บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Faculty of Graduate Studies
Nakhon Ratchasima Rajabhat University
ตราประจำมหาวิทยาลัย
ตราประจำมหาวิทยาลัย
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ทานอก
ที่อยู่
เว็บไซต์https://grad.nrru.ac.th

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (อังกฤษ: Faculty of Graduate Studies, Nakhon Ratchasima Rajabhat University) เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก

ประวัติความเป็นมา[แก้]

  • พ.ศ. 2457 กระทรวงธรรมการให้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) ในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าศึกษาหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู
  • พ.ศ. 2466 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) และประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.)
  • พ.ศ. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดนครราชสีมา” เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.)
  • พ.ศ. 2485 เปิดสอน 3 หลักสูตรได้แก่ ประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) และประโยคครูมูล (ม.)
  • พ.ศ. 2495 ได้ยุบเลิกหลักสูตรเดิม 3 หลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2497 จึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2502 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง) ต่อจากระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)
  • พ.ศ. 2537 วิทยาลัยครูนครราชสีมา เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “สถาบันราชภัฏนครราชสีมา” จึงสามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี
  • พ.ศ. 2541 เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโท (ระดับบัณฑิตศึกษา)
  • พ.ศ. 2546 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
  • พ.ศ. 2549 เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาเอก

ปัจจุบัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 10 หลักสูตร [1]


หลักสูตรการศึกษา[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
กลุ่มวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต[2] ระดับปริญญาโท[3] ระดับปริญญาเอก[4]
รวมทุกภาควิชา

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)

  • สาขาวิชาชีพครู

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
  • สาขาวิชาการพัฒนาศักยภาพมนุษย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาระบบสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา".
  2. "หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา".
  3. "หลักสูตรระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา".
  4. "หลักสูตรระดับปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา".