พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต็วลแซลง

พิกัด: 11°32′58″N 104°55′04″E / 11.54944°N 104.91778°E / 11.54944; 104.91778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ต็วลแซลง)
พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ต็วลแซลง
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของกัมพูชา, ค่ายกักกัน
พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต็วลแซลงตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต็วลแซลง
Location of พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ต็วลแซลง within ประเทศกัมพูชา
พิกัดภูมิศาสตร์11°32′58″N 104°55′04″E / 11.54944°N 104.91778°E / 11.54944; 104.91778
ชื่ออื่นS-21
เป็นที่รู้จักจากการใช้งานเป็นค่ายกักกันและทรมานของเขมรแดง
ที่ตั้งSt.113, Boeung Keng Kang III, Khan Boeng Keng Kang, พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
ดำเนินการโดยเขมรแดง
ผู้บังคับบัญชาคัง เกก กิว
การใช้งานสถานที่ก่อนหน้าโรงเรียนมัธยม
เปิดใช้งานS-21 (สิงหาคม 1975), โรงเรียนมัธยม (ก่อนปี 1976)[1]
จำนวนผู้ถูกกักกัน18,145 (เป็นไปได้ว่ามากกว่านี้)
เสียชีวิต18,133[1]
ปลดปล่อยโดยกองทัพประชาชนเวียดนาม
ผู้ถูกกักกันที่มีชื่อเสียงBou Meng, Chum Mey, Vann Nath
เว็บwww.tuolsleng.gov.kh/en/

พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุต็วลแซลง (เขมร: សារមន្ទីរឧក្រិដ្ឋកម្មប្រល័យពូជសាសន៍ទួលស្លែង, อักษรโรมัน: Saromontir Ukredth Kamm Braly Pouchsasa Tuol Sleng; Tuol Sleng Genocide Museum) หรือ ต็วลแซลง (เขมร: ទួលស្លែង, Tuŏl Slêng [tuəl slaeŋ]; Tuol Sleng, แปลว่า: "เขาพืชมีพิษ" หรือ "เขาต้นแสลงใจ") หรือบางทีนิมทับศัพท์เป็น ตวลสเลง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าลำดับเหตุการณ์ของการสังหารหมู่ชาวเขมร ตั้งอยู่ในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตัวอาคารเริ่มแรกสร้างขึ้นเป็นโรงเรียนมัธยม และต่อมาถูกเขมรแดงใช้งานเป็น เรือนจำปลอดภัย 21 (Security Prison; S-21; เขมร: មន្ទីរស-២១) นับตั้งแต่ปี 1975 กระทั่งถูกโค่นล้มในปี 1979 ในระหว่างปี 1976 ถึง 1979 มีผู้ถูกคุมขังประมาณ 20,000 คนในต็วลแซลง ที่นี่เป็นหนึ่งใน 150 ถึง 196 ศูนย์ทรมานและประหารชีวิตของเขมรแดงและตำรวจลับ ซันเตบัล ("สันติบาล")[2] เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2010 ศาลคดีเขมรแดงตัดสินความผิดอดีตผู้กำกับการเรือนจำต็วลแซลง Kang Kek Iew ด้วยความผิดฐานอาชญากรรมสงครามต่อมนุษยชาติ และความผิดต่ออนุสัญญาเจนีวาปี 1949[3] เขาเสียชีวิตเมื่อปี 2020 ขณะถูกจำคุกตลอดชีวิต[4]

ประวัติศาสตร์[แก้]

เดิมที ค่ายกักกันนี้เป็นอาคารของโรงเรียนต็วลสวัยเพรย (Tuol Svay Prey High School)[5][6] ชื่อนี้ตั้งตามลูกหลานคนหนึ่งของกษัตริย์นโรดม สีหนุ อาคารเรียนห้าอาคารถูกแปรสภาพเป็นเรือนจำและศูนย์สอบปากคำในปี 1976 เขมรแดงเปลี่ยนชื่อหมู่อาคารนี้ว่าเป็น "เรือนจำความปลอดภัย 21" (S-21 จาก Security Prison 21) มีการก่อสร้างเพื่อปรับสภาพให้ใช้งานเป็นเรือนจำ มีการติดตั้งลวดหนามไฟฟ้าโดยรอบ ห้องเรียนถูกแปรสภาพเป็นเรือนจำขนาดจิ๋วและห้องทรมานนักโทษ หน้าต่างถูกล้อมปิดด้วยแท่งเหล็กและลวดหนาม

