ปฏิบัติการอะนูบิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการอะนูบิส
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560 และขบวนการเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
ฝูงชนประท้วงต่อต้านการจับกุมหน้าสำนักมนตรีเศรษฐกิจของกาตาลุญญาในวันที่ 20 กันยายน
วันที่20 กันยายน พ.ศ. 2560
สถานที่แคว้นปกครองตนเองกาตาลุญญาในประเทศสเปน
เป้าหมายหยุดยั้งการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560
วิธีการปฏิบัติการตำรวจ
สถานะยังดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ

ปฏิบัติการอะนูบิส (สเปน: operación Anubis; กาตาลา: operació Anubis) เป็นปฏิบัติการของทหารและตำรวจเพื่อต่อต้านการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญาซึ่งมีความพยายามจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[1] ผลที่ตามมาของปฏิบัติการและสถานการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องในกาตาลุญญาได้ถูกระบุว่าเป็น วิกฤตการณ์กาตาลุญญา[2][3] ภายในสถานการณ์ที่ใหญ่กว่าซึ่งเรียกกันว่า วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560

หน่วยพิทักษ์พลเรือน (Guardia Civil) ซึ่งเป็นกำลังสารวัตรทหาร (gendarmerie) ของสเปนเริ่มปฏิบัติการเมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นหมายเลข 13 แห่งบาร์เซโลนา[4] ที่ทำการส่วนราชการต่าง ๆ ของทบวงการปกครองกาตาลุญญาถูกตรวจค้น มีผู้ถูกจับกุม 14 คนซึ่งรวมถึงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูง เจ้าหน้าที่ปกครอง และประธานบริหารบริษัทซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการเตรียมจัดการลงประชามติ ในเวลาเดียวกัน โรงพิมพ์หลายแห่งก็ถูกตรวจค้นเพื่อหาบัตรออกเสียงและหีบบัตรออกเสียง[5]

หลังจากการจู่โจมดังกล่าว ผู้คนออกมารวมตัวกันทันทีในบริเวณที่ทำการส่วนราชการต่าง ๆ ของแคว้นเพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่ที่ถูกจับกุมและประท้วงการบุกค้น[6] ในเช้าวันเดียวกัน ฌอร์ดี ซันเช็ซ อี ปิกัญญ็อล ประธานสมัชชาแห่งชาติกาตาลุญญาซึ่งเป็นองค์การที่สนับสนุนเอกราช เรียกร้องให้มี "การต่อต้านอย่างสันติ" ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 22 กันยายน ผู้คนเริ่มรวมกลุ่มกันและปักหลักชุมนุมนอกอาคารต่าง ๆ ของสเปน[7]

การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน ประธานทบวงการปกครองกาตาลุญญา กล่าวหาสเปนว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและระบุว่าการลงประชามติจะเกิดขึ้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม[8] ในขณะที่มาเรียโน ราฆอย นายกรัฐมนตรีสเปน ระบุว่าการลงประชามติถูกประกาศว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและสั่งเคลื่อนย้ายกำลังพลเพิ่มเติมเข้าไปในกาตาลุญญา คาดกันว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารถึง 16,000 นาย กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ของกาตาลุญญาในวันที่ 1 ตุลาคม[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hunter, Simon (22 September 2017). "National Police arrive in Barcelona on ferry decorated with Looney Tunes". El País. Barcelona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
  2. "The crisis in Catalonia can be ended, but not by trampling on people's legitimate concerns". The Telegraph. 21 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
  3. "Escalating Catalonia crisis sours appetite for Spanish stocks". Reuters. Milan/Madrid. 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
  4. "Liberados siete de los 14 detenidos en la operación Anubis de la Guardia Civil" [Freed seven of the fourteen arrrested during Civil Guard's Operation Anubis]. La Vanguardia (ภาษาสเปน). Barcelona. 21 September 2017. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
  5. Jones, Sam; Burgen, Stephen (21 September 2017). "Spain crisis: 'stop this radicalism and disobedience,' PM tells Catalan leaders". The Guardian. Madrid/Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
  6. Stone, Jon (20 September 2017). "Spanish police storm Catalan government buildings to stop independence referendum". Independent (newspaper). Europe correspondent. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
  7. González, Sara; Bes, Jordi (22 September 2017). "Acampada al tribunal" [Camping outside the court]. Nació Digital (ภาษาคาตาลัน). Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
  8. Jones, Sam (21 September 2017). "Catalan leader accuses Spain of violating rights in referendum row". The Guardian (newspaper). Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
  9. Penty, Charles (21 September 2017). "Spain Hires Cruise Liner to House Police in Rebel Catalonia". Bloomberg News. Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.