นิสสัน สกายไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกายไลน์
Nissan Skyline
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตนิสสัน
พรินซ์ (พ.ศ. 2500–2509)
เริ่มผลิตเมื่อ2500–present
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact car) (2500–2532)
รถสปอร์ตขนาดกลาง (Mid-size car) (2532–2545)
รถยนต์นั่งหรูขนาดเล็ก (Compact executive car) (2544–ปัจจุบัน)
รถไฮบริดไฟฟ้า (2557―ปัจจุบัน)
สปอร์ตคูเป้ (2550-2560)
รุ่นที่คล้ายกันนิสสัน สกายไลน์ จีที-อาร์ (2512–2516, 2532–2545)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าพรินซ์ ซีดาน (2495–2500)
รุ่นต่อไปNissan GT-R (R35) (สำหรับ Nissan Skyline GT-R models)
โลโก้ของนิสสัน สกายไลน์

สกิบิดี้ทอยเล้ต (อังกฤษ: Nissan Skyline / ญี่ปุ่น: 日産・スカイライン Nissan Sukairain) เป็นรุ่นรถยนต์ขนาดกลาง รถสปอร์ต ของบริษัทนิสสัน โดยเริ่มผลิตครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จากบริษัทพรินซ์มอเตอร์[1] หลังจากนั้นก็ถูกรวมเข้ากับนิสสันในปี 2509

สกายไลน์นั้นได้ออกแบบและได้วิศวกรรมโดย Shinichiro Sakurai ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าแผนกรถรุ่นนี้ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี 2554

Generation ที่ 1 (ALSI/BLSI/S21/R21/BLRA-3; พ.ศ. 2500-2506)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 1 (Prince Skyline)

สกายไลน์โฉมแรกนี้ เปิดตัวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2500 ในช่วงแรกนี้ สกายไลน์ถูกผลิตในยี่ห้อ Prince Skyline ด้วยชื่อโฉม ALSI-1 ใช้เครื่องยนต์ GA-30 ขนาด 1,482 ซีซี ให้กำลัง 60 แรงม้า ที่ 4,400 รอบต่อนาที มีน้ำหนัก 1,300 กิโลกรัม มีตัวถังรถ 2 แบบ คือ ซีดาน 4 ประตู และสเตชันวากอน 5 ประตู ในช่วงแรกๆ นี้ สกายไลน์เป็นที่รู้จักในฐานะรถครอบครัวระดับหรูหรา

ในพ.ศ. 2501 มีการเปลี่ยนแปลงไมเนอร์เชนจ์ (การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยระหว่างโฉม เปลี่ยนแปลงไม่มากพอที่จะนับเป็นโฉมใหม่) ด้วยชื่อว่า ALSI-2 ใช้เครื่องยนต์ GA-4 ขนาด 1,484 ซีซี ให้กำลัง 70 แรงม้า ที่ 4,800 รอบต่อนาที และยังมีสกายไลน์รุ่นสปอร์ต ชื่อว่า BLRA-3 ด้วย

และนอกจากนี้ สกายไลน์ยังมีการผลิตรถกระบะ ซึ่งภายหลังได้แยกตัวไปเป็นรุ่น Prince Miler และรถตู้ ซึ่งก็แยกตัวออกไปเป็นรุ่น Prince Skyway

รวมแล้ว สกายไลน์ Generation ที่ 1 มียอดขายทั้งสิ้น 33,759 คัน (ไม่นับ Miler และ Skyway)

Generation ที่ 2 (S50/S54/S56/S57/V51/W50; พ.ศ. 2506-2511)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 2 (Prince Skyline)

สกายไลน์ในช่วงนี้ การผลิตยังอยู่ในยี่ห้อ Prince Skyline ในช่วงแรกของโฉม ใช้ชื่อโฉมว่า S50 ใช้เครื่องยนต์ประเภท G-1 ต่อมาใน พ.ศ. 2507 ได้ออกรุ่นสปอร์ตออกมา ชื่อว่า S54 และได้รับความนิยมในระดับที่ใกล้เคียงกับรถ ปอร์เช่ 904

ในพ.ศ. 2510 ได้มีการเปลี่ยนแปลงไมเนอร์เชนจ์ ด้วยชื่อโฉม S57 ในช่วงนี้ ปรินซ์ได้รวมสายการผลิตเข้ากับนิสสันแล้ว เป็นรุ่นแรกที่ใช้เครื่องยนต์ของนิสสัน และเครื่องยนต์ของ S57 เป็นเครื่องยนต์ขนาด 1,487 ซีซี ที่มีกำลังถึง 88 แรงม้า หนึ่งในเครื่องยนต์ขนาดพันห้าร้อยซีซีที่แรงที่สุดในรถญี่ปุ่น

