ปีบฝรั่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปีบฝรั่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Campanulaceae
สกุล: Hippobroma
สปีชีส์: H.  longiflora
ชื่อทวินาม
Hippobroma longiflora
G. Don
ชื่อพ้อง
  • Isotoma longifa C. Presl
  • Laurentia longiflora Endl.
  • Lobelia longiflora

ปีบฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippobroma longiflora, อังกฤษ: Star of Bethlehem, Madam Fate) หรือ แสนประสะ เป็นพืชท้องถิ่นของหมู่เกาะเวสต์อินดีส[1] อยู่ในวงศ์พระจันทร์ครึ่งซีก (Campanulaceae) เป็นพืชหลายปี[2] สูง 15-25 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับรอบต้น ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักหนาม ดอกสีขาวออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ โคนก้านดอกมีใบประดับ 2 ใบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร ผลรูปรีแบบแห้งแตก เมื่อแก่จะโป่งออกและโค้งลง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก[3]

ปีบฝรั่งนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ยางจากต้นก่อให้เกิดอาการระคายเคืองและหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้[4] ยางจากต้นมีสารนิโคตินและโลเบลีน ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากเกินจะทำให้อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตและชัก[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hippobroma longiflora". Flowers of India. สืบค้นเมื่อ 29 December 2016.
  2. "Hippobroma longiflora - PLANTS Database". USDA PLANTS. สืบค้นเมื่อ 29 December 2016.
  3. "ปีบฝรั่ง - ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม". ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-04. สืบค้นเมื่อ 29 December 2016.
  4. "ปีบฝรั่ง". สำนักพิมพ์บ้านและสวน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-15. สืบค้นเมื่อ 29 December 2016.
  5. "Hippobroma longiflora". Backyard Nature. สืบค้นเมื่อ 29 December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปีบฝรั่ง
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hippobroma longiflora ที่วิกิสปีชีส์