปีแอร์ กูรี)
ปีแยร์ กูว์รี
กูว์รี ป. ค.ศ. 1906
เกิด15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859(1859-05-15)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต19 เมษายน ค.ศ. 1906(1906-04-19) (46 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปารีส
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรสมารี กูว์รี (สมรส 1895)
บุตร
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์, เคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยปารีส
วิทยานิพนธ์Propriétés magnétiques des corps à diverses températures (Magnetic properties of bodies at various temperatures) (1895)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกกาเบรียล ลิพพ์มานน์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
ลายมือชื่อ

ปีแยร์ กูว์รี (ฝรั่งเศส: Pierre Curie; 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 – 19 เมษายน ค.ศ. 1906) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สามีของมารี กูว์รี นักเคมีชาวโปแลนด์ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1903

ประวัติ[แก้]

ปีแยร์ กูว์รี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยบิดาของเขาเป็นนายแพทย์ หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว ปีแยร์ได้เข้าศึกษาต่อวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนหลังจากที่เขาจบการศึกษาแล้วได้เข้าฝึกงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาก็สามารถสร้างผลงานเป็นที่น่าพอใจ และในปี ค.ศ. 1878 ปีแยร์ก็ได้รับรางวัลไซเอนซิเอต (Scienciate Award) ทางฟิสิกส์ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องทดลองประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอน และในระหว่างนี้เขาได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาในโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม และงานทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 ปีแยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่างผลึกหินควอทซ์กับเกลือโรเชลลีภายใต้ความกดดันสูง จากผลการทดลองเขาพบว่า ความกดดันมีผลกระทบต่อความต่างศักย์ ซึ่งปีแยร์เรียกสั้น ๆ ว่า "ปีแยร์โซอิเล็กทริซิตี" (Pierre so Electricity) และเขาได้พบเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าเพิ่มค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าให้มากขึ้น จะทำให้พื้นผิวของผลึกเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่คนปกติจะได้ยิน แต่ก็มีประโยชน์ เพราะต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้นำหลักการเดียวกันนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงหลายชนิด เช่น ไมโครโฟน เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น

ในปี ค.ศ. 1895 ปีแยร์ได้ทดลองเกี่ยวกับความร้อนที่เกิดขึ้นกับแม่เหล็ก จากผลการทดลองปีแยร์พบว่าที่อุณหภูมิระดับหนึ่ง แม่เหล็กไม่สามารถแสดงสมบัติออกมาได้ โดยปีแยร์เรียกอุณหภูมิระดับนี้ว่า "เคียวรีพอยต์" (Cury Point) และจากการทดลองครั้งนี้ เขาได้สร้างเครื่องมือขึ้นมาชิ้นหนึ่งชื่อว่า อิเล็กทรอมิเตอร์ (Electrometer หรือ ThermoMeter) สำหรับใช้ในการทดลองครั้งนี้ด้วย จากผลงานชิ้นนี้เขาได้รับมอบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซอร์บอน และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการประจำห้องทดลองเคมีและฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอน ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับมาเรีย สกวอดอฟสกา (Maria Sklodowska) และแต่งงานกันในปี ค.ศ. 1895

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

มารี กูว์รีในปี 1911

หลังจากที่ปีแยร์ได้มีโอกาสพบกับมาเรีย สกวอดอฟสกา ภายหลังทั้งคู้จึงได้แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1895 โดยมีบุตรสาวสองคน ได้แก่

เสียชีวิต[แก้]

ปีแยร์ กูว์รีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนที่ปารีสเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1906 ขณะที่เขากำลังข้าม Rue Dauphine ที่มีคนชุกชมตอนฝนตกที่ Quai de Conti เขาลื่นล้มและตกลงใต้เกวียนลากม้าหนัก ล้อวงหนึ่งของเกวียนเคลื่อนไปเหนือหัว ทำให้กะโหลกแตก และทำให้เขาเสียชีวิตทันที[2] จากคำให้การของพ่อของเขากับผู้ช่วยห้องปฏิบัติการกล่าวโดยนัยว่า ลักษณะนิสัยเหม่อลอยของกูว์รีที่หมกมุ่นอยู่กับความคิดของเขามีส่วนทำให้เขาเสียชีวิต[3]

