บุญส่ง ไข่เกษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญส่ง ไข่เกษ
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
จังหวัดตราด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญส่ง ไข่เกษ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตราด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยนครราชสีมา

ประวัติ[แก้]

บุญส่ง ไข่เกษ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นบุตรของนายเสรี กับนางมะลิ ไข่เกษ[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก 2 สถาบัน คือ ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สุขาภิบาล) เกียรตินิยมอันดับ 2 รางวัลเหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญารัฐศาสตร์บัณฑิต และนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วิศวกรรมสุขาภิบาล) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ สาขาการจัดการคุณภาพน้ำ จากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกวิศวกรรมเคมี เกียรตินิยมดีมาก จาก Université Savoie ประเทศฝรั่งเศส

การทำงาน[แก้]

บุญส่ง ไข่เกษ เคยเป็นอาจารย์ประจำ และหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2537 ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต่อมาลาออกจากราชการ เข้าทำงานที่บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2537

บุญส่ง ไข่เกษ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในพื้นที่จังหวัดตราด สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 เขาได้หันมาลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้เกิดการรัฐประหารในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 เขาได้รับการสรรหาและเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราดอีกครั้งหนึ่ง[2]โดยเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทยระหว่างวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และสิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐประหาร

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา[3] และเขาเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมทำการศึกษา EIA และ HIA ในโครงการสำคัญหลายโครงการ อาทิ โครงการทางด่วนพิเศษรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยอง โครงการประตูระบายน้ำปากพนัง โครงการเขื่อนผาจุก โครงการเขื่อนแม่วง โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสะตอ[4]

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศรับรองผลเลือกตั้ง ส.ว. จำนวน 58 จังหวัด[ลิงก์เสีย]
  3. "อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
  4. กรมชลประทานทบทวนการศึกษา EIA เขื่อนสะตอใหม่อีกครั้ง[ลิงก์เสีย]
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