รวมแล้ว สกายไลน์ Generation ที่ 2 มียอดขายทั้งสิ้น 114,238 คัน

Generation ที่ 3 (C10; พ.ศ. 2511-2515)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 3

โฉมนี้ ใช้ชื่อโฉมว่า C10 หรือ Hakosuka [ Hako คือ กล่องนม ] [ Suka คือ Skyline ] ได้มีการออกรถรุ่น GT-R และ GT-X ออกมาเป็นครั้งแรก ซึ่งใช้เครื่องยนต์ขนาด 1,958 ซีซี เป็นรถยนต์ประเภทสปอร์ต ทำให้สกายไลน์เริ่มกลายเป็นที่รู้จักในฐานะรถสปอร์ตแทนรถครอบครัวระดับหรูหราเหมือนโฉมก่อนๆ แต่แบบสปอร์ตยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

ในโฉมที่ 3 นี้ มียอดขายรวมทั้งสิ้น 310,447 คัน

GT-R[แก้]

Generation ที่ 4 (C110; พ.ศ. 2515-2520)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 4

โฉมนี้ ใช้ชื่อโฉมว่า C110 แต่ในบางประเทศ จะเป็นที่รู้จักในชื่อ ดัตสัน เค-ซีรีส์ (Datsun K-series) และมี GT-R ขายด้วย

สกายไลน์โฉมที่ 4 มียอดขายสูงถึง 670,562 คัน เป็นโฉมที่ขายดีที่สุดของสกายไลน์

GT-R[แก้]

Generation ที่ 5 (C210; พ.ศ. 2520-2524)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 5

โฉมนี้ ใช้ชื่อโฉมว่า C210 มีด้านหน้ารถที่ยาวขึ้น เครื่องยนต์ 6 สูบ และยังมีการผลิตรุ่น GT-EX และ GT-EX ก็เป็นรุ่นแรกของสกายไลน์ที่มีการใช้เครื่องยนต์เทอร์โบ แต่ไม่มี GT-R ในโฉมนี้

สกายไลน์โฉมที่ 5 มียอดขายรวม 539,727 คัน

Generation ที่ 6 (R30; พ.ศ. 2524-2528)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 6

โฉมนี้ ใช้ชื่อโฉมว่า R30 เป็นโฉมแรกและโฉมเดียวที่มีการทำรถรุ่นแบบ Hatchback 5 ประตู (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง คล้ายกับ ฮอนด้า แจ๊ซ และ โตโยต้า ยาริส)

โฉมนี้ ไม่มี GT-R แต่ได้มีการออกรถรุ่นพิเศษ ที่พิเศษกว่าโฉมอื่นๆ นั่นคือ Paul Newman Version ซึ่งเป็นรถที่ออกมาเพื่อเป็นที่ระลึกในความสัมพันธ์ระหว่างนิสสัน กับ พอล นิวแมน ผู้กำกับและนักแสดงชื่อดังในช่วงนั้น เนื่องจากพอล นิวแมน ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการขายของนิสสันมานาน โดยรถสกายไลน์รุ่นนิวแมน จะมีลายเซ็นของนิวแมนบนกระโปรงหน้ารถ และยังเป็นที่ต้องการของนักสะสมจากทั่วโลกในปัจจุบัน

สกายไลน์โฉมที่ 6 รวมทุกรุ่นมียอดขายรวมทั้งสิ้น 406,432 คัน

RS[แก้]

1983–1985 Nissan Skyline RS coupé (DR30), nicknamed "Iron Mask" for its distinctive front end treatment
1983–1985 Nissan Skyline 2000 RS-X Turbo coupé (DR30, Japan)

Generation ที่ 7 (R31; พ.ศ. 2528-2532)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 7

โฉมที่ 7 ใช้ชื่อโฉมว่า R31 เป็นโฉมที่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาลงเป็นจำนวนมาก และมีรูปทรงที่ทันสมัยกว่าโฉมที่ 6 อยู่มาก และเป็นโฉมแรกที่ใช้เครื่องยนต์กลุ่ม RB และเป็นโฉมที่ทำให้สกายไลน์ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นในฐานะรถสปอร์ต แต่โฉมนี้ ก็ยังไม่มี GT-R และนอกจากนี้ R31 ก็ยังเป็นโฉมสุดท้ายที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลังเพียงระบบเดียว หลังจากโฉมนี้ไป จะมีระบบขับเคลื่อน 2 แบบ คือระบบขับเคลื่อนล้อหลัง กับขับเคลื่อนสี่ล้อจนถึงปัจจุบัน

