ท้าวนาง

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ท้าวนาง (ฝ่ายใน))

ท้าวนาง คือสตรีอาวุโสที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่รับราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง[1] มักเป็นเจ้าจอมหรือเจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อน หรือหญิงราชนิกุล[2]

ตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบ

ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายใน โดยมีท้าววรจันทร เป็นหัวหน้า และมีผู้ช่วยในด้านต่าง ๆ คือ ว่าการพนักงาน ว่าการวิเสท ว่าการโขลน ว่าการทั่วไป และว่าการพระคลังใน โดยในแต่ละด้านจะมีหัวหน้ากำกับบังคับบัญชา ทั้งนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่ง ท้าววรคณานันท์ เป็นหัวหน้าอีกชั้น ทำให้ตำแหน่ง ท้าววรจันทร เป็นผู้ช่วย

เสด็จอธิบดีฝ่ายใน

เสด็จอธิบดีฝ่ายใน เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองในเชิงงานข้าราชการตามแบบแผนใหม่โดยขึ้นตรงกับกระทรวงวัง จัดเป็นตำแหน่งผู้ควบคุมฝ่ายในสูงสุดและทำหน้าที่ควบคู่กับท้าววรจันทร ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี

ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน

ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน เป็นตำแหน่งที่เริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อบังคับบัญชาฝ่ายในต่างพระเนตรพระกรรณ โดยจะแต่งตั้งผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ดังนี้

  • เจ้าคุณหญิงนุ่น บุนนาค (เจ้าคุณวังหลวง ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน พระบรมมหาราชวัง) ธิดาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
  • เจ้าคุณหญิงคุ้ม บุนนาค (เจ้าคุณวังหน้า ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน ฝ่ายพระราชวังบวร) ธิดาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล

เจ้าคุณฝ่ายใน

เจ้าคุณฝ่ายใน เป็นตำแหน่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งและพระราชทานสัญญาบัตร เพื่อรับราชการฝ่ายในเป็นการเฉพาะตัว ดังนี้

  • เจ้าคุณแข บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์
  • เจ้าคุณปุก บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์
  • เจ้าคุณหรุ่น บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์
  • เจ้าคุณนุ่ม บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับท่านผู้หญิงน้อย
  • เจ้าคุณเป้า บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับท่านผู้หญิงน้อย
  • เจ้าคุณคลี่ บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับท่านผู้หญิงน้อย

ท้าววรจันทร

ท้าววรจันทร บรมธรรมิกภักดี นารีวรคณานุรักษา หรือสะกดว่า ท้าววรจัน เป็นตำแหน่งสมเด็จพระพี่เลี้ยงของกษัตริย์หรือพระราชโอรสที่ยังมิได้โสกันต์ และพระราชธิดาชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า เป็นหัวหน้าท้าวนางทั้งปวง บังคับบัญชาทั่วไปในราชสำนักฝ่ายใน ตลอดจนมีหน้าที่ตักเตือนว่ากล่าวพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และพระสนมกำนัล โดยจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระพี่เลี้ยง หรือ เจ้าจอม หรือ บุคคลที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ให้ดำรงตำแหน่งนี้

ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบุคคลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าววรจันทร ดังนี้

  • ท้าววรจันทร (แจ่ม) ธิดาท่านผู้หญิงแก้ว ภรรยาเจ้าพระยามหาเสนา
  • ท้าววรจันทร (เจ้าจอมมารดาอิ่ม ในรัชกาลที่ 1) ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ที่สมุหนายก[3]
  • ท้าววรจันทร (เจ้าจอมมารดาปราง ในรัชกาลที่ 2)
  • ท้าววรจันทร (คุณมาไลย)
  • ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)

ท้าวสมศักดิ์

ท้าวสมศักดิ์เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการพนักงานทั้งปวง เช่น เครื่องนมัสการ ดูแลหอพระ ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวสมศักดิ์ อาทิ

ท้าวอินทรสุริยา

ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการห้องวิเสท ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวอินทรสุริยา อาทิ

ท้าวอินทรสุริยา มีผู้ช่วยในการกำกับห้องวิเสท อาทิ

ท้าวศรีสัจจา

ท้าวศรีสัจจา เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าว่าการโขลน ควบคุมประตูวัง และการอารักขาทั้งปวงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวศรีสัจจา อาทิ

ท้าวโสภานิเวศน์

ท้าวโสภานิเวศน์ เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการทั่วไป ช่วยราชการในกองบัญชาการของท้าววรจันทร ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวโสภานิเวศน์ อาทิ

ท้าวทรงกันดาล

ท้าวทรงกันดาล เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการพระคลังฝ่ายใน มีหน้าที่ควบคุม ดูแลการเบิกจ่ายต่างๆ ทั้งเงิน และเครื่องใช้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวทรงกันดาล อาทิ

ท้าวทรงกันดาลมีผู้ช่วยราชการพระคลังใน 1 ตำแหน่งคือ ท้าวสุภัตติการภักดี โดยมีผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ อาทิ

ในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คือ

ท้าววรคณานันท์

ในรัชกาลที่ 5

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองฝ่ายใน และปรับเปลี่ยนบรรดาศักดิ์ใหม่ โดยให้มี ท้าววรคณานันท์ อัพภันตรปตานี ราชนารีกิจวิจารณ์ เป็นใหญ่กว่าท้าวนางทั้งปวง โดยมีผู้ที่ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ดังนี้

นอกจากนั้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มตำแหน่ง เพื่อช่วยราชการในตำแหน่งอื่น ๆ อาทิ

  • ท้าวราชกิจวรภัตร (แพ บุนนาค)
  • ท้าวราชกิจวรภัตร ศรีสวัสดิรสหาร (ปุย) - นายห้องเครื่อง
  • ท้าวศรีสุนทรนาฎ (แก้ว อำนาจณรงค์ราญ) [24]
  • ท้าวอนงค์รักษา (คุณหญิงพร้อง ไพชยนต์เทพ) - รับราชการในสมเด็จพระบรมราชินี [25]
  • ท้าวสัตยานุรักษ์ (สาย โรจนประดิษฐ์) - รับราชการกรมโขน [26]

อ้างอิง

  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 567
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 566
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  4. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 284
  5. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 315
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/006/93.PDF
  7. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 319
  8. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 349
  9. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 320
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/013/413_1.PDF
  11. "เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (28ง): 1212. 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2495. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  13. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 321
  14. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 282
  15. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 311
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/3890.PDF
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/043/447_2.PDF
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  19. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/1933.PDF
  20. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/129.PDF
  21. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (37): 333. 22 กันยายน 2428. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/2331_1.PDF
  23. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/025/1803_1.PDF
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/3048.PDF
  25. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/3890.PDF
  26. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/3890.PDF