ประถม ก กา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประถม ก กา  
ผู้ประพันธ์ไม่ทราบ
ประเทศประเทศสยาม
ภาษาภาษาไทย
ประเภทแบบเรียน

ประถม ก กา เป็นแบบเรียนไทย ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้แต่งและแต่งเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงไม่เก่าไปกว่าหนังสือ ประถมมาลา ของพระเทพโมฬี (ผึ้ง) และเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่[1] คงอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเพราะชื่อของแบบเรียนในช่วงเวลานี้นิยมขึ้นต้นคําว่าประถม แบบเรียนนี้ใช้จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนจะมีมูลบทบรรพกิจ ขณะที่พระวรเวทย์พิสิฐสันนิษฐานว่า ประถม ก กา คงมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย[2]

การเรียบเรียงเป็นแบบร้อยแก้วแต่มีแทรกกาพย์ยานีและสุรางคนางค์เล็กน้อย[3] การแต่งแบบเรียนในช่วงแรก เริ่มจากการแจกรูปพยัญชนะสระเป็นตอนและตามมาตราตัวสะกด แต่ละตอนจะมีแบบฝึกเป็นกาพย์ยานีใช้คําสามัญง่าย มาผูกเป็นคําประพันธ์ที่สนุกสนาน เนื้อหาของคําประพันธ์พรรณนาถึงธรรมชาติรอบ ๆ ตัวผู้เรียน คงเป็นแบบเรียนที่ปรับปรุงให้ง่ายกว่าจินดามณี และเหมาะที่จะใช้เป็นแบบเรียนสําหรับเด็กเริ่มหัดอ่านเขียน เป็นแบบเรียนขั้นมูลฐาน เพื่อให้เด็กนักเรียนจดจําตัวอักษร และอักขรวิธี ผู้เรียบเรียงพยายามที่จะให้รายละเอียดในการฝึกหัดอ่านอย่างมาก โดยเน้นเน้นส่วนที่ผันอักษร (แจกลูกตัวสะกด) และวรรณยุกต์ เพื่อที่จะให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะในการฝึกอ่านออกเสียง

ในภายหลังหนังสือประถม ก กา พบหลักฐานว่ามีผู้แต่งขึ้นหลายฉบับ หนึ่งในนั้นก็คือ หนังสือประถม ก กา ฉบับรวบรวมโดยเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (หม่อมราชวงศ์จิตรสุทัศน์) แต่งเมื่อ ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระเทพโมฬี และพระอมราภิลักขิต. "ประถม ก กา ประถม ก กาหัดอ่าน ปฐมมาลา อักษรนิติแบบเรียนหนังสือไทย". โอเดียนการพิมพ์. p. 24.
  2. พระวรเวทย์พิสิฐ. วรรณคดีไทย, (โรงพิมพ์มหาดไทย 2502). หน้า 120–121.
  3. "แบบเรียนสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 4" (PDF).
  4. ภาสพงศ์ ผิวพอใช้และ ธันยาการต์ บุ้งทอง (พฤศจิกายน 2564). "การวิเคราะห์แบบเรียนประถม ก กา ฉบับเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (หม่อมราชวงศ์จิตรสุทัศน์) รวบรวม". Journal of Roi Kaensarn Academi. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 6 (11).