ระหว่างปี 1976 ถึง 1979 มีการประมาณจำนวนผู้ถูกกักขังที่ต็วลแซลงอยู่ที่ 20,000 คน กระนั้นไม่เป็นที่ทราบถึงจำนวนแน่ชัด ในเวลาหนึ่ง ๆ จะมีผู้ถูกคุมขังอยู่ราว 1,000 ถึง 1,500 คน ผู้ถูกคุมขังจะถูกทรมานซ้ำแล้วซ้ำอีก และถูกบังคับให้บอกชื่อสมาชิกในครอบครัวและมิตรสหายซึ่งต่อมาจะถูกจับ ทรมาน และฆ่าทิ้ง ในช่วงเดือนแรกของค่ายกักกัน ผู้ถูกคุมขังส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลของ ลอน นอล และรวมถึงทหาร เจ้าหน้าที่รัฐ ไปจนถึงนักวิชาการ แพทย์ ครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา คนงานโรงงาน พระภิกษุสงฆ์ วิศวกร ฯลฯ ในภายหลัง ยังมีผู้สนับสนุนพรรคและครอบครัวที่ถูกพาตัวมาที่ต็วลแซลง[5] ผู้ถูกจับกุมยังรวมถึงนักการเมืองระดับสูง เช่น Khoy Thoun, วอน เวต และ ฮู นิม บางครั้ง ครอบครัวของผู้ถูกคุมขังจะถูกนำตัวมาสอบสวนเป็นหมู่คณะ ก่อนจะถูกสังหารที่เจิงเอก แม้ส่วนใหญ่ของเหยื่อจะเป็นคนกัมพูชา แต่มีชาวต่างชาติอยู่จำนวนหนึ่งเช่นกัน อันประกอบด้วยชาวเวียดนาม 488 คน, ชาวไทย 31 คน, ชาวฝรั่งเศส 4 คน, ชาวอเมริกันสองคน, ชาวออสเตรเลียสองคน, ชาวลาว ชาวอินโดนีเซีย ชาวอาหรับ ชาวอังกฤษ ชาวแคนาดา และชาวนิวซีแลนด์ ชนชาติละหนึ่งคน[7]

ในปี 1979 กองทัพเวียดนามเข้ามายึดครองเรือนจำนี้ได้ และในราวปี 1979 ถึง 1980 รัฐบาลกัมพูชาได้มีการแปรสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์ระลึกถึงการกระทำของเขมรแดง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ECCC. Case 001/01.
  2. Locard, Henri, State Violence in Democratic Kampuchea (1975-1979) and Retribution (1979-2004) เก็บถาวร 2013-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, European Review of History, Vol. 12, No. 1, March 2005, pp.121–143.
  3. "Case 001 | Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia (ECCC)". Extraordinary Chambers of the Courts of Cambodia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2016. สืบค้นเมื่อ September 5, 2017.
  4. "Cambodia genocide: Khmer Rouge prison chief Comrade Duch dies". BBC News. 2 September 2020.
  5. 5.0 5.1 A History of Democratic Kampuchea (1975–1979). Documentation Center of Cambodia. 2007. p. 74. ISBN 978-99950-60-04-6.
  6. Vickery, Michael (1984). Cambodia, 1975-1982. Boston, MA, USA: South End Press. p. 151.
  7. Meng-Try Ea & Sorya Sim (2001). Victims or Perpetrators? Testimony of Young Khmer Rouge Comrades. Documentation Center of Cambodia. สืบค้นเมื่อ 7 March 2012.