ทั้งมารีและปีแยร์ กูว์รีมีประสบการณ์ถูกเรเดียมเผาไหม้ทั้งโดยบังเอิญและสมัครใจ[4] และได้รับรังสีปริมาณมากขณะทำการวิจัย ทั้งคู่เป็นโรคจากรังสีและมารี กูว์รีเสียชีวิตจากภาวะไขกระดูกฝ่อที่เกิดจากรังสีใน ค.ศ. 1934 แม้แต่ตอนนี้ เอกสารทั้งหมดของทั้งคู่ที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1890 (แม้แต่ตำราอาหารของเธอ) อันตรายเกินกว่าที่จะแตะโดยไม่ได้รับการป้องกัน หนังสือในห้องปฏิบัติการของทั้งคู่ถูกเก็บไว้ในกล่องตะกั่วพิเศษ และผู้ที่ต้องการจะดูมันจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน[5] ของส่วนใหญ่สามารถพบได้ใน Bibliothèque nationale de France[6] ถ้าปีแยร์ กูว์รีไม่ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เขาก็คงมีแนวโน้มเสียชีวิตจากผลของสารกัมมันตรังสี เหมือนกับภรรยา อีแรน ลูกสาวของทั้งคู่ และFrédéric Joliot สามีของลูกสาว[7][8]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1995 มีการเคลื่อนย้ายสุสานของปีแยร์กับมารี กูว์รีจากสุสานของครอบครัวไปยังห้องฝังศพใต้ดินที่ป็องเตองในปารีส

ประกาศนียบัตรรางวัลโนเบล ค.ศ. 1903

รางวัล[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ร่วมกับมารี กูว์รี ภรรยาของเขา

อ้างอิง[แก้]

  1. "ที่สุดแห่ง "โนเบล" ตระกูล "กูรี" เหมาทั้งพ่อแม่ลูก แถมด้วย ใครอ่อนสุด-เมินไม่รับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
  2. "Prof. Curie killed in a Paris street", The New York Times, 20 April 1906, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2018, สืบค้นเมื่อ 25 July 2018
  3. "Marie Curie – Tragedy and Adjustment (1906–1910)", Marie Curie and the Science of Radioactivity, 2000, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021, สืบค้นเมื่อ 17 January 2017
  4. Mould, R.F. (2007). "Pierre Curie, 1859–1906". Current Oncology. 14 (2): 74–82. doi:10.3747/co.2007.110. PMC 1891197. PMID 17576470.
  5. Tasch, Barbara (31 August 2015). "These personal effects of 'the mother of modern physics' will be radioactive for another 1500 years". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
  6. Concasty, Marie-Louise (1914–1977) Auteur du texte; texte, Bibliothèque nationale (France) Auteur du (1967). Pierre et Marie Curie : [exposition], Paris, Bibliothèque nationale, [octobre-décembre] 1967 / [catalogue réd. par Marie-Louise Concasty] ; [préf. par Étienne Dennery] (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 6 November 2020.
  7. Redniss, Lauren (2010). Radioactive : Marie And Pierre Curie : a tale of love and fallout (1st ed.). New York: HarperEntertainment. ISBN 978-0-06-135132-7.
  8. Bartusiak, Marcia (11 November 2011). ""Radioactive: Marie & Pierre Curie – A Tale of Love and Fallout" by Lauren Redniss". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
  9. "The Nobel Prize in Physics 1903". Nobel Prize. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 8 July 2016.
  10. Quinn, Susan (1996). Marie Curie : a life. Reading, Mass.: Addison-Wesley. ISBN 978-0-201-88794-5.[ลิงก์เสีย]
  11. ""Matteucci" Medal". Accademia Nazionale delle Scienza. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
  12. "2015 Awardees". American Chemical Society, Division of the History of Chemistry. University of Illinois at Urbana-Champaign School of Chemical Sciences. 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2016. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
  13. "Citation for Chemical Breakthrough Award" (PDF). American Chemical Society, Division of the History of Chemistry. University of Illinois at Urbana-Champaign School of Chemical Sciences. 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]