สกายไลน์โฉมที่ 7 มียอดขายรวม 309,716 คัน

GTS-R[แก้]

Nissan Skyline 2000 GTS-R (HR31)
Nissan Skyline 2000 GTS-R (HR31)

Generation ที่ 8 (R32; พ.ศ. 2532-2537)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 8

โฉมที่ 8 ใช้ชื่อโฉมว่า R32 รหัส bnr32 สกายไลน์มี 2 รุ่นที่สำคัญ คือ

  • Nissan Skyline GT-S R32 เครื่องยนต์ RB20DET 2.0 ลิตร
  • Nissan Skyline GT-R R32 (BNR32) เครื่องยนต์ RB26DETT

GT-R[แก้]

และโฉมนี้ กลับมาผลิตสกายไลน์ GT-R อีกครั้ง หลังจากหายไปตั้งแต่โฉมที่ 4 เป็นโฉมที่ทำให้สกายไลน์ GT-R เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและโด่งดังไปในวงกว้าง จากการที่สกายไลน์ R32 ชนะการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบในญี่ปุ่น 29 รางวัล และชนะเลิศซูเปอร์จีที ถึง 2 ปีติดต่อกัน นอกเหนือจากการแข่งขันในประเทศ GT-R ยังได้ชนะการแข่งขันออสเตรเลียนทัวริง 3 ปีติดต่อกันระหว่างปี 2533-2535 (ซึ่งในปี 2536 มีการเปลี่ยนแปลงกติกาซึ่งทำให้ GT-R ไม่สามารถร่วมลงแข่งได้[2])

ส่วนในแง่ของรถทั่วไป สกายไลน์โฉมที่ 8 เป็นรถรุ่นแรกที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่มีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีดออกขาย (ปัจจุบัน รถบางรุ่นบางยี่ห้อยังใช้เกียร์อัตโนมัติแบบ 4 สปีด ไม่ใช่ 5 สปีด) ควบคู่กับเกียร์ธรรมดา

สกายไลน์โฉมที่ 8 นี้ มียอดขายรวมทั้งสิ้น 313,491 คัน (ประกอบไปด้วย Standard - 269,554 คัน และ GT-R - 43,937 คัน)

Generation ที่ 9 (R33; พ.ศ. 2536-2541)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 9

โฉมที่ 9 ใช้ชื่อโฉมว่า R33 มีรถ 2 รุ่นที่สำคัญ คือ

  • Nissan Skyline GT-S R33 เครื่องยนต์ RB25DET 2.5 L 250 แรงม้า
  • Nissan Skyline GT-R R33 (BCNR33) เครื่องยนต์ RB26DETT 156.7 cu.in. / 2,568 c.c. 280 แรงม้า

ปรับปรุงโฉม (1996)[แก้]

รุ่นต่างๆ:

  • HR33 GTS – 2.0 L RB20E SOHC I6, 130 PS (96 kW; 128 hp), 172 N·m (127 lb·ft)
  • ER33 GTS-25 – 2.5 L RB25DE DOHC I6, 190 PS (140 kW; 187 hp), 231 N·m (170 lb·ft)
  • ENR33 GTS-4 – 2.5 L RB25DE DOHC I6, 190 PS (140 kW; 187 hp), 231 N·m (170 lb·ft) 4WD
  • ECR33 GTS-25t – 2.5 L RB25DET DOHC turbo I6, 250 PS (184 kW; 247 hp), 294 N·m (217 lb·ft)
  • ECR33 P.Ride 280 Type MR – 2.8L RB28DET DOHC turbo I6, 300 PS (221 kW; 296 hp)

GT-R[แก้]

สกายไลน์โฉมที่ 9 มียอดขายรวมทั้งสิ้น 217,113 คัน

Generation ที่ 10 (R34; พ.ศ. 2541-2545)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 10

โฉมที่ 10 ใช้ชื่อโฉมว่า R34 มีรถ 2 เกรดที่สำคัญคือ

  • Nissan Skyline GT-S R34 (ER/HR34) เครื่องยนต์ RB25DET NEO6 (25GT) 2.5L / 152.4 cu in / 2,498 cc กำลัง 200–284 PS (147–209 kW; 197–280 hp) เกียร์อัตโนมัติ 4-speed ขับเคลื่อนล้อหลัง (RWD)
  • Nissan Skyline GT-R R34 (BNR/ENR34) เครื่องยนต์ RB26DETT เทอร์โบคู่ (Twin-turbo) 2.6L / 156.7 cu.in. / 2,568 c.c. กำลัง 276 bhp (280 PS; 206 kW) จนถึง 493 hp (500 PS; 368 kW) ขับเคลื่อนสี่ล้อ (4WD)

