ทัศนียา รัตนเศรษฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทัศนียา รัตนเศรษฐ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
เขตเลือกตั้ง
  • เขต 5 (2548 – 2549)
  • เขต 4 (2550 – 2554)
  • เขต 4 (2554 – 2557)
  • เขต 7 (2562 – 2566)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
พรรคการเมืองมหาชน
รวมใจไทยชาติพัฒนา
เพื่อไทย
พลังประชารัฐ (ปัจจุบัน)
คู่สมรสวิรัช รัตนเศรษฐ

นางทัศนียา รัตนเศรษฐ (เกิด 21 กันยายน พ.ศ. 2497) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครราชสีมา เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคมหาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร[1]

ประวัติ[แก้]

ทัศนียา รัตนเศรษฐ เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายฮ่างเทียง และนางน้อย แซ่ตั้ง มีพี่น้อง 4 คน หนึ่งในนั้นคือนายบวรศักดิ์ ตั้งบริพัตรสกุล นายกเทศมนตรีตำบลสายแก้วหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ สำเร็จการศึกษา พัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ทัศนียา สมรสกับนายวิรัช รัตนเศรษฐ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ในการแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ทั้งคู่แจ้งสถานะเป็น "หย่า"[2] ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ

  1. นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส. นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ
  2. นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส. นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ
  3. นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ

งานการเมือง[แก้]

ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคมหาชน และได้รับการเลือกตั้ง โดยเอาชนะนางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง จากพรรคไทยรักไทยไป 310 คะแนน ส่งผลให้เป็น ส.ส. 1 ใน 2 คนของพรรคมหาชน และเป็น ส.ส.นครราชสีมาเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่ได้สังกัดพรรคไทยรักไทย[3]

ต่อมา พ.ศ. 2550 นางทัศนียาย้ายไปสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งมาเป็นอับดับที่หนึ่งของเขต (มี ส.ส. ได้ 3 คน) ปี พ.ศ. 2554 ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[4] และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 3

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ทัศนียา รัตนเศรษฐ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคมหาชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางทัศนียา รัตนเศรษฐ[ลิงก์เสีย]
  3. ผ่าศึกโค่น‘ทรท.’เขต 5 โคราช-ดับฝัน‘สุวัจน์’กวาดยกเมือง![ลิงก์เสีย]
  4. 8อดีตส.ส.จากสามพรรคย้ายสังกัดเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]