ในโฉมนี้ เกียร์อัตโนมัติแบบ 5 สปีด ถูกยกเลิกชั่วคราว ทำให้สกายไลน์โฉมนี้มี 6 เกียร์ธรรมดา Magna (Getrag) 233 (GT-R) กับอัตโนมัติแบบ 4 สปีดเท่านั้น แต่ในโฉมนี้ สกายไลน์ได้มีการผลิตเกียร์แบบ Triptonic ออกขาย (เกียร์ Triptonic คือเกียร์ที่สามารถปรับใช้เป็นเกียร์ธรรมดาก็ได้ เกียร์อัตโนมัติก็ได้ ในเกียร์ชุดเดียวกัน) เป็นครั้งแรกของสกายไลน์ ในแบบ GT-S จะมี sunroof ในแบบ GT-R จะไม่มี sunroof

GT-R (BNR34)[แก้]

Nissan Skyline GT-R V·spec II (BNR34)
Nissan Skyline GT-R V·spec II (BNR34)

รุ่นต่างๆ: (all ATTESA E-TS Pro AWD)

  • GT-R – 2.6 L RB26DETT twin-turbo I6, 327 hp; 244 kW (332 PS) 392 N·m (289 lb·ft) (advertised as 276 hp)[3]
  • GT-R V·spec – Additional aero parts, brake ventilation ducts, diffuser, ALSD.
  • GT-R V·spec UK – V·spec with three additional oil coolers, an extra measurement on the MFD, leather interior, new features on the display (ผลิตเพียง 80 คันเท่านั้น).
  • GT-R V·spec N1 - V·spec with Blueprinted N1 motor, no A/C, no stereo, no rear wiper, basic interior trim. (ผลิตเพียง 45 คันเท่านั้น)
  • GT-R V·spec II – As V·spec + carbon fiber hood with NACA duct.
  • GT-R V·spec II N1 – V·spec II with N1 motor, no A/C, no stereo, no rear wiper, basic interior trim. (ผลิตเพียง 18 คันเท่านั้น)
  • GT-R M·spec – Leather interior, softer suspension with "Ripple Control" dampers, heated seats.
  • GT-R V·spec II Nür – As above V·spec II + N1 motor, 300 km/h speedometer. (ผลิตเพียง 750 คันเท่านั้น)
  • GT-R M·spec Nür – As above M·spec + N1 motor, 300 km/h speedometer. (ผลิตเพียง 253 คันเท่านั้น)
  • GT-R NISMO S-tune- The S-tune - Tuning package from Nismo, targeting street drivers that want to bring out the "potential" of their GT-R.
  • GT-R NISMO R-tune- Same as the S-tune, the R-tune is further modified with more emphasize towards circuit racing.
  • GT-R NISMO Z-tune – 2.8 L (bored and stroked) 'RB28DETT' twin-turbo I6, 500 PS (368 kW; 493 hp), 540 N·m (398 lb·ft) Z1 and Z2 (ผลิตเพียง 20 คันเท่านั้น)

โฉมที่ 10 มียอดขายรวม 64,623 คัน

Generation ที่ 11 (V35; พ.ศ. 2544-2550)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 11

โฉมที่ 11 ใช้ชื่อโฉมว่า V35 เป็นโฉมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสกายไลน์ เพราะหลังโลดแล่นในวงการรถสปอร์ตมานาน ทางนิสสัน ได้ตัดสินใจให้นิสสัน สกายไลน์ GT-R แยกตัวออกไปเป็นรถรุ่นใหม่ สายการผลิตใหม่ ของนิสสัน (คือ นิสสัน จีที-อาร์) ไม่ขึ้นตรงกับชื่อสกายไลน์อีกต่อไป ทำให้สกายไลน์ โฉมที่ 11 กลับคืนสู่การเป็นรถครอบครัวขนาดใหญ่อีกครั้ง

นอกจากนี้ ในโฉมนี้ ยังมีเกียร์ CVT (Continuously variable transmission เกียร์อัตโนมัติที่ซอยเป็นหลายสปีด เพื่อให้มีความต่างของอัตราทดของแต่ละเกียร์น้อยลง ทำให้การเปลี่ยนเกียร์มีความนุ่มนวลมากกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป) เป็นครั้งแรก เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น

แต่ถึงกระนั้น มันก็มีคุณภาพที่สูงมาก จนได้รับฉายาว่า "The best Skyline ever." หรือ สกายไลน์ที่ดีที่สุด (ใน 11 โฉมแรก)

ชื่อรุ่น:

  • 250GT (V35) – 2.5 L VQ25DD V6, 215 PS (212 hp; 158 kW), 270 N·m (199 lb·ft)
  • 250GT Four (NV35) – 2.5 L VQ25DD V6, 215 PS (212 hp; 158 kW), 270 N·m (199 lb·ft) 4WD
  • 300GT (HV35) – 3.0 L VQ30DD V6, 260 PS (256 hp; 191 kW), 324 N·m (239 lb·ft)
  • 350GT-8 (PV35) – 3.5 L VQ35DE V6, 272 PS (268 hp; 200 kW), 353 N·m (260 lb·ft)
  • 350GT Coupe (CPV35) – 3.5 L VQ35DE V6, 280 PS (276 hp; 206 kW), 363 N·m (268 lb·ft)

Generation ที่ 12 (V36/J50; พ.ศ. 2549-2556)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 12

โฉมที่ 12 ใช้ชื่อโฉมว่า V36 เป็นอีกโฉมหนึ่งของสกายไลน์ที่เป็นรถครอบครัว ตัวถังมีให้เลือกคือ 4 ประตู,2 ประตู คูเป้,2 ประตู เปิดประทุน,5 ประตู SUV (ใช้ชื่อนิสสัน สกายไลน์ ครอสโอเวอร์ J50 ผลิตในปี พ.ศ. 2552) เครื่องยนต์มีให้เลือก คือ 2.5,3.5 และ 3.7 Nissan VQ-Series V6 เกียร์มีให้เลือก 5,7 สปีด ออโตเมติก,ธรรมดา 6 สปีด ความยาวระยะฐานล้อ ยาว 2,850 มม. รุ่นนี้ใช้อีกชื่อในอเมริกา ในแบรนด์ Infiniti G35,G37 ส่วนนิสสัน สกายไลน์ ครอสโอเวอร์ ในอเมริกา จะใช้ชื่อ Infiniti EX

Skyline 370GT Coupe (DBA-CKV36, พ.ศ. 2550—2557)[แก้]

Skyline Crossover (DBA-J50, DBA-NJ50)[แก้]

Nissan Skyline Crossover

Nissan Skyline Crossover เป็นรถออฟโรดรุ่นหนึ่งจากตราสินค้าหนึ่ง คือ Nissan แต่รุ่นเดิมคือ Infiniti QX50 รุ่นที่หนึ่งยังเป็นรุ่นแรกของค่ายอินฟินิที

Generation ที่ 13 (V37 (HV37/ZV37/RV37); พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน)[แก้]

นิสสัน สกายไลน์ โฉมที่ 13

มาในชื่อรุ่น HV37 เป็นนิสสัน สกายไลน์ รุ่นล่าสุด ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปี 2014 เป็น Skyline Hybrid ด้วยให้ความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ใช้เครื่องยนต์ 3.5 ลิตร VQ35HR คู่กับมอเตอร์ไฟฟ้า HM34 เกียร์อัตโนมัติ 7 สปีด ให้แรงม้า 359 แรงม้า เป้าหมายการตลาดของ Nissan Skyline Gen 13 นี้ จะแตกต่างออกไปจากรุ่นก่อน คือเน้นไปที่ผู้ใหญ่วัยทำงานอายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นสกายไลน์ที่ให้ความหรูหรามากกว่าดูสปอร์ตเหมือนวัยรุ่น ในเจเนอเรชั่น 13 นี้ จะไม่มีตัวถังแบบคูเป้ เพราะ Nissan GT-R ได้แยกไลน์การผลิตไปแล้ว และยังมี นิสสัน 370z ให้เลือกสำหรับคนชอบรถสปอร์ตอีกด้วย ทำให้ Nissan Skyline จะเริ่มดูเป็นรถผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น รุ่นนี้ใช้อีกชื่อในอเมริกา ในแบรนด์ Infiniti Q50

Skyline sedan (2014)[แก้]

2014–2017 Nissan Skyline 350GT Hybrid Type SP (V37, Japan)
2014–2017 Nissan Skyline 350GT Hybrid Type SP (V37, Japan)
2014–2017 Nissan Skyline 350GT Hybrid Type SP (V37, Japan)

ปรับปรุงครั้งที่ 1 (2017)[แก้]

ปรับปรุงครั้งที่ 2 (2019)[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติสกายไลน์ เก็บถาวร 2006-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาญี่ปุ่น)
  2. GT-R may race in Australia Autoblog
  3. "Nissan Skyline GT-R 34". Keith Michaels. สืบค้นเมื่อ 2015-12-16